นาฬิกา : เครื่องบอกเวลา
มนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ แต่ต้องอยู่ร่วมกันและประกอบกิจกรรมของสังคม
กิจกรรมนั้นอาจเป็นด้านการเกษตร วัฒนธรรม การปกครองหรือพิธีกรรมทางศาสนา
ซึ่งเกี่ยวข้องกับกำหนดเวลาฤกษ์ยาม
การนัดหมาย และ เงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาในการทำสัญญาระหว่างกันเป็นต้น
สังคมยิ่งเจริญซับซ้อนขึ้นเท่าใด
การบริหารเวลาก็สำคัญขึ้นเท่านั้น
แต่การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องบอกเวลา นั่นคือ
นาฬิกาและพัฒนาการของนาฬิกาก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย
เสาหิน โอเบลิสค์ (Obelisk) ทำหน้าที่คล้ายนาฬิกาแดด |
ในสมัยโบราณดูเหมือนพวกสุเมเรียนจะเป็นผู้รู้จักการประดิษฐ์นาฬิกาก่อนใคร
แต่เราเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม
ชาวอียิปต์ในโบราณซึ่งรับช่วงอารยธรรมโบราณจากชาวสุเมเรียน
เป็นกลุ่มชนต่อมาที่รู้จักแบ่งช่วงวันออกเป็นช่วงเวลาที่คล้ายๆ
ชั่วโมงอย่างเป็นทางการเมื่อราว ๓๕๐๐
ปีก่อนคริสต์ ชาวอียิปต์ได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า โอเบลิสก์ (Obelisk)
หรือเสาหินรูปสูงชะลูดขึ้นไปมีสี่ด้าน เงาแสงอาทิตย์ที่ทาบลงมาและเคลื่อนที่ไปทำหน้าที่คล้ายเป็นนาฬิกาแดด
ซึ่งทำให้ชาวประชาสามารถแบ่งวันออกเป็นสองครึ่งโดยถือเอาเที่ยงวันออกเป็นเกณฑ์
นอกจากนี้โอเบลิสก์ยังบอกได้ว่า วันใดเป็นวันที่กลางวันนั้นสิ้นสุดและ
วันใดเป็นวันที่กลางวันยาวที่สุดในรอบปีโดยสังเกตจากเงาแดดตอนเที่ยงวันที่ยาวที่สุดของปีในสมัยต่อมา
ได้มีการทำเครื่องหมายรอบฐานวงกลมของเสาโอเบลิส แบ่งช่วงเวลาให้ละเอียดลงไปอีก
นาฬิกาแดด ที่สามารถ เคลื่อนที่ได้ |
ในราว ๕๑๐๐ ปีก่อนคริสตกาล
ชาวอียิปต์ก็สามารถผลิตนาฬิกาแดด ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ สำหรับช่วงเวลากลางวัน
ได้แบ่งออกเป็น ๑๐
ชั่วโมงปกติกับชั่วโมงพิเศษตอนเช้าและตอนเย็น ครั้นมาถึงราว ๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาล
ชาวอียิปต์ก็สามารถผลิตเครื่องมือดาราศาสตร์ที่เก่าที่สุดขึ้นมาได้สำเร็จ เครื่องมือนี้เรียกว่า เมิร์กเฮ็ต (Merkhet)
และใช้แบ่งช่วงเวลากลางคืนโดยดูว่าดวงดาวบางดวงโคจรผ่านเมริเดียน (Meridian)
หรือจุดสูงสุดเมื่อใดสำหรับนาฬิกาแดดลดรูปลงไปเป็นครึ่งทรงกลม (hemicycle) ซึ่งมีแขนนาฬิกาละช่องบอกเวลารวมทั้งฤดูกาลด้วย
เมื่อ ๓๐ ปีก่อนคริสตกาล วิตรูวิอัส (vitruvius) ชาวโรมันได้บรรยายถึงนาฬิกาแดดแบบต่างๆถึง ๑๓ แบบ ซึ่งมีใช้ในกรีซ
เอเชียกลาง และอิตาลี
ภาพจำลอง นาฬิกาน้ำ |
นอกจากนาฬิกาแดดแล้ว
นาฬิการุ่นแรกๆของโลกยังมีที่เป็นนาฬิกาน้ำด้วยนาฬิกาน้ำที่เก่าที่สุดพบในหลุมฝังศพฟาโรห์อามูนโฮเตปที่
๑ (Amenhotep I) และมีอายุราว ๑๕๐๐ ปีก่อน ชาวกรีกเริ่มใช้นาฬิกาน้ำแบบนี้
ซึ่งเรียกว่า เคลปสิดรัส (Clepsidras) ในราว
๓๒๕เป็นภาชนะทำด้วยหินมีด้านที่ทำให้น้ำไหลออกอย่างสม่ำเสมอผ่านรูเล็กๆตรงก้น
ข้างในของภาชนะนี้มีเครื่องหมายที่สลักไว้เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เวลาผ่านไปกี่ชั่วโมงนาฬิกาแบบอื่นๆอีก
เช่น เป็นขันโลหะซึ่งเจาะรูไว้ เมื่อจะใช้บอกเวลาที่ผ่านไปก็เอาไปวางบนภาชนะที่ใส่น้ำไว้
เมื่อน้ำเข้าในขันจนเต็มและล้นเป็นเวลาผ่านไปนานเท่าใด นาฬิกาน้ำมีความแม่นยำมากขึ้นในสมัยต่อๆมา
และมีความวิจิตรในการออกแบบมากขึ้น เช่น ทำให้ตีบอกเวลาได้ด้วยเสียงฆ้องหรือระฆัง
หอคอยแห่งวายุ” หรือ Tower of the Winds |
นักดาราศาสตร์ชาวกรีกผู้หนึ่งชื่อ
แอนโดนิกอส (Andronikos) ได้ควบคุมการสร้าง “หอคอยแห่งวายุ” หรือ Tower
of the Winds ขึ้นในกรุงเอเธนส์
เมื่อก่อนคริสตกาลเล็กน้อย หอคอยนี้อยู่ในที่ชุมชน และ
แสดงเวลาจากนาฬิกาแดดนอกจากบอกชั่วโมงที่ผ่านไปแล้ว ยังบอกฤดูกาล และวันกับปีทางดาราศาสตร์ด้วย
ภาพจำลองนาฬิกาดาราศาสตร์ขับเคลื่อนด้วยน้ำ ของซูซ่ง นักประดิษฐ์ชาวจีน สมัยราชวงศ์ซ่ง |
นาฬิกาในยุโรปมักทำไว้ประดับหอคอยและสร้างไว้ในเมืองสำคัญของอิตาลีในช่วงต้นและคริสต์ศตวรรษที่
๑๔ แต่พลังขับเคลื่อนกลไกและฟันเฟืองกอร์ปกับแรงเสียดสีที่เกิดขึ้นทำให้เวลาคลาดเคลื่อนไปมาก
ครั้นมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันผู้หนึ่งชื่อว่า ปีเตอร์
เฮนไลน์ (Peter Henlein) แห่งเมืองนูเรมเบิร์ก
ก็สามารถประดิษฐ์นาฬิกาประเทใหม่ที่ใช้สปริงเป็นตัวขับเคลื่อนกลไกและฟันเฟืองขึ้นสำเร็จ
ทำให้ขนาดของนาฬิกาลดลงได้จนกลายเป็นนาฬิกาพกพาและนาฬิกาข้อมือ
การสร้างนาฬิกาที่ใช้สปริงนี้ถือว่าเป็นการวางรากฐานของการสร้างนาฬิกาที่มีความแม่นยำสูงในระยะต่อมา
นักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อว่า คริสเตียน ฮุยเกนส์ (Chirtiaan Huygens)
ได้ประดิษฐ์นาฬิกาซึ่งใช้ระบบลูกตุ้มขึ้นเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๖๕๖ หรือ พ.ศ.๒๑๙๙
ในชั้นต้น
เขาสามารถทำให้นาฬิกาเที่ยงตรงขนาดคลาดเคลื่อนเล็กน้อยเพียง ๑๐
วินาทีต่อวันเท่านั้น ท้ายที่สุดใน ค.ศ. ๑๖๗๕
หรือ พ.ศ.๒๒๑๘
ฮุยเกนส์ ได้พัฒนานาฬิกาของเขาไปอีกระดับหนึ่งคือ การใช้กลไกผสมระหว่างเฟืองวงล้อกลมกับสปริงซึ่งเป็นพื้นฐานของนาฬิกาข้อมือในปัจจุบัน
ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติภูมิปัญญาในโลกตะวันตกการกำหนดมาตรฐานเวลากลายเป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมา เพราะประเทศต่างๆ หรือ
ในประเทศอังกฤษเองก็พึ่งเริ่มใช้มาตรฐานเวลาแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ( Greenwich standard time) เมื่อคริสต์ทศวรรษ ๑๘๔๐ นี้เอง ผู้กำหนดเวลามาตรฐานนี้ก็คือ The Royal Greenwich Observatory ที่กรุงลอนดอน
เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการจัดการสัญจรทางทะเลโดยอาศัยความถูกต้องแม่นยำของเวลา
เวลามาตรฐานกลางกรีนิช (Greenwich Mean Time) หรือที่เรียกกันว่า GMT ได้กลายเป็นเวลาทางราชการของโลกจนถึง ค.ศ. ๑๙๗๒ สาเหตุคือ ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๖๗
หรือ พ.ศ.๒๕๑๐
เป็นต้นมา
นักวิทยาศาสตร์หาพอใจกับเวลามาตรฐานกรีนิชที่คำนวณบนพื้นฐานของการหมุนรอบตัวเองของโลกอย่างคร่าวๆ
ไม่ เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลกมิได้มีอัตราคงที่หากเปลี่ยนแปลงไปวันละประมาณเศษหนึ่งส่วนพันของวินาทีต่อวัน
ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานเวลากลางใหม่ที่เรียกว่า Coordinated Universal Time (UTC)
ในวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๗๒
ความเปลี่ยนแปลงนี้มากเครื่องมือวัดเวลาที่ถูกต้องแม่นยำสูงเกือบไม่คลาดเคลื่อน
และ ได้เรียกเวลาที่เป็นมาตรฐานนี้ว่า เวลาอะตอมิก (atomic time)
สำหรับการแบ่งเขตเวลาของโลกนั้น
มีที่มาจากข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดเส้นแบ่งเวลาในการประชุม International Meridian Conference ที่
กรุงวอชิงตันดีซี เมื่อวันที่ ๑
พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๔๒๗
ตามข้อตกลงนั้นให้ถือว่าตำบลกรีนิช ลอนดอน เป็นเส้นองศาที่ ๐ ถัดจากนั้นออกไปทางตะวันตก และ ตะวันออกทุก ๑๕
องศา ให้ถือป็นเขตเวลาหนึ่ง ทั้งโลกจึงมี ๒๔ เขตเวลา (Time zone)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น