หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


พ่อขุนรามคำแหงมหาราช


             พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสวยราชย์ประมาณ .. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ .. ๑๘๔๑  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยขึ้นเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาวไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง สืบทอดกันมากว่า ๗๐๐ ปี พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่ ทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า พระยาบานเมือง ได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วพ่อขุนรามคำแหงจึงได้เสวยราชย์ต่อมา
                ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พระยามังรายมหาราช (หรือพระยาเม็งราย) แห่งล้านนา และพระยางำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุกทันตฤๅษีที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน พระยามังรายประสูติเมื่อ ..๑๗๘๒ พ่อขุนรามคำแหงน่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้
                เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา พระองค์ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (อยู่ริมแม่น้ำเมยใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงทรงขนานพระนามพ่อขุนรามคำแหงว่า พระรามคำแหงสันนิษฐานว่าพระนามเดิมของพระองค์คือ รามเพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า พ่อขุนรามราชอนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า พระยาพระราม” (จารึกหลักที่ ๑๑) และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดามีเจ้าเมืองพระนามว่า พระยาบาลเมืองและพระยาราม” (เหตุการณ์ .. ๑๙๖๒) ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ์
                ตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงน่าจะเสวยราชย์ .. ๑๘๒๒ เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย ประเสริฐ นคร จึงได้หาหลักฐานมาประกอบว่า กษัตริย์ไทอาหมทรงปลูกต้นไทรครั้งขึ้นเสวยราชย์ อย่างน้อย รัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไม้ อนึ่งต้นตาลและต้นไทรเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา
                รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ไพร่ฟ้าประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล
                พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ .. ๑๘๒๖ ทำให้อนุชนสามารถศึกษาความรู้ต่าง ได้สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ คือพระองค์ได้ประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำภาษาไทยได้ทุกคำ และได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นมาก นับว่าพระองค์ทรงพระปรีชาล้ำเลิศ และทรงเห็นการณ์ไกลอย่างหาผู้ใดเทียบเทียมได้ยาก
                ในด้านการปกครอง เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากเมืองสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ดังข้อความในจารึกหลักที่ ว่า เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกูกูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกูกูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกูข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือพ่อแม่ และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าก็เป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัวใหญ่ ปกครองพลเมืองเสมือนเป็นลูกหลาน ช่วยให้มีที่ทำกิน คอยป้องกันมิให้คนถิ่นอื่นมาแย่งชิงถิ่น ถ้าลูกหลานทะเลาะวิวาทกัน ก็ตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม
                พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะบริหารราชการแผ่นดิน ทำศึกสงครามตลอดจนพิพากษาอรรถคดี แต่ก็มิได้ใช้พระราชอำนาจเฉียบขาดอย่างกษัตริย์เขมร ดังปรากฏข้อความในจารึกหลักที่ ว่า ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบ หรือภาษีผ่านทาง ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์สมบัติตกเป็นมรดกแก่ลูก หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิ์ไปสั่นกระดิ่งถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้
                ยิ่งกว่านั้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครองโดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังศิลาบาตรขึ้น ให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์เสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน เมื่อประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ดีที่ชอบ การปกครองก็จะสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น
                ในด้านอาณาเขต พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง คือทางทิศตะวันออกทรงปราบได้เมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย สะค้า (สองเมืองนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้) ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์ เวียงคำในประเทศลาว ทางทิศใต้พระองค์ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท)สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช มีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน ทางทิศตะวันตกพระองค์ทรงปราบได้เมืองฉอด เมืองหงสาวดี และมีมหาสมุทรเป็นเขตแดน ทางทิศเหนือ พระองค์ทรงปราบได้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลัว (อำเภอปัว จังหวัดน่าน) ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา(หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน
                ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างพระราชไมตรีกับพระยามังรายแห่งล้านนาและพระยางำเมืองแห่งพะเยาทางด้านเหนือ และทรงยินยอมให้พระยามังรายขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่น้ำกก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย และยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพระยามังรายหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ .. ๑๘๓๙ ด้วย
                ทางประเทศมอญ มีพ่อค้าไทยใหญ่ชื่อมะกะโทได้เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองเมาะตะมะแล้วเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่อ .. ๑๘๒๔ แล้วขอพระราชทานอภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และได้รับพระราชทานนามเป็นพระเจ้าฟ้ารั่วและยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ทางทิศใต้พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎก มาจากนครศรีธรรมราช เพื่อให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
                ส่วนเมืองละโว้ยังเป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่าระหว่าง .. ๑๘๓๔-.. ๑๘๔๐ ยังส่งเครื่องบรรณาการไปเมืองจีนอยู่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะได้ทรงผูกไมตรีเป็นมิตรกับเมืองละโว้พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งราชทูตไปเมืองจีน ครั้ง เพื่อแสดงความเป็นมิตรไมตรีกับประเทศจีน
                วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่จารึกหลักที่ (..๑๘๓๕) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองกันทำให้ไพเราะ เช่น ในน้ำมีปลาในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือดนับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัย ซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยมิได้มีผู้มาคัดลอกให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม

                จดหมายเหตุจีนระบุว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตใน .. ๑๘๔๑ พระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระราชโอรสเสวยราชย์ต่อมา

ประวัติพ่อขุนบานเมือง


พ่อขุนบานเมือง

             พ่อขุนบานเมืองทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย เป็น พระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระอนุชาของพระองค์ พ่อขุนบานเมืองทรงครองราชย์ต่อจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนถึง พ.ศ. ๑๘๒๒ พระนามปรากฏในจารึกหลักที่ ๑ และหลักที่ ๔๕ คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดว่าพระนามของพระองค์คือบาลเมือง ทั้งนี้เพราะสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้จดบันทึกประวัติศาสตร์ จึงมักจะแปลงพระนามเป็นภาษาบาลีไป พ่อขุนบานเมืองเสวยราชสมบัติในปีใดไม่ปรากฏ

         อนึ่ง ปีเสวยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์สุโขทัยแตกต่างกันไปในเอกสารปัจจุบัน เนื่องจากแต่เดิมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแบ่งเวลาครองราชสมบัติไว้คร่าว ๆ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษา โดยเฉลี่ยว่าพระมหากษัตริย์สุโขทัยแต่ละพระองค์ทรงครองราชสมบัติประมาณ ๒๐ ปี เมื่อมีหลักฐานเพิ่มเติมก็จะปรับศักราชใหม่ตามหลักฐาน รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พ.ศ. ๑๗๘๐-พ.ศ. ๑๘๐๐ รัชกาลพ่อขุนบานเมือง พ.ศ. ๑๘๐๐-พ.ศ. ๑๘๒๐ รัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. ๑๘๒๐-พ.ศ. ๑๘๖๐ ทรงเพิ่มเวลาให้ เพราะทรงทราบว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้เวลาขยายอาณาจักรออกไปกว้างขวางมากกว่ารัชกาลอื่น

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์


พ่อขุนศรีอินทราทิตย์



              พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย  เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.. ๑๗๙๒ ถึงปีใดไม่ปรากฏ พระนามเดิมคือพ่อขุนบางกลางหาว มีมเหสีคือนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ส่วนพระราชโอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์ต่อมาตามลำดับ เดิมพ่อขุนบางกลางหาวทรงเป็นเจ้าเมืองอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ แต่ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าอยู่ใต้เมืองบางยางลงไป มีผู้เสนอความเห็นว่าพ่อขุนบางกลางหาวน่าจะอยู่แถวกำแพงเพชร

            ก่อนราชวงศ์พระร่วงอาณาจักรสุโขทัยมีราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมครองอยู่ ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมซึ่งเริ่มประมาณ พ.. ๑๗๖๒ อาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมถึงเมืองฉอด (ใกล้แม่น้ำเมย) ลำพูน น่าน พิษณุโลก ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจขอมสบาดโขลญลำพง จนกระทั่งพ่อขุนผาเมืองโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาวขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงไป   พ่อขุนบางกลางหาวทรงยึดเมืองศรีสัชนาลัยได้และทรงเวนเมืองให้พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์สุโขทัย พ่อขุนผาเมืองซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย)ของกษัตริย์ขอมทรงยกพระนามศรีอินบดินทราทิตย์ซึ่งพระองค์ได้รับมาจากกษัตริย์ขอมมอบให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว แต่พ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บางทีอาจจะทรงเห็นว่าพระนามเดิมมาจากคำ อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ แสดงว่าอยู่ใต้อินทรปัตซึ่งเป็นเมืองหลวงของขอม (ดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๒) ก็เป็นได้

             การที่พ่อขุนผาเมืองทรงยกสุโขทัยและอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ อาจจะทรงเห็นว่าสุโขทัยในขณะนั้นเป็นเมืองเล็กกว่าศรีสัชนาลัย หรืออาจจะเป็นเพราะว่านางเสือง พระมเหสีของพ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระภคินี (พี่สาว) ของพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาวจึงทรงมีสิทธิที่จะได้ครองเมืองก่อนพ่อขุนผาเมืองก็เป็นได้

             พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด มีพระอนุชาคือพระยาคำแหงพระรามครองเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) โอรสของพระยาคำแหงพระราม คือ มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เมื่อเป็นฆราวาสมีฝีมือในการสู้รบ ได้ชนช้าชนะหลายครั้ง รู้ศิลปศาสตร์หลายประการ ขณะอายุ ๓๐ ปีมีบุตรแต่เสียชีวิต มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจึงออกบวช ได้ไปปลูกต้นโพธิ์ สร้างพิหาร อาวาส และซ่อมแซมพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งในและนอกประเทศ เช่น พม่า อินเดีย และลังกา

            อนึ่ง เมืองราดตั้งอยู่ที่ใดมีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเมืองราดน่าจะอยู่ที่เพชรบูรณ์และเมืองลุมคือเมืองหล่มเก่าแต่ผู้เขียน(ประเสริฐ ณ นคร) วางตำแหน่งเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายไว้ที่ลุ่มแม่น้ำน่านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
จากจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายเป็นกลุ่มเมืองที่อยู่ใกล้กันพ่อขุนผาเมืองอยู่เมืองราดและกษัตริย์น่านมีพระนามผานองผากองและผาสุมแต่กษัตริย์เมืองอื่นไม่ใช้ผานำหน้าพระนามเลยพ่อขุนผาเมืองจึงน่าจะเป็นกษัตริย์น่าน(คือเมืองราดนั่นเอง)นอกจากนี้ยังมีพระราชโอรสของกษัตริย์น่านมีพระนามว่าบาจายอาจจะแสดงว่าน่านมีอำนาจเหนือบาจายแบบพระนามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์แสดงว่ากรุงเทพฯมีอำนาจเหนือราชบุรีนั่นเอง

              อีกประการหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ กล่าวถึงไพร่พลของพระเจ้าลิไทยว่ามีทั้งชาวสระหลวงสองแควพระบางฯลฯเริ่มตั้งแต่เมืองทางทิศตะวันออกของสุโขทัยแล้วกวาดไปทางใต้ทางทิศตะวันตกทางทิศเหนือจนกลับมาจบที่ทิตะวันออกตามเดิมจารึกหลักอื่นเช่นหลักที่ ๓๘ และจารึกวัด อโสการาม (หลักที่๙๓) ก็ใช้ระบบเดียวกันโดยถือตามพระพุทธศาสนาว่าตะวันออกเป็นทิศหน้าแล้ววนตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากสระหลวงสองแควคือพิษณุโลกไปปากยม(พิจิตร)พระบางไปชากังราวสุพรรณภาวกำแพงเพชรรวม ๓ เมืองที่กำแพงเพชรบางพาน(อำเภอพานกระต่ายกำแพงเพชร)ต่อไปจะถึงราดสะค้า ลุมบาจายซึ่งจะอยู่ระหว่างทิศเหนือกวาดมาทางทิศตะวันออกของสุโขทัยและย่อมจะอยู่เหนือสระหลวงสองแควขึ้นไป จารึกหลักที่ ๑ วางลุมบาจายและสะค้าไว้ระหว่างพิษณุโลกกับเวียงจันทน์


               อีกประการหนึ่ง ตอนพ่อขุนผาเมืองยกมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพงที่สุโขทัยถ้าหากพ่อขุนผาเมืองอยู่แถวเพชรบูรณ์คงจะมาช่วยไม่ทันสินชัยกระบวนแสงจากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบใบลานที่วัดช้างค้ำเมืองน่านกล่าวถึงเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่า เจ้าผู้ครองน่านขึ้นตามแม่น้ำน่านไปถึงอำเภอท่าปลา (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริมเมืองราดเก่าหั้นแสดงว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังทราบกันดีว่าเมืองราดอยู่บนแม่น้ำน่านใกล้อำเภอท่าปลา

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่งอยุธยากับเมืองอื่นๆ


พัฒนาการระหว่างประเทศสมัยอยุธยา

          ในสมัยอยุธยานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยากับรัฐอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และความมั่นคงของราชอาณาจักร และมักจะใช้นโยบายสร้างความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน บางครั้งก็หันไปใช้นโยบายทางด้านการเผชิญหน้าทางทหาร เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยามีลักษณะดังนี้
          1. ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐที่อยู่ใกล้เคียง
          1.1 ความสัมพันธ์กับสุโขทัย อยุธยาสร้างความสัมพันธ์กับสุโขทัยด้วยการใช้นโยบายการสร้างมิตรไมตรี การเผชิญหน้าทางทหาร และนโยบายความสัมพันธ์ทางเครือญาติผสมผสานกันไป
          อยุธยาพยายามใช้การเผชิญหน้าทางทหารกับสุโขทัยเพื่อให้สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) และสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงหงั่ว) บางครั้งสุโขทัยก็ยอมอ่อนน้อม บางครั้งก็เป็นอิสระ แต่พอมาถึงสมัยสมเด็จพระอินทราชา(เจ้านครอินทร์) พระองค์ได้ส่งกองทัพขึ้นมาแก้ไขปัญหาจราจลที่สุโขทัยทำให้สุโขทัยกลับมาอยู่ใต้อำนาจของอยุธยา
          ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับสุโขทัยในฐานนะที่เป็นเมืองประเทศราชของอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2006 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเพื่อป้องกันความวุ่นวายในสุโขทัยที่จะเกิดขึ้นและป้องกันมิให้ล้านนาขยายอิทธิพลลงมาแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนได้สะดวก โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นมาปกครองพิษณุโลกเมื่อพ.ศ. 2006 ในฐานะเป็นราชธานีของอยุธยาจนสิ้นสมัยของพระองค์ การดำเนินนโยบายของอยุธยาในครั้งนั้น มีผลให้อาณาเขตของอยุธยาขยายออกไปอย่างกว้างขวางและมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

          1.2 ความสัมพันธ์กับล้านนา อาณาจักรล้านนาสมัยอยุธยาเป็นดินแดนที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางสำคัญของล้านนา สำหรับลักษณะความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนาส่วนใหญ่เป็นการเผชิญหน้าทางทหาร อยุธยามักทำสงครามกับล้านนาเพื่อป้องกันมิให้ล้านนาเข้ามาคุกคามหัวเมืองเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยา บางครั้งก็ต้องการใช้ให้ล้านนาเป็นด่านหน้าป้องกันการคุกคามจากพม่าทางด้านเหนือ
          นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนพงั่ว) เป็นต้นมา อยุธยาพยายามส่งกองทัพไปรบกับล้านนาเพื่อให้ล้านนายอมอยู่ใต้อำนาจแต่ไม่ประสบความสำเร็จแม้ว่าใน พ.ศ. 2088 สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช อยุธยาสมารถยึดล้านนาเป็นเมืองประเทศราชได้ แต่สุดท้ายล้านนาก็ต้องตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงหงสาวดี อยุธยาได้ล้านนากลับมาเป็นเมืองประเทศราชอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโดยล้านนายอมเข้ามาสวามิภักดิ์ แต่หลังจากสมัยของสมเด็จพระนเรศวรไปแล้ว ล้านนาก็เริ่มแยกตัวเป็นอิสระบ้าง เป็นประเทศราชของพม่าบ้าง ของอยุธยาบ้าง

          1.3 ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ ดินแดนหัวเมืองมอญ ประกอบด้วย เมืองเมาะตะมะ เชียงกราน มะริด ตะนาวศรี ทวาย และเมืองพัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของอยุธยาติดต่อกับอาณาเขตของอาณาจักพม่า ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหัวเมืองมอญนั้นมีความสัมพันธ์กันด้านการค้า การผูกพันธด้วยไมตรีด้วยการใช้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน และมีความสัมพันธ์ด้านการเมืองในลักษณะที่ราชธานีมีต่อเมืองประเทศราช
           มอญมีความสำคัญต่อความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยามาก เพราะหัวเมืองมอญเปรียบเสมือนเมืองหน้าด่านของอยุธยาในการสกัดกั้นกองทัพพม่า ขณะเดียวกันก็มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของอยุธยา เพราะอยุธยาอาศัยหัวเมืองมอญเป็นเมืองท่าหรือเป็นทางผ่านในการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าเรื่อสำเภาจากอินเดีย ลังกา และอาหรับ ทางด้านทะเลอันดามัน ทำให้อยุธยาต้องป้องกันหัวเมืองมอญจากพม่าด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วรรณกรรมสมัยอยุธยา


วรรณกรรมที่สำคัญสมัยอยุธยา

         กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ นับเป็นเวลายาวนาน ถึง ๔๑๗ ปี มีกวีและวรรณคดีจำนวนมาก วรรณคดีแต่ละเรื่อง ล้วนมีคุณค่าเป็นมรดก สมควรรักษาไว้ตลอดไป ในที่นี้จะกล่าวถึงวรรณคดีบางฉบับ คือ ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ สมุทรโฆษคำฉันท์ โคลงกำสรวล และบทเห่เรือ ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ดังนี้

ลิลิตยวนพ่าย

        เป็นกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สันนิษฐานว่า แต่งในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) พระราชโอรสของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชประวัติของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ประสูติ จนถึงการขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา เล่าถึงพระปรีชาสามารถในด้านการปกครอง การทหาร และการศาสนา จุดสำคัญที่สุดของเนื้อเรื่องคือ การทำสงครามกับยวนหรือเชียงใหม่ ซึ่งยกทัพมาตีหัวเมืองทางเหนือจนตีสุโขทัยได้ แล้วยกทัพต่อลงมาจะตีพิษณุโลก และกำแพงเพชร ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยกทัพไปปราบหลายครั้ง กว่าจะได้รับชัยชนะ

ลิลิตพระลอ

      เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา ที่คนไทยปัจจุบัน รู้จัก และคุ้นเคยมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน 
      เรื่องพระลอเป็นนิยายประจำถิ่นไทยภาคเหนือ เชื่อว่า มีเค้าโครงเรื่องเกิดขึ้น ในแคว้นล้านนา ระหว่าง พ.ศ. ๑๖๑๖ - ๑๖๙๓ ปัจจุบัน ท้องที่ของเรื่องอยู่ในจังหวัดแพร่และลำปาง เนื้อเรื่องกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาว (พระลอ พระเพื่อน พระแพง) ที่มีอุปสรรคจนต้องยอม แลกด้วยชีวิต 
        ผู้แต่ง และสมัยที่แต่งลิลิตพระลอ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน แต่สันนิษฐานว่า คงแต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือมิฉะนั้น คงเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


สมุทรโฆษคำฉันท์ 
        เป็นวรรณคดีมรดกอีกเรื่องหนึ่ง ที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็น "ยอดแห่ง คำประพันธ์ประเภทฉันท์" กวีเอกของไทย ๓ ท่าน ได้แต่งเรื่องนี้ เริ่มต้นด้วยพระมหาราชครูรับกระแสพระราชดำรัสจาก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้แต่งในรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) พระมหาราชครูแต่งตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ พอใกล้จะจบตอนที่ ๒ พระมหาราชครูได้ถึงแก่อนิจกรรม ดังนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงทรงพระราชนิพนธ์ต่อ แต่ก็ยังไม่จบ ทิ้งไว้ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ ต่อจนจบเรื่อง ครบทั้ง ๔ ตอน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ สมุทรโฆษคำฉันท์ มีจุดประสงค์แต่งขึ้น เพื่อใช้เป็นบทพากย์หนัง เนื้อเรื่องได้มาจาก สมุทรโฆสชาดกในปัญญาสชาดก กล่าวถึงการ ผจญภัยที่สนุกสนานตื่นเต้นของพระสมุทรโฆษและ นางพินทุมดี ที่ได้พระขรรค์วิเศษพาเหาะไปเที่ยวยังที่ต่างๆ ได้ ครั้นพระขรรค์ถูกลักไป ทั้งสองก็ต้องพลัดพรากจากกัน ต่างผจญภัยต่อไปอีก จนสามารถกลับนครได้ เรื่องราวที่สนุกสนานตื่นเต้นนี้ เหมาะสมกับการเล่นหนัง ให้คนทั่วไปชม นอกจากนี้ จิตรกรไทยได้นำไปวาดภาพ ลงบนผนังโบสถ์ เช่น ที่พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม และวัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น


อนิรุทธคำฉันท์ 

           กวีผู้แต่งอนิรุทธคำฉันท์คือ ศรีปราชญ์ บุตรของพระมหาราชครู มีจุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อแสดงให้บิดาตนเห็นว่า "สามารถแต่งเรื่องให้เป็นชิ้นเป็นอันได้" เรื่องนี้ได้รับยกย่องว่า เป็นเอก ในเชิงการแต่งฉันท์ เป็นตัวอย่างของการแต่ง ฉันท์ในสมัยหลัง เช่น สมัยรัตนโกสินทร์ เรื่องนี้ได้เค้าเรื่องมาจากคติพราหมณ์ ตอน พระนารายณ์อวตารมาเป็นพระกฤษณะ ในเรื่อง อ้างว่า พระอนิรุทธเป็นพระนัดดาของพระกฤษณะ วันหนึ่ง พระอนิรุทธบรรทมหลับใต้ต้นไทร พระไทรได้อุ้มพระอนิรุทธไปสมกับนางอุษา ธิดาของพระยายักษ์พานาสูร และถูกพระยายักษ์จับได้ พระกฤษณะจึงต้องยกกองทัพมาช่วยให้รอดพ้น จากพระยายักษ์ ซึ่งไปขอร้องพระศิวะให้มาช่วย ฝ่ายตน พระศิวะได้แต่ขอร้องพระกฤษณะ มิให้ประหารพระยายักษ์ และพระยายักษ์ต้องยอมให้พระอนิรุทธกับนางอุษา ได้ครองรักกัน เรื่องนี้ มีลักษณะเป็นเรื่องเล่าเชิงนิทานนิยาย ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นมหัศจรรย์ การผจญภัย และจบลงด้วยความสุขสมหวัง


โคลงกำสรวล 

           โคลงกำสรวลเป็นวรรณคดีโบราณที่สำคัญมาก มีลักษณะยอดเยี่ยมหลายประการ โดยเฉพาะการใช้ถ้อยคำ และโวหาร เนื่องจากผู้แต่งเลือกสรรคำมาแต่ง ทุกบาททุกบท ล้วนมีความหมายเด่น ลึกซึ้ง สะเทือนอารมณ์ กวีผู้แต่งได้ รักษาข้อบังคับการแต่งโคลงอย่างเคร่งครัด ความดีเด่นพิเศษของวรรณคดีเรื่องนี้คือ ความคิดที่แปลกและยิ่งใหญ่ จนได้รับการยกย่องจากกวีรุ่นหลัง ให้เป็นแบบอย่างงานเขียน ที่แสดงความคิด ที่ไม่ซ้ำแบบใคร ทั้งนี้เพราะกวีทั่วๆ ไป เมื่อต้องเดินทางจากคนรัก ย่อมมีความห่วงใย จึงเลือกฝากนางไว้กับผู้ใหญ่ ที่ตนแน่ใจว่า จะคุ้มครองหญิง ที่รักให้ปลอดภัย แต่กวีผู้แต่งโคลงกำสรวล กลับใช้โวหารที่แหลมคม ยั่วล้อผู้ใหญ่


บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ 

       เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์เป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอยุธยา พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์ เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าฟ้ากุ้ง" เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๖ 
       "เจ้าฟ้ากุ้ง"
 ทรงพระนิพนธ์บทร้อยกรองไว้หลายเรื่อง ซึ่งบทที่ได้รับยกย่องว่าดีที่สุดคือ บทเห่เรือ ซึ่งมีความดีเด่น ด้านการคิดสร้างสรรค์ รูปแบบแปลกใหม่ ทรงใช้กาพย์และโคลงคู่กัน คล้ายกาพย์ห่อโคลง และทรงเปลี่ยนแปลงวิธีแต่งใหม่ โดยแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นตอนๆ แต่ละตอนใช้โคลง ๑ บท แล้วแต่งกาพย์เลียนความ ขยายความอีกจำนวนหนึ่ง แล้วจึงเริ่มต้นตอนต่อไป ด้วยโคลง แล้วขยายความด้วยกาพย์ต่อไปอีก รูปแบบฉบับ เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาภัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น นอกจากนี้ บทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งยังใช้เห่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในปัจจุบันด้วย

พัฒนาการด้านสังคมสมัยอยุธยา


พัฒนาการด้านสังคมสมัยอยุธยา

          ในสมัยอยุธยา โครงสร้างสังคมไทยมีลักษณะสังคมศักดินา เพราะได้มีการตรากฎหมายแจกแจงให้เห็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้คนในสังคมตามมาตรฐานของตน ทำให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ
1. ความเป็นมาของสังคมศักดินาสมัยอยุธยา 
          คำว่า “ศักดินา” หมายถึง เครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม เป็นการจำแนกให้เห็นถึงความแตกต่างในเรื่องสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตามศักดินา เช่น ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปมีสิทธิ์เข้าเฝ้าได้ แต่ต่ำกว่านี้ลงมาไม่มีสิทธิ์เข้าเฝ้า ขณะเดียวกันผู้ที่มีศักดินา 400 ก็มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดินเหนือกว่าผู้ที่มีศักดินาต่ำกว่าลงไป เป็นต้น
          ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงตราอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง หรือที่เรียกว่า “กฎหมายศักดินา” ขึ้นมาบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยที่มีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้นแตกต่างกันไปตามฐานะอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบ ยกเว้นพระมหากษัตริย์ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเพราะพระองค์ทรงเป็นเจ้าศักดินาทั้งปวง
          ระบบศักดินาอำนวยประโยชน์ในการควบคุมบังคับบัญชาผู้คนตามลำดับชั้นของศักดินาและการหมอบหมายให้คนมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่กำหนดเอาไว้ เมื่อบุคคลทำความผิดต่อกันก็สามารถใช้เป็นหลักไหมการปรับไหมได้ เช่น ถ้าผู้มีศักดินาสูงทำความผิดต่อผู้ที่มีศักดินาต่ำกว่าก็จะปรับไหมตามศักดินาของผู้ที่มีศักดินาสูงกว่า ถ้าผู้ที่มีศักดินาต่ำกว่ากระทำผิดต่อผู้ที่มีศักดินาสูงกว่าก็จะปรับไหมผู้ที่ทำผิดตามศักดินาสูงกว่า ทั้งนี้เพื่อป้องกันการมิให้ผู้ใหญ่รังแกผู้น้อยและมิให้ผู้น้อยละเมิดผู้ใหญ่ เป็นต้น
          การใช้ศักดินาเป็นตัวกำหนดความรับผิดชอบตามฐานะของบุคคลในสังคม เพราะคนไทยสมัยนั้นมี “นา” เป็นเครื่องมือสำหรับยังชีพในชีวิตประจำวันทั่วทุกคน

2. ลักษณะโครงสร้างสังคมไทยสมัยอยุธยา
         โครงสร้างทางสังคมไทยสมัยอยุธยา มีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
         2.1 พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขของราชอาณาจักร พระองค์ทรงเป็นเสมือนเจ้าชีวิตของทุกคนในแผ่นดิน จึงเรียกว่า “เจ้าแผ่นดิน”  พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น สมมติเทพ ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังทรงเป็น “ธรรมราชา” เช่นเดียวกับคติความเชื่อในสมัยสุโขทัย เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก พระองค์จึงต้องมี ทศพิธราชธรรม 10 ปะการ อันเป็นข้อปฏิบัติของพระมหากษัตริย์เพื่อให้ราษฎรเกิดความผาสุกทั่วหน้า

         2.2 พระบรมวงศาสนุวงศ์ คือ บรรดาเจ้านาย ซึ่งมีลักษณะเครือญาติของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์นั้นๆ บรรดาเจ้านายก็มีศักดินาแตกต่างกันไปตามฐานะ เช่น สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงศักดินา 20,000 แต่พระลูกเธอทรงศักดินา 15,000 เป็นต้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์เหล่านี้จะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้ ส่วนสิทธิตามกฎหมายของเจ้านายคือ จะถูกพิจารณาคดีในศาลใดๆ ไม่ได้ นอกจากศาลของกรมวัง และจะถูกนำไปขายเป็นทาสไม่ได้

ภาพขุนนางไทยสมัยอยุธยา
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ 
         2.3 ขุนนาง คือ บุคคลรับราชการแผ่นดินสนองเดชพระคุณของพระมหากษัตริย์ โดยขุนนางมีฐานะอยู่บนเกณฑ์ 4 ประการ คือ ศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์  สมุหนายก ถือศักดินา 10,000 มียศเป็นเจ้าพระยา มีพระราชทินนามว่า จักกรีศรีองครักษ์ มีตำแหน่งเป็นสมุหนายก เป็นต้น ขุนนางจะมีศักดินาลดหลั่นกันลงไปตามยศที่ได้รับ และได้รับการโปรดเกล้า แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น


         2.4 ไพร่ คือ ราษฎรทั้งหลายที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานให้กับราชการ ทั้งในยามปกติและในยามสงครามไพร่จะต้องสังกัดมูลนาย ถ้าไม่มีสังกัดมูลหน้าจะมีความผิด

          2.5 ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวให้พ้นจากความเป็นทาสนายมีสิทธิซื้อขายทาสได้ ทาสมีศักดินา 4 และถือเป็นบุคคลที่มีฐานะต่ำต้อยในสังคม

ภาพวาดพระภิกษุสงฆ์สมัยอยุธยา
ในจดหมายเหตุลาลูแบร์
          2.6 พระภิกษุสงฆ์ คือ บุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการยกย่องและศรัทธาจากบุคคลทุกชนชั้น ในสังคมคมอยุธยาตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงไพร่และทาส สามารถจะบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้ ดังนั้น สถาบันสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญในการประสานกลุ่มคนในสังคมไทยให้ดำรงอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
         


 กล่าวโดยสรุป สภาพสังคมไทยสมัยอยุธยามีลักษณะเป็นสังคมศักดินา ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมในฐานะที่แตกต่างกันออกไป สังคมอยุธยาเป็นสังคมที่มีความเคลื่อนไหวไม่คงที่ เช่น ทาสสามารถเลื่อนฐานะเป็นไพร่ได้เมื่อได้รับการไถ่ตัวให้เป็นอิสระ หรือ ไพร่ก็สามารถเลื่อนขึ้นเป็นขุนนางได้ เมื่อมีความสามารถทำคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดินเป็นที่ประจักษ์ ในทางกลับกันถ้าขุนนางทำความผิดก็อาจถอดถอนเป็นไพร่ได้ และถ้าไพร่เป็นหนีสินจนไม่สามารถใช้หนี้ให้นายเงินได้ก็จะตกเป็นทาสของนายเงินในที่สุด ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนับเป็นลักษณะของการเลื่อนชั้นทางสังคมอันเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทย

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา ตอนที่ 2


                      การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา


(ต่อจากตอนที่ 1 )

          2.2 สมัยการปฏิรูปกาปกครองครั้งสำคัญ (พ.ศ. 1991-2072)  เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2072) เป็นต้นมาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-2072) นับเป็นช่วงที่มีการปฏิรูปการปกครองราชอาณาจักรให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาที่ขยายกว้างออกไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังที่อาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาเมื่อในการปรับปรุงการปกครองครั้งแรกที่เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น พระองค์ทรงปรับปรุงการปกครองให้เป็นระเบียบแบบแผน ดังนี้

              1. การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ในการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้แบ่งส่วนราชการทีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและควบคุมกำลังคนออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยมีอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ คือ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก
          สมุหพระกลาโหม มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและตรวจราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักร เช่น มีหน้าที่วางแผนการรบในยามสงคราม ฝึกซ้อมกำลังพลในยามปกติ และจัดหาอาวุธ กำลังคนสำหรับการทำสงคราม เป็นต้น สำหรับสมุหกลาโหมมียศและราชทินนามว่า “เจ้าพระยามหาเสนาบดี”
          สมุหนายก มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและตรวจราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งควบคุมดูแลจตุสดมภ์ทั้ง 4 ในสมัยนี้ยังคงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงยศและราชทินนามของเสนาบดีจตุสดมภ์ต่างไปจากเดิม คือ
          กรมเวียง(เมือง)        ขุนเวียง      เปลี่ยนเป็น       พระนครบาล
          กรมวัง                  ขุนวัง         เปลี่ยนเป็น       พระธรรมาธิกรณ์
          กรมคลัง                 ขุนคลัง      เปลี่ยนเป็น       พระโกษาธิบดี
          กรมนา                  ขุนนา        เปลี่ยนเป็น       พระเกษตราธิบดี
สำหรับสมุหนายกมียศและราชทินนามว่า “เจ้าพระยาจักรี”

                2. การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง ในการบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมืองนั้น สืบเนื่องมาจากในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อาณาจักรสุโขทัยได้ถูกผนวกเข้ารวมกับอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.2006 ดังนั้น อาณาจักรอยุธยาจึงมีหัวเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม มีจำนวนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดินหัวเมืองใหม่เพื่อให้เกิดความสำคัญทัดเทียมกันระหว่างบรรดาหัวเมืองในอาณาจักรอยุธยาแต่เดิมกับหัวเมืองในอาณาจักรสุโขทัยที่รวมเข้ามาภายหลังโดยมีการแบ่งลักษณะต่างๆ ดังนี้
แผนผังแสดงการบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมืองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

            -หัวเมืองชั้นใน  มีการยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศ และขยายขอบเขตการปกครองราชธานีให้กว้างออกไป โดยให้เมืองเหล่านี้รวมเข้าเป็นเมืองที่อยู่ในวงราชธานีเป็นเมืองชั้น จัตวา มีผู้รั้งเมืองกับกรมการเมืองเป็นพนักงานปกครองและขึ้นตรงต่อเสนาบดีต่างๆ ที่ราชธานี หัวเมืองชั้นในที่สำคัญ เช่น เมืองราชบุรี เพชรบุรี ปราณบุรี สมุทรสงคราม นครชัยศรี สุพรรณบุรี ชัยนาท ชลบุรี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก
           -หัวเมืองชั้นนอก(เมืองพระยามหานคร) มีการจัดเมืองเหล่านี้ออกเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ตามลำดับขนาดและความสำคัญของเมือง หัวเมืองชั้นนอกต่างมีเมืองขึ้นอยู่กับการปกครอง เช่นเดียวกันกับราชธานี โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นสูงไปเป็นผู้สำเร็จราชการเมือง มีอำนาจบังคับบัญชาทุกอย่าง  หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ เช่น พิษณุโลก ชุมพร นครศรีธรรมราช จันทบุรี เป็นต้น ส่วนการปกครองท้องที่ ในเขตเมืองหนึ่งๆ จะแบ่งการปกครองออกเป็น บ้าน ตำบล แขวง และเมือง
           -หัวเมืองประเทศราช ลักษณะการปกครองยังคงเป็นแบบเดียวกันกับสมัยอยุธยาตอนต้น นั่นคือ มีเจ้าเมืองของตนเองเป็นผู้ปกครอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงิน  ต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาถวายแด่พระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาตามกำหนดเวลา ต้องเกณฑ์ผู้คนและสิ่งของไปช่วยราชการที่ราชธานีกำหนด หัวเมืองประเทศราชสมัยนั้น เช่น ทวาย ตะนาวศรี เชียงกราน เขมร มะละกา เป็นต้น
         ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ทรงจัดให้มีการทำสารบัญชีรายชื่อ เพื่อเกณฑ์ไพร่พล และจัดตั้งกรมสุรัสวดี(สัสดี) เพื่อขึ้นทะเบียนกำลังพล และจัดทำพิธีเกณฑ์ไพร่พล เป็นต้น

           2.3 สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2072-2310) ใน “พระธรรมนูญ” ว่าด้วยการใช้ตราประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2176 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้แสดงให้เห็นว่าสมุหพระกลาโหมมีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้ และสมุหนายกมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชากิจการทหารแลพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ส่วนเสนาบดีกรมคลังมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชากิจการทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อมาไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าในรัชกาลใด สมุหพรกลาโหมทำความผิด พระมหากษัตริย์จึงยกหัวเมืองฝ่ายใต้การปกครองของสมุหพระกลาโหมมาขึ้นตรงกับกรมคลัง สำหรับจตุสดมภ์ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีบางกรมเปลี่ยนชื่อเรียก ส่วนเสนาบดีเลื่อนยศสูงขึ้นและเปลี่ยนราชทินนามเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ พระยายมราช(กรมนครบาล) พระยาธรรมาธิบดี(กรมวัง) พระยาศรีธรรมราชหรือโกษาธิบดี(กรมคลัง และพระยาพลเทพ(กรมนา)
แผนผังแสดงการปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา ตอนที่ 1


การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

         การเมืองการปกครองได้มีพัฒนาการตามลำดับและสอดคล้องกับสังคมและการเมืองภายในอาณาจักรอยุธยา โดยส่วนประกอบของลักษณะทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยาดังนี้

1. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
          อาณาจักรอยุธยามีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครอง พระองค์ทรงเป็นองค์ประมุขของอาณาจักร ทรงเป็นจอมทัพ เป็นเจ้าแผ่นดิน เจ้าชีวิต รวมทั้งเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง เนื่องจากได้รับอิทธิพลที่มาจากหลักความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ อันหมายถึง พระนารายณ์หรือพระอิศวร(พระศิวะ) อวตารมาเกิด พระมหากษัตริย์จึงมีคุณลักษณะและความเป็นอยู่เหนือกว่าผู้คนทั้งปวง เช่น ต้องมีคำราชาศัพท์ที่ใช้เฉพาะกับองค์พระมหากษัตริย์ มีพระราชพิธีต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีความเป็นสมมติเทพ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
          นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ทรงมีความเป็น “ธรรมราชา” ตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาเหมือนกับสมัยสุโขทัยอีกด้วย โดยพระมหากษัตริย์จะต้องทรงประพฤติพระองค์ตามหลัก “ทศพิธราชธรรม” และ “จักรวรรดิวัตร” ในพุทธศาสนา

2. การจัดรูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา
          ในสมัยอยุธยาได้มีการจัดรูปแบบการปกครองเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมทางการเมืองและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ดังนี้
ภาพวาดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยาในจดหมายเหตุลาลูแบร์
          2.1 สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) เริ่มต้นสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)  จนถึงสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นสมัยที่อยุธยารับอิทธิพลของรูปแบบการปกครองแบบเขมรมรผสมผสานกับรูปแบบการปกครองในสมัยสุโขทัยโดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชาและได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ และมีการจัดรูปแบบการปกครองของอาณาจักร ดังนี้
         
แผนผังแสดงเมืองหน้าด่านสมัยอยุธยาตอนต้น
      
การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางโดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุดบริหารราชอาณาจักร โดยประทับอยู่ที่ราชธานีซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองทั้งหมดของอาณาจักรมีการกำหนดให้เมืองหน้าด่าน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ลพบุรี(ทิศเหนือ) นครนายก(ทิศตะวันออก) พระประแดง(ทิศใต้) และสุพรรณบุรี(ทิศตะวันตก) เมืองหน้าด่านทั้ง 4 นี้ ใช้เวลาในการเดินทางมาถึงราชธานีภายใน 2 วัน บางเมืองยังมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงสำหรับใช้เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงไปปกครองอีกด้วย
          นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ยังทรงแต่งตั้งเสนาบดี 4 ตำแหน่อง ที่เรียกว่า “จตุสดมภ์” แยกกันรับผิดชอบดูแลการบริหารราชการแผ่นดินตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 หน่วยงาน คือ
          -กรมเวียง(เมือง) รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลทุกข์สุขของราษฎร ปราบปรามโจรผู้ร้าย ลงโทษผู้กระทำความผิด มีเสนาบดีตำแหน่งขุนเวียงหรือขุนเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ
          -กรมวัง รับผิดชอบเกี่ยวกับการพิจารณาคดีความต่างๆ และจัดระเบียบเกี่ยวกับราชสำนักมีเสนาบดีตำแหน่งขุนวังเป็นผู้รับผิดชอบ
          -กรมคลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับการหารายได้และการรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน มีเสนาบดีตำแหน่งขุนคลังเป็นผู้รับผิดชอบ
          -กรมนา รับผิดชอบเกี่ยวกับการทำมาหากินของราษฎร เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน มีหน้าที่ออกกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินและเก็บภาษีค่านา ที่เรียกว่า “หางข้าว” มีเสนาบดีตำแหน่งขุนนาเป็นผู้รับผิดชอบ
          การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง เป็นการปกครองหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานี และมิใช่เมืองหน้าด่านและเมืองลูกหลวง ทางราชธานีเปิดโอกาสให้หัวเมืองชั้นนอกเขตราชธานี ปกครองตัวเองได้ แต่ต้องสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์อยุธยา
          การบริหารจัดการราชการแผ่นดินส่วนหัวเมือง อาจแบ่งได้เป็นหัวเมืองชั้นในชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ดังนี้
แผนผังแสดงการบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมืองในสมัยอยุธยาตอนต้น

หัวเมืองชั้นใน
        มักจะเป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากราชธานี ทางราชธานีจะแต่งตั้งผู้รั้งและคณะกรรมการเมืองไปปกครองโดยตรง เช่น เมืองราชบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท เป็นต้น
หัวเมืองชั้นนอก
         เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี ผู้ปกครองเมืองส่วนใหญ่สืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองทางสายโลหิตจากพ่อสู่ลูก รวมทั้งมีจตุสดมภ์ เช่นเดียวกับราชธานี และไม่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่ราชธานี แต่ต้องเกณฑ์แรงงานไปช่วยราชการตามที่ราชธานีกำหนด
หัวเมืองประเทศราช
          มีการปกครองเป็นอิสระแก่ตนเองแต่ทั้งนี้ต้องมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์อยุธยาด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายตามวาระ เช่น ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หัวเมืองประเทศราชอาจจะเป็นเมืองของชนต่างเชื้อชาติ ภาษา แต่บางเมือง เป็นของกลุ่มคนไทยที่ราชธานีให้การรับรอง เช่น เมืองนครศรีธรรมราช สุโขทัย เป็นต้น

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา ตอนที่ 2 คลิกที่นี่