พัฒนาการทางสังคมของชุมชนไทย
1. สมัยชุมชนหาของป่า-ล่าสัตว์
ระยะเวลา ประมาณ 500,000
ปี – 4,500 ปีล่วงมาแล้ว
หลักฐานเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยชุมชนหาของป่า-ล่าสัตว์
ได้แก่ เครื่องมือหิน เศษเครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก และกระดูกสัตว์
รวมทั้งเมล็ดพืชที่คนสมัยนั้นบริโภค ซึ่งกล่าวได้ว่ามนุษย์ในยุคนั้นมีชีวิตที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
เพราะต้องออกเก็บของป่า ล่าสัตว์ จับปลา เพื่อนำมาบริโภค
วิถีชีวิตแบบนี้จึงไม่สามารถหาอาหารมาเลี้ยงผู้คนจำนวนมากๆ
มนุษย์ยุคนั้นจึงรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่
ที่มีอาหารบริบูรณ์ตามแต่ฤดูกาล โดยพักอาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา และริมแม่น้ำ
ที่สามารถหาอาหารได้สะดวก
หลักฐานการขุดพบซากพืชซากสัตว์
สันนิษฐานได้ว่า อาหารมนุษย์สมัยชุมชนหาของป่า-ล่าสัตว์ ได้แก่ สัตว์ป่า เช่น วัว
กวาง แรด กระรอก และสัตว์น้ำ เช่น หอย ปู ปลา และพืชพรรณที่ขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ
มนุษย์ในสมัยชุมชนหาของป่า-ล่าสัตว์ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณต่างๆ
ทั่วทุกแห่งในดินแดนไทย ในภาคเหนือพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า-ล่าสัตว์
คือ เครื่องมือหินเก่าที่บ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบเครื่องมือของมนุษย์สมัยนั้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง
ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ภาคตะวันตก
พบเครื่องมือหิน เศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์และเปลือกหอยบริเวณเทือกเขาทางด้านตะวันตกของแม่น้ำแควน้อย
จังหวังกาญจนบุรี และตะวันออก ค้นพบโครงกระดูกพร้อมเครื่องปั้นดินเผา ที่โคกพนมดี
อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และภาคใต้ พบเครื่องมือหินกะเทาะจากถ้ำหลังโรงเรียน
จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นเครื่องมือเกี่ยวกับมนุษย์ที่ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า-ล่าสัตว์
ภาพเขียนสีผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี |
ภาพเขียนสีถ้ำผาแดง จังหวัดกาญจนบุรี |
2. สมัยชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรม
ระยะเวลา ประมาณ 4,500
ล่วงมาแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคนี้
เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าว
จากที่เริ่มแรกนั้นมนุษย์มาสามารถควบคุมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ จนต้องเร่ร่อนหาอาหารไปตามแหล่องที่อุดมสมบูรณ์ตามฤดูกาลต่างๆ
มาเป็นมนุษย์สามารถเพราะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร
ทำให้สังคมไม่ต้องเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย ทำให้สังคมมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น
เกิดเป็นชุมชนหมู่บ้านที่มีถิ่นฐานถาวร การอยู่เป็นหลักแหล่ง ทำให้มนุษย์มีโอกาสที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและวัฒนธรรมด้านต่างๆ
ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมยุคแรก
อาจปกครองด้วยผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าเช่นเดียวกับชุมชนหาของป่า-ล่าสัตว์
กลุ่มชนที่พัฒนามาเป็นสังคมหมู่บ้าน มักย้ายถิ่นฐานลงมาราบลุ่มริมแม่น้ำหรือที่ราบหุบเขาเพราะซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก
และสร้างบ้านเรือนด้วยไม้มีใต้ถุนสูง เพื่อเหมาะกับภูมิประเทศ
ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้จากเครื่องมือกินขัดไปสู่สู่เครื่องมือโลหะ
รู้จักทอผ้า ทำภาชนะดินเผา เครื่องจักสาน มีการร่วมมือกันทำงานสาธารณะ เช่น
ขุดคูชลประทาน สร้างสถานที่ประกอบพิธีกรรม มีหัวหน้าชุมชนมีหน้าที่ตัดสินปัญหาความขัดแย้งและเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ
มีการแบ่งงานกันทำ จึงทำให้มีผู้มีความถนัดในเฉพาะงาน เช่น งานโลหะ ทำเหมืองแร่
ต้มเกลือ มีการแลกเปลี่ยนทั้งวัตถุดิบ และหัตถกรรม ทั้งในระหว่างคนในชุกชนเดียวกัน
และระหว่างชุมชนกับชุมชนอื่นๆ ด้วย
นักโบราณคดีได้พบเครื่องปั้นดินเผาในสมัยชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมจำนวนมากซึ่งมีรูปแบบและลวดลายแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นทั้งที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือในท้องถิ่นคนละเวลาที่แตกต่างกัน
เครื่องปั้นดินเผาเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่างๆ เช่น
กลุ่มชุมชนที่ใช้เครื่องเผาแบบเดียวกัน เช่น รูปทรง ลวดลาย
รวมถึงพิธีกรรมความเชื่อ และบางแห่งมีการพบศพครั้งที่
2 คือภายหลังจากการฝั่งศพครั้งแรกแล้วนำกระดูกมาใส่เครื่องปั้นดินเผาแล้วนำไปฝังอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกที่ถูกฝั่งตามพิธีกรรมความเชื่อ
มีการโรยดินสีแดงบนศพคนตายมีเครื่องบูชาต่างๆ ทั้งอาหารเครื่องมือเครื่องใช้ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับแตกต่างกันไปตามธรรมเนียมของกลุ่มต่างๆ
การฝังศพนิยมหันศีรษะไปยังทิศใดทิศหนึ่งต่างกันไปแล้วแต่ละชุมชน เป็นต้น
นอกจากประเพณีเกี่ยวกับการฝังศพแล้วยังมีประเพณีที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์
เพื่อให้เกิดผลดีในการทำเกษตรกรรม
มนุษย์ยุคนี้ได้สร้างศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์
เช่น รูปกบ หมายถึง ฝน ลายเมฆ ลายฟ้าผ่า ซึ่งบุในภาพเขียนบนผนังถ้ำ และบนกลองมโหระทึก
การตีกลองมโหระทึกจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมขอฝน
ดินแดนประเทศไทยในยุคก่อนประวัติศาสตร์ประกอบด้วยคนหลากหลายกลุ่ม
หลายเผ่าพันธุ์ หลายวัฒนธรรม อยู่อาศัยมาเป็นเวลานาน รวมทั้งมีกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาใหม่มีการพัฒนาวัฒนธรรมความเป็นอยู่ขึ้นโดยลำดับ
จากคนที่ดำรงชีพด้วยการหาของป่า-ล่าสัตว์
ใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน มาจนถึงผู้คนที่ทำการเกษตร รู้จักทำเครื่องมือจากโลหะ
ตั้งชุมชนหมู่บ้านอยู่เป็นถิ่นฐานถาวร
ภาพกลองมโหระทึก |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น