แคว้นทราวดี
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา
เริ่มมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นพัฒนาการจากบ้านเมืองหรือเมืองไปสู่การเป็นแคว้น
โดยบางเมืองพัฒนาขึ้นมาจนมีความสำคัญและมีบทบาทในฐานะศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเหนือกว่าเมืองอื่นๆ ที่อยู่รายรอบ
จึงทำให้เกิดแคว้นต่างๆ มากมายเกิดขึ้นและล่มสลายลงไป
แต่แคว้นที่มีความสำคัญของไทยมีดังต่อไป
นี้
นี้
ทราวดีเป็นแคว้นโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย
เจริญรุ่งเรืองบริเวณภาคกลางของไทยและแผ่อิทธิพลไม่อย่างกว้างขวาง ลักษณะชุมชนโบราณที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทราวดี
ปรากฏขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 ทางฝั่งตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
สันนิฐานว่ามีเมืองเก่า คือ อู่ทอง และนครีชัยศรีโบราณเป็นศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมในช่วงแรก
นอกจากนี้ยังมีเมืองโบราณกระจัดกระจายตามลุ่มแม่น้ำหลายสาย เช่น เมืองคูบัว
ราชบุรี ในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์
ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก กลุ่มเมืองเหล่านี้สามารถจะติดต่อกับทะเลได้สะดวก
มีชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซียและอาหรับ นำเรือเข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานชั่วคราวและยังสามารถติดต่อกับเมืองภายในทางน้ำได้
นอกจากนี้ยังติดต่อกับคาบสมุทรทางตอนใต้ ลุ่มน้ำบริเวณนี้มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ทำให้ผู้คนที่อยู่ดินแดนภายในที่ไกลจากฝั่งริมแม่น้ำได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน
การติดต่อค้าขายกับคนต่างบ้านต่างเมืองโพ้นทะเล
ทำให้เมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไดรับวัฒนธรรมจากชาติต่างๆ
มี่เข้ามาติดต่อค้าขาย หรือมีความสัมพันธ์ด้านอื่นด้วย เช่น จากผู้ที่มาจากอินเดีย
ชาวเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับเอาพุทธศาสนานิกายต่างๆ แบบแผนการปกครอง
ศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์เข้ากับศิลปะพื้นเมือง การรับนับถือพุทธศาสนามีส่วนส่งเสริมให้เกิดความศรัทธาต่อพระมหากษัตริย์
มีการแบ่งประชาชนเป็นชนชั้นปกครองและชนชั้นที่อยู่ภายใต้การปกครอง
รวมทั้งมีการนำภาษาบาลีและภาษาสันสฤตมาใช้
ศาสนาพุทธนิกานเถรวาทเป็นศาสนาที่ได้รับความนิยมมากในแคว้นนี้
มีการรับเอาศิลปะของอินเดียมาผสมผสานกับความเชื่อพื้นฐานของท้องถิ่นและพยายามพัฒนาเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง
เรียกว่า ศิลปะสมัยทราวดี
ศิลปะสมัยทราวดีที่สำคัญ
ได้แก่ วงล้อพระธรรมจักรและกวางหมอบ (หมายถึงพระพุทธเจ้าประทานปฐมเทศนา ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย) พบที่นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
และพุทธรูปศิลาท่าประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลปะสมัยทราวดีที่ปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
เป็นต้น
ลักษณะเด่นของแค้นที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากทราวดี
คือ เอกลักษณ์ทางศิลปะที่งดงามและการวางผังเมือง เช่น เมืองอู่ทอง เมืองคูบัว
และเมืองศรีเทพ
ความเสื่อมสลายของทราวดี
โดยสรุปสันนิษฐานว่า
เกิดการเผยแพร่อิทธิพลของขอมสมัยพระนครในดินแดนภาคอีสานและภาคกลางของไทยช่วงพุทธศตวรรษที่
16
แคว้นโบราณในดินแดนไทย : แคว้นละโว้
แคว้นโบราณในดินแดนไทย : แคว้นลังกาสุกะ
แคว้นโบราณในดินแดนไทย : แคว้นตามพรลิงค์
วิดีโอสารคดี จากกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
แคว้นโบราณในดินแดนไทย : แคว้นละโว้
แคว้นโบราณในดินแดนไทย : แคว้นลังกาสุกะ
แคว้นโบราณในดินแดนไทย : แคว้นตามพรลิงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น