หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติจังหวัดสกลนคร (ตอนที่ 2)


ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร


สมัยรัตนโกสินทร์

            ประวัติศาสตร์ชุมชนในเขตจังหวัดสกลนคร ได้ขาดหายไปหลังจากที่ขอมหมดอำนาจลงดังกล่าว แต่ได้ทราบหลักฐานแน่ชัดอีกครั้งหนึ่งจากเพี้ยศรีครชุม หัวหน้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม เล่าสืบต่อกันมา แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าปีใด ศักราชเท่าใด และในแผ่นดินรัชสมัยใดในแผ่นดินสยาม จะเป็นรัชกาลที่เท่าใดไม่ปรากฏ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ อพยพครอบครัวมารักษาพระธาตุเชิงชุมอยู่หลายปี อุปฮาดได้พาครอบครัวบ่าวไพร่ขึ้นมาอยู่ในบ้านธาตุเชิงชุม พร้อมทั้งได้เกลี้ยกล่อมบ่าวไพร่ให้มาตั้งภูมิล้าเนาอยู่ในจังหวัดเชิงชุมหลายตำบล

           พระเจ้าแผ่นดินสยาม โปรดให้ตั้งอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เปลี่ยนนามเมืองหนองหานหลวงเป็นเมืองสกลทวาปี ให้พระธานีเป็นเจ้าเมือง ขึ้นแก่กรุงสยามต่อมาหลายชั่วเจ้าเมืองในปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์คิดขบถต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม (รัชกาลที่ ๓) โปรดฯ ให้กองทัพหลวงขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ แม่ทัพได้มาตรวจราชการเมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองกรมการเมืองสกลทวาปี ไม่ได้เตรียมกำลังทหารลูกกระสุนดินดำ เสบียงอาหารไว้ตามค้าสั่งแม่ทัพ แม่ทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลทวาปีขบถกระท้าการขัดขืนอำนาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปี ไปประหารชีวิตเสียที่เมืองหนองไชยขาว แม่ทัพนายกองฝ่ายสยามกวาดต้อนครอบครัวลงไปอยู่เมืองกระบิลจันทคามเป็นอันมาก ยังเหลืออยู่ได้รักษาพระธาตุเชิงชุมแต่พวกเพี้ยศรีครชุมบ้านหนองเหียน บ้านจันทร์เพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยาง บ้านผ้าขาว บ้านพันนาเท่านั้น เมืองสกลนครก็เป็นเมืองร้างไม่มีเจ้าเมืองปกครองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกองทัพไทยยกไปปราบเจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์นั้น สามารถเข้าตีทัพอนุเจ้าเมืองเวียงจันทน์จนแตกพ่าย เข้ายึดเมืองได้ เจ้าอนุหนีไปอยู่เมืองมหาชัยกองแก้ว.. ๒๓๗๕ กองทัพพระราชสุภาวดี ยกติดตามไปตีเมืองมหาชัยกองแก้วแตก เจ้าอนุวงศ์และพระพรหมอาษา (จุลนี) เจ้าเมืองมหาชัยกองแก้ว หนีไปอยู่เมืองญวนและถึงแก่กรรมที่นั้น

         พ.. ๒๓๗๘ อุปฮาดตีเจา (ดำสาย) ราชวงศ์ (ดำ) และท้าวชินผู้น้อง ได้พาครอบครัวบ่าวไพร่มาพึ่งบรมโพธิสมภารพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ได้เข้าหาแม่ทัพที่เมืองสกลทวาปี เจ้าเมืองอุปราชและมหาสงครามแม่ทัพสั่งให้น้าตัวลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้ามแม่น้าโขงมาตั้งภูมิล้าเนาในเมืองสกลทวาปีได้

         .. ๒๓๘๐ อุปฮาดตีเจา (ดำสาย) ป่วยถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (ดำ) เมืองมหาชัยเป็นเจ้าเมืองสกลทวาปี ท้าวชินเป็นราชวงศ์เมืองสกลทวาปี ราชบุตร(ด่าง) เมืองกาฬสินธุ์เป็นราชบุตรเมืองสกลทวาปี.. ๒๓๘๑ ราชวงศ์ (ดำ) เจ้าเมืองสกลทวาปีลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรัชกาลที่ ๓โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งให้ราชวงศ์ (ดำ) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนครเปลี่ยนนามสกลทวาปีเป็นเมืองสกลนคร และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแบ่งเขตแดนเมืองนครพนมเมืองมุกดาหาร เมือหนองหาน ให้เป็นเขตแดนเมืองสกลนคร โดยเฉพาะต่างหากจากเมืองอื่น


         การปกครองเมืองสกลนครในยุคนี้นั้น ยังคงใช้ระบอบการปกครองหัวเมืองโบราณอยู่ผู้ปกครอง (กรมการเมือง) ประกอบด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ และราชบุตร ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
      . เจ้าเมืองเป็นผู้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาสิทธิขาด สั่งราชการบ้านเมืองทั้งปวงและบังคับบัญชากรมการเมือง หรือกิจการเกี่ยวกับการบ้าบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎรในแคว้นบ้านเมืองที่ปกครอง การแต่งตั้งถอดถอนคณะกรมการเมืองเป็นพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน นอกจากการแต่งตั้งถอดถอนกรมการเมืองระดับรองเท่านั้นจึงเป็นอำนาจของเจ้าเมือง
      . อุปฮาด (อุปราช) สมัยต่อมาเรียกปลัดอำเภอ เป็นผู้มีหน้าที่ท้าการแทนในกรณีเจ้า
เมืองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ หน้าที่โดยเฉพาะคือการปกครองทั่วไป เป็นหัวหน้าในทางที่
ปรึกษาหารือข้อราชการกรมการเมืองตำแหน่งรองลงไป และเป็นผู้รวบรวมสรรพบัญชีส่วยอากร ตามที่
ทางราชการกำหนดและยังท้าหน้าที่ออกประกาศส่งเกณฑ์กำลังพลเมืองเพื่อท้าศึกสงครามอีกด้วย
     . ราชวงศ์ ต่อมาเรียกสมุหอำเภอ โดยมากมักแต่งตั้งจากเครือญาติของเจ้าเมืองแต่ไม่เสมอไป ทั้งนี้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีหน้าที่ท้าการแทนอุปฮาดในกรณีที่อุปฮาดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ แต่หน้าที่ตามปกติแล้วเกี่ยวกับอรรถคดีตัดสินถ้อยความและควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินของเมือง
      . ราชบุตร ต่อมาเรียก เสมียนอำเภอ มีหน้าที่ช่วยราชวงศ์ ควบคุมการเก็บรักษาผลประโยชน์แผ่นดินของเมือง และเป็นผู้น้าเงินส่วยส่งเจ้าพนักงานใหญ่ในหัวเมืองเอกหรือเมืองหลวงส่วนอำนาจการปกครองจากกรุงเทพฯ มีการควบคุมหัวเมืองเล็กเมืองน้อยพอสรุปได้ คือ
             ๑. อนุมัติการตั้งเมือง และอนุมัติการขอขึ้นกับเมืองอื่นหรือกรุงเทพฯ
             ๒. แต่งตั้งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ส่วนใหญ่มักเป็นเพียงหลักการและวิธีการเท่านั้น
             ๓. รับแรงงานจากเลข หรือรับสิ่งของจากส่วยจากหัวเมืองเหล่านั้น

           พ.. ๒๓๘๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์ (อิน) ขึ้นไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองอื่นที่ยังขัดขืนอยู่ ราชวงศ์ (อิน) ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองวังและบุตรหลานบ่าวไพร่เจ้าเมืองเป็นอันมาก กับได้ท้าวเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคดหัวหน้าข่า กะโล้และบ่าวไพร่เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเป็นอันมาก

            พ.. ๒๓๘๗ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโรงกลาง พระเสนาณรงค์เป็นเจ้าเมืองพรรณานิคมยกบ้านพังพร้าวเป็นเมืองพรรณานิคม ตั้งเมืองกุสุมาลย์มณฑลให้ขึ้นกับเมืองสกลนคร ให้เพี้ยเมืองสูง ข่ากะโล้ เป็นหลวงอารักษ์อาญาเจ้าเมืองกุสุมาลย์มณฑลเมื่อ พ.. ๒๓๙๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวโถงเจ้าเมืองมหาชัยเป็นอุปฮาดให้ท้าวเหม็นน้องชายอุปฮาด (โถง) เป็นราชบุตรเมืองสกลนคร

            พ.. ๒๓๙๖ เกิดเพลิงไหม้ในเมืองสกลนคร ทรัพย์สินเสียหายมาก ยังเหลืออยู่แต่พระเจดีย์เชิงชุมวัดธาตุศาสดาราม เจ้าเมือง กรมการพากันอพยพครอบครัวออกไปตั้งอยู่ดงบากห่างจากเมืองเดิมประมาณ ๕๐ เส้น

            พ.. ๒๔๐๐ ไทยโย้ย กรมการเมืองสกลนคร มีความคิดแตกแยกกันออกเป็น ๒ กลุ่ม พวกหนึ่งมีนายจารดำเป็นหัวหน้าไปร้องสมัครขอเป็นเมืองขึ้นเมืองยโสธร อีกพวกหนึ่งมีเพี้ยติ้วซ้อยเป็นหัวหน้าไปร้องขอเป็นเมืองขึ้นเมืองนครพนม รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายจารดำเป็นหลวงประชาราษฎร์รักษายกบ้านกุดลิงแขวงเมืองยโสธรเป็นเมืองวานรนิวาส ให้หลวงประชาราษฎร์รักษาเป็น เจ้าเมืองขึ้นกับเมืองยโสธร แต่เจ้าเมืองกรมการและราษฎรยังคงตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านแห่กุดชุมภูในแขวงเมืองสกลนครตามเดิม (ภายหลังเมืองวานรนิวาสเปลี่ยนการปกครองกลับมาขึ้นเมืองสกลนครตามเดิม) และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านม่วงน้ายามเป็นเมืองอากาศอ้านวย ให้เพียงติ้วซ้ายเป็นหลวงผลานุกูลเป็นเจ้าเมือง ขึ้นกับเมืองนครพนม

          พ.. ๒๔๐๑ เจ้าเมือง กรมการ และราษฎรเมืองสกลนครที่ไปตั้งอยู่ที่ดงบาก เพราะอัคคีภัยพากันอพยพครอบครัวกลับภูมิล้าเนาเดิม ราชวงศ์ (อิน) ถึงแก่กรรม

          พ.. ๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโพหวาเป็นเมืองภูวดลสอาง และให้ราชบุตร (เหม็น) เป็นพระภูวดลบริรักษ์เป็นเจ้าเมือง และโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโพนสว่างหาดยาวริมน้าปลาหางเป็นเมืองสว่างแดนดิน โดยให้ท้าวเทพกัลยาหัวหน้าไทยโย้ยเป็นเจ้าเมืองให้นามว่า พระสิทธิศักดิ์ประสิทธิ์ ขึ้นกับเมืองสกลนครในปี พ.. ๒๔๐๖ นี้เองเกิดฝนแล้งที่เมืองร้อยเอ็ดและเมืองอุบล ราษฎรต่างได้รับความอดอยาก พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ในเขตเมืองสกลนครเป็นอันมาก เพราะเมืองสกลนครยังมีชาวในบ้านเมืองอยู่บ้าง ประกอบกับการหาของป่าพอเลี้ยงตัวไปได้ในปีต่อมาเกิดฝนแล้งท้านาไม่ได้ในเมืองสกลนคร แต่ราษฎรก็มิได้อพยพออกไปจากเมืองอาศัยของป่าและท้านาแซง (นาปรัง) พอประทังชีวิตใน พ.. ๒๔๑๐ ปลายรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ปิด บุตรอุปราชตีเจา (ดำสาย)เป็นราชวงศ์ และให้ท้าวลาดบุตรอุปฮาด (โถง) เป็นราชบุตรเมืองสกลนครแทน ตำแหน่งราชวงศ์และราชบุตรที่ว่างอยู่
           พ.. ๒๔๑๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ พวกข่ากระโล้ เมืองกุสุมาลย์ เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ท้าวขัตติยไทยข่ากระโล้ ขอขึ้นต่อเมืองสกลนคร โดยแยกออกจากเมืองกุสุมาลย์ จึได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านนาโพธิ์แขวงเมืองสกลนครขึ้นเป็นเมืองโพธิไพศาลนิคม และตั้งให้ท้าวขัตติยเป็นพรไพศาลสีมานุรักษ์ เป็นผู้ปกครองเมืองต่อไปในปีนี้พระยาประเทศธานี เจ้าเมืองได้ขออนุมัติตั้งตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง เพราะเมืองสกลนครมีเมืองขึ้นถึง ๖ เมือง จึงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ท้าวโง่นคำเป็นพระยาศรีสกุลวงศ์ ให้เป็นผู้ช่วยราชการเมืองสกลนคร

          พ.. ๒๔๑๘ เกิดการจลาจลของจีนฮ่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) เป็นแม่ทัพคุมทหารกรุงเทพฯ กับไพร่พลหัวเมืองลาวไปตั้งทัพสู้ที่เมืองหนองคาย เมืองสกลนคร ได้ยกพลไปช่วย ๑,๐๐๐ คน โดยมีราชวงศ์ (ปิด) กับพระศรีสกุลวงศ์ (โง่นคำ) เป็นหัวหน้า และรบกับจีนฮ่อจนได้ชัยชนะ

          พ.. ๒๔๑๙ พระยาประเทศธานี (คำ) ถึงแก่กรรม เมืองสกลนครเกิดโรคระบาดร้ายแรงอุปฮาด (โถง) กับราชบุตร (ลาด) ก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคนี้ ราษฎรต่างล้มตายเป็นจ้านวนมาก ทางราชการได้แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (ปิด) เป็นผู้รักษาราชการเมือง.. ๒๔๒๐ โปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วย (โง่นคำ) เป็นอุปฮาด ให้ท้าวฟองบุตรพระประเทศธานี (ค้า) เป็นราชวงศ์เมืองสกลนคร และในปีต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ราชวงศ์(ปิด) เป็นพระยาประจันตประเทศธานีเป็นเจ้าเมืองสกลนครต่อไป

           ในปี พ.. ๒๔๒๔ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าให้เจ้าเมืองและกรมการเมืองสกลนคร ลงไปกรุงเทพฯ เพื่อร่วมสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ในงานนี้อุปฮาด (โง่นคำ) ได้คุมสิ่งของต่างๆ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในการสมโภชน์พระนครเป็นจ้านวนมาก โปรดพระราชทานเหรียญสัตพรรษ์-มาลาเงินแก่เจ้าเมือง และกรมการเมืองเป็นที่ระลึก

            ในปี พ.. ๒๔๒๖ บาทหลวงเลกซิสโปรดม ชาวฝรั่งเศส มาตั้งโรงเรียนสอนศาสนาโรมันคาทอลิกขึ้นที่บ้านท่าแร่ แขวงเมืองสกลนคร มีผู้คนเข้ารีตถือคริสต์เป็นจ้านวนมาก และบาทหลวงได้สร้างวัดสร้างโบสถ์ขึ้นมากมาย ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นอำนาจทางศาสนาของบาทหลวงลดลงราษฎรพากันออกจากศาสนาของบาทหลวงเป็นจ้านวนมาก โดยมากก็คงเป็นชาวบ้านท่าแร่แห่งเดียวที่ยังนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกจนถึงปัจจุบันนี้

           พ.. ๒๔๒๗ เกิดขบถจีนฮ่อที่เมืองเขียงของทุ่งเชียงคำ (ทุ่งไหหิน) ฝั่งซ้ายแม่น้าโขงรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาราชวรานุกูลเป็นแม่ทัพคุมกองทัพไทยลาวยกไปปราบโดยตั้งทัพที่เมืองหนองคายเช่นเดิม พระยาอุปฮาด (โง่นคำ) และราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายทัพต่อมาได้รับข่าวว่าพระยาประจันตประเทศธานี (ปิด) เจ้าเมืองป่วยถึงแก่กรรมแม่ทัพจึงโปรดให้พระอุปฮาด (โง่นคำ) กลับมารักษาราชการบ้านเมือง

          พ.. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระอุปฮาด(โง่นคำ) เป็นพระยาประจันตประเทศธานี ปกครองเมืองสกลนครสืบต่อมา อีก ๒ ปี ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวเมฆบุตรราชวงศ์ (อิน) เป็นราชบุตรเมืองสกลนครต่อมาในปี พ.. ๒๔๓๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จขึ้นมาจัดการหัวเมืองลาวพวน และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นมณฑลลาวพวน  พระองค์ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนเป็นพระองค์แรก ซึ่งระบบการปกครองแบบใหม่นี้เองที่เรียกว่าการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล อันหมายถึงการจัดให้มีข้าหลวงไปกำกับรักษาราชการตามหัวเมืองทุกเมืองและจากนี้ต่อไปเมืองสกลนครก็จัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาลสืบไป

         การตั้งข้าหลวงจากส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) มาเป็นข้าหลวงรักษาราชการเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ เป็นการขยายอำนาจจากส่วนกลางเข้ามาในภาคอีสาน เริ่มตั้งแต่ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับการคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก การที่จะรักษาไว้ซึ่งดินแดนของตนให้คงอยู่ต่อไปก็อยู่ที่การกำหนดเส้นเขตแดนของตนให้แน่นอน และเป็นการรับรองของมหาอำนาจประการหนึ่ง การเข้ามาควบคุมหัวเมืองชั้นนอกเป็นการแสดงสิทธิของตนประการหนึ่ง และเพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีพิพาทกับมหาประเทศคู่สัญญาในหัวเมืองชั้นนอกอีกประการหนึ่งด้วย

ประวัติจังหวัดสกลนคร (ตอนที่ 1)
ประวัติจังหวัดสกลนคร (ตอนที่ 3)
ที่มา : ประวัติจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ : จินดาสาส์น. ๒๕๒๘.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น