จดหมายเหตุหรือบันทึกของชาวต่างชาติ เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์ อักษรอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ จดหมายเหตุของจีน เช่น บันทึกในสมัยราชวงศ์หยวนของจีน, เอกสารประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง จดหมายเหตุของชาวตะวันตก ได้แก่ บันทึกของ พ่อค้าชาวโปรตุเกส บันทึกของมิชชั่นนารีฝรั่งเศส และพ่อค้าฮอลันดา นักเดินทาง ชาวฮอลันดาผู้หนึ่งที่ชื่อ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต เป็นผู้เขียนบันทึกที่เราเรียกว่า “จดหมายเหตุ วันวลิต” นอกจากนี้ มีจดหมายเหตุของชาวอังกฤษ คือ จดหมายเหตุของนายจอห์น ครอเฟิร์ด ที่เข้ามาเจรจาเปิดสัมพันธไมตรีกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ และเอกสารของ ร้อยเอก เฮนรี่ เบอร์นี่ ซึ่งเข้ามาเจรจากับไทยในเรื่องปัญหาการเมืองและการค้าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๓ นอกจากนี้ มีเอกสารของ เซอร์จอห์น เบาริ่ง ที่เข้ามาเจรจากับไทยเพื่อทำหนังสือสัญญา ทางพระราชไมตรีในสมัยรัชกาลที่ ๔, จดหมายเหตุของชาวฝรั่งเศส ได้แก่ จดหมายเหตุ ของ ซีโมนเดอ ลาลูแบร์ ๕ ราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เข้า มาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงสยามสมัยอยุธยาไว้ หลายด้าน นอกจากนี้ มีจดหมายเหตุการสำรวจเส้นทางของ นายออกุสต์ ปาวี ชาวฝรั่งเศส ส่วนจดหมายเหตุของชาวอเมริกัน เช่น บันทึกรายวันของหมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เป็น ผู้นำวิทยาการแผนใหม่เข้ามายังไทย เป็นต้น
จดหมายเหตุของไทย
มีเป็นจำนวนมาก
สามารถค้นคว้าได้ที่หอสมุดแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ โดย บันทึกเรื่องราวนั้น
ๆ ในวันที่เกิดเหตุการณ์ หรือในวันที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งจดหมายเหตุ โหรหรือปูมโหร จดหมายเหตุการเดินทัพ นอกจากนี้ มีเอกสารประเภทคำให้การ
ได้แก่ คำให้การชาวกรุงเก่า
ซึ่งเป็นคำให้การของชาวกรุงเก่าที่ถูกพม่าจับตัวไปเป็นเชลย, คำให้การ ชาวอังวะ, คำให้การขุนหลวงหาวัด ก็มีลักษณะเป็นจดหมายเหตุเช่นกัน
เอกสารราชการหรือเอกสารการปกครอง
เป็นเอกสารเกี่ยวกับการบริหาร ราชการฝ่ายปกครอง
ซึ่งหอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติรวบรวมไว้ เช่น ใบบอก
คือรายงานจากหัวเมืองเข้ามายังส่วนกลาง, สารตรา คือหนังสือของเสนาบดีมีไป ถึงเจ้าเมือง, ศุภอักษรคือหนังสือจากเสนาบดีไปถึงเจ้าประเทศราช
ตลอดจนหนังสือโต้ตอบ ราชการ รายงานการประชุม เอกสารการทูต เป็นต้น
ส่วนใหญ่เป็นเอกสารสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนเอกสารราชการของสมัยอยุธยาส่วนใหญ่สูญหายไป
เมื่อครั้งเสียกรุงศรี
หนังสือเทศน์
เป็นหลักฐานสำคัญสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์เช่นกัน อาทิ พระธรรมเทศนาของเจ้าฟ้ามงกุฎ
(รัชกาลที่ ๔) เป็นการเขียนบทเทศนาลงบนใบลาน
วรรณกรรม เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์
ทำให้ทราบ เรื่องราวขนบธรรมเนียม ความรู้สึกนึกคิดที่แฝงอยู่ในวรรณคดีในห้วงสมัยต่าง
ๆ กัน อาทิ ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา
ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
ชี้ให้เห็นเรื่องบาปบุญ นรกสวรรค์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณกรรม และความเชื่อของคนในสมัยต่อมา
มีการคัดลอกกันมาหลายทอด ต้นฉบับเดิมสูญหาย ไปแล้ว
วรรณกรรมในสมัยอยุธยา เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ จินดามณี กำสรวลศรีปราชญ์ ลิลิตพระลอ เป็นต้น
บันทึกความทรงจำ
อาทิ เรื่องความทรงจำ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมทั้งจดหมายส่วนตัวของบุคคลสำคัญ ก็ให้ ข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์
หนังสือพิมพ์
เสนอข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ข่าวการเมือง ข่าว สังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการทหาร เป็นต้น
และยังรวมถึงเอกสารสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น นิตยสาร วารสารต่าง ๆ
งานนิพนธ์ประวัติศาสตร์
คือผลงานการนิพนธ์ของบุคคล ที่ผลิตผลงานเขียน ทางด้านประวัติศาสตร์
ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก อาทิ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
๖, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ๗, เจ้าพระยา ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ๘, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๙ ผู้ทรงได้รับการยกย่องเป็นพระบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย, กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิ- ยากร, หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์, ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช เป็นต้น รวมทั้งนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย ทางด้านประวัติศาสตร์ ณ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกจำนวนมาก
ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้ทำการ ศึกษาค้นคว้า
และเขียนงานทางประวัติศาสตร์ไทยให้ทันสมัย ตามขั้นตอนของระเบียบ วิธีการทางประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น
นอกจากหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรดังกล่าวแล้ว
ยังมีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์อีกประเภทหนึ่ง คือ
หลักฐานจากการสัมภาษณ์ หรือเรียกว่า หลักฐานจากการบอกเล่า
โดยการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ลงในเทปบันทึกเสียง หรือ วิดีโอเทป
ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ให้ความสนใจหลักฐานประเภทนี้มาก หลักฐานที่ได้จากการบอกเล่าเป็นคำพูดซึ่งใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้นั้น โดยทั่วไปมักหมายถึงหลักฐานที่ได้มาจากการสัมภาษณ์อย่างมีระบบจากผู้เห็นเหตุการณ์ หรือผู้ร่วมในเหตุการณ์
หลักฐานที่ได้จึงเป็นหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม เราควรตรวจสอบความถูกต้องกับหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ ด้วย
โดยสรุปแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ
ดังกล่าวข้างต้นนั้น นับว่า มีความสำคัญต่อการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
และการตีความร่องรอยของอดีตในห้วงสมัยต่าง ๆ การศึกษาประวัติศาสตร์ทหารก็เช่นเดียวกัน
ต้องใช้หลักฐานเป็นพื้นฐานในการตีความ และตรวจสอบกับหลักฐานร่วมสมัยประเภทอื่น
ๆ ด้วย เพื่อพิจารณาความน่าเชื่อถือ ของหลักฐานนั้น
ๆ การเลือกใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ การพิจารณาประกอบหลายประการ
เพื่อให้ได้หลักฐานที่ให้ข้อมูลได้ใกล้เคียงความจริง มากที่สุด
ได้แก่ การพิจารณาเวลาที่บันทึกเหตุการณ์ หากเป็นเรื่องราวที่บันทึกขึ้นไว้ ในขณะที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ
ย่อมจะมีความถูกต้องและให้ความจริงของเหตุการณ์ได้ มากกว่าเรื่องราวที่บันทึกขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นสิ้นสุดลงแล้ว
นอกจากนี้ ควรพิจารณา วิเคราะห์ผู้ที่บันทึกนั้นว่า
เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์นั้น ๆ หรือไม่ บันทึก ด้วยความบริสุทธิ์ใจหรือมีอคติมากน้อยเพียงใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น