หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การแบ่งช่วงเวลาและยุคสัมยตามแบบไทย


การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย


          การแบ่งช่วงเวลาประวัติศาสตร์ไทยมีทั้งสอดคล้องและแตกต่างไปจากแบบสากล ก็คือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แบ่งเป็นยุคหินและยุคโลหะ พอมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ไทยจะไม่นิยมแบ่งเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่และร่วมสมัย แต่จัดแบ่งให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ซึ่งภาพรวมการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยจะนิยมใช้รูปแบบต่อไปนี้

          1. แบ่งตามสมัย
                   1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุตั้งแต่ประมาณ 700,000 ปี – 1,200 ปีล่วงมาแล้ว สมัยนี้แบ่งย่อยออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคหิน (ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ (ยุคสำริด ยุคเหล็ก) ทั้งนี้ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่งทุกภูมิภาคของประเทศไทย
                   1.2 สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่ผู้คนบนผืนแผ่นดินไทยได้ทำบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก ดินแดนที่เป็นประเทศไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12 โดยใช้อายุของจารึกซึ่งพบที่ปราสาทเขาน้อย จังหวัดสระแก้ว เป็นเกณฑ์กำหนดเพราะปรากฏศักราชชัดเจนสมบูรณ์ว่าศักราช 559 ตรองกับ   พ.ศ. 1180 และพบจารึกร่วมสมัยกับจารึกเขาน้อย เช่น จารึกศรีเทพ แต่ศักราชมาสมบูรณ์ และมีการพบเหรียญที่มีตัวอักษรทางภาคใต้มีอายุประมาณ พ.ศ. 400 ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นของพ่อค้าหรือชาวต่างชาติที่นำมาจากที่อื่น ไม่ใช่คนบนผืนแผ่นดินไทยทำขึ้นจึ่งไม่ถือว่าเป็นการเริ่มสมัยประวัติศาสตร์บนผืนแผ่นดินไทย

          

          2. แบ่งตามอาณาจักร
                   เรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทยก่อนหน้าที่จะมีอาณาจักรสุโขทัยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 1,792 นั้น ดินแดนประเทศไทยได้มีอาณาจักรต่างๆ เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว และได้เสื่อมสลายลงไป หลังจากนั้นก็มีอาณาจักรใหม่เกิดขึ้นตามมาอีก บรรดาอาณาจักรเหล้านั้นมีช่วงเวลาที่ดำรางอยู่ตามหลักฐานโบราณคดี ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์แบ่งยุคสมัยได้ เช่น ละโว้ ตามพรลิงค์ ทราวดี ศรีวิชัย เป็นต้น



          3. แบ่งตามราชธานี
                   การแบ่งยุคสมัยตามราชธานี หมายถึง การยึดถือเอาช่วงเวลาที่เมืองใดเมืองหนึ่งเป็นราชธานีหรือเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรหรือแคว้นมาเป็นเกณฑ์ และเมื่อราชธานีนั้นหมดความสำคัญ ล่มสลายหรือเปลี่ยนแปลงราชธานีใหม่ ก็หมายถึงยุคสมัยประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นๆ ได้สินสุดลงไปด้วย เช่น สุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์



          4. แบ่งตามราชวงศ์
                   ประวัติศาสตร์ไทยผูกพันอยู่กับราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินและเจ้าชีวิตของชนเผ่าไทยมาตั้งแต่โบราณกาล ขณะเดียวกันบางช่วงเวลาได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถึงขั้นผลัดแผ่นดินเปลี่ยนกษัตริย์องค์ใหม่ก็หลายครั้ง  การเปลี่ยนแปลงแผ่นดินซึ่งบางครั้งเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ใหม่ ด้วยเหตุนี้เพื่อความสะดวกในการแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ไทย จึงนำเอาชื่อราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครองบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆ มาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัยด้วย


          5. แบ่งตามรัชกาล
                   การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยที่นิยมใช้อีกอย่างหนึ่งก็คือ แบ่งตามรัชกาล ซึ่งหมายถึงในสมัยที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นๆ ทรงครองราชย์สมบัติอยู่ทำให้เกิดความเข้าใจขอบเขตของช่วงเวลาที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี และทำให้ช่วงเวลาไม่ยาวนานเกินไป ไม่เหมือนกับการแบ่งยุคสมัยตามราชธานีหรือตามราชวงศ์ หรือกล่าวได้ง่ายๆ คือ การแบ่งย่อยเหตุการณ์ หรือช่วงในเวลาประวัติศาสตร์ที่ยาวนานให้สั้นลง เพื่อสะดวกแก่การศึกษาและทำความเข้าใจ



          6. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
                   ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น จุดที่แบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง คือวันที่  24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงถูกนำมาใช้แบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทยด้วย



          7. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
                   การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย บางครั้งได้ใช้การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง คือ สมัยที่ยังใช้วัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ยังไม่ได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาปรับใช้อย่างกว้างขวาง หรือวัฒนธรรมตะวันตกยังไม่ได้มีอิทธิพลต่อสังคมคมไทยมากนัก กับสมัยหลังมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมไปสู่ความทันสมัยจามตะวันตก


          8. แบ่งตามรัฐบาลบริหารประเทศ
 ในสมัยประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ทรงใช้พระราชอำนาจทางด้านการบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ดังนั้นการแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตยจึงแบ่งย่อยออกไปตามแต่ละรัฐบาล โดยใช้นายกรัฐมนตรีผู้เป็นหัวหน้าบริหารประเทศ มาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง





2 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้ดี มีภาพประกอบสวยมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. มีประโยชน์เยอะเกิน เสียอย่างเดี่ยวครับ ภาพแม่งเหี้ย

    ตอบลบ