หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจสมัยอยุธยา ตอนที่ 4

เศรษฐกิจสมัยอยุธยา ตอนที่ 4


รูปเรือสำเภาจีนแล่นอยู่ในน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
เป็นเรือที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับพระนครศรีอยุธยามากที่สุด

เรือดาว มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันยังแล่น
อยู่ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและทะเลแดง

         เมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึง ใน พ.ศ. ๒๐๕๗ จนได้ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอยุธยาใน พ.ศ. ๒๐๕๙ แล้ว การค้าต่างประเทศของอยุธยา ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น หลังจากที่มีชาวต่างประเทศอื่นๆ เช่น สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้นตามลำ ดับ ความต้องการสินค้าต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการค้าต่างประเทศที่ทวีขึ้น ทำให้อยุธยาต้องมีการกำหนดระเบียบทางการค้าและ การจัดเก็บภาษีอากรขึ้นใหม่หลายครั้ง โดยให้เอกสิทธิ์แก่พระคลังสินค้าให้สามารถซื้อสินค้าที่ต้องการทั้งในทางราชการ และต้องการนำไปขาย ต่อจากพ่อค้าที่นำเข้ามาได้ทั้งหมดก่อน พร้อมทั้งกำหนดรายการสินค้าประเภทอาวุธ เช่น ปืนและกำมะถัน ที่ทางการจะซื้อไว้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยห้ามขายให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันมิให้อาวุธตกไปอยู่ในมือของศัตรูเอาไว้ด้วย พระคลังสินค้าจึงมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมากขึ้น ตั้ งแต่เก็บรวบรวมภาษีอากรสินค้าจากส่วย ส่งเรือไปค้าขายต่างประเทศ ซื้อสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้ก่อนบางส่วนหรือทั้งหมดได้ตาม ต้องการ ขายสินค้าจากส่วยสินค้าจากฝั่งตะวันออก และสินค้าจากฝั่งตะวันตกให้แก่พ่อค้าอีกด้วย พระคลังสินค้าจึงเป็นเหมือนเครื่องมือในการควบคุมการค้าและราคาสินค้าไปในตัว ในสมัยต่อมา เมื่อปรากฏว่ามีสินค้าที่ทีราคาแพง หายาก เป็นที่ต้องการจำนวนมากเกิดขึ้น ได้แก่ ไม้หอม กฤษณา ฝาง ดีบุก งาช้าง เขากวางอ่อน ทางการจึงได้ออกกฎหมายกำหนดให้สินค้าเหล้านี้   เป็นสินค้าที่ประชาชนต้องขายให้แก่พระคลังสินค้า เท่านั้น พระคลังสินค้าจึงกลายเป็น องค์การค้าที่ผูกขาดการค้าและผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศไว้เกือบทั้งหมด ต่อมารายการสินค้าต้อง ห้ามนี้มีมากขึ้นอีกหลายรายการในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙) และรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ซึ่งมีการค้าต่างประเทศเฟื่องฟูมากที่สุด รายการสินค้าที่อยุธยาขายและส่งออก ได้แก่ ข้าว พริกไทย เครื่องเทศ กระวาน การพ ลู ลูกจันทน์เทศ หนังสัตว์ หนังปลากระเลน งาช้าง ไม้ฝาง ไม้จันทน์ กฤษณา นอแรด ครั่ง ยางรัก ยางสน ชัน รง กำยาน ดีบุก ตะกั่ว เป็นต้น ส่ว นสินค้าเข้า ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าชนิดต่างๆ ผ้าม้วน ผ้าลายทอง ถ้วยชาม เครื่องเคลือบ กำมะถัน ทองแดง เหล็ก เครื่องเทศ   สินค้าหัตถกรรม อาวุธ เป็นต้น


สเปน โปรตุเกส ได้ใช้เรือคาร์แรทเดินทางมา
เอเชียในพุทธศตวรรษที่ ๒๒

บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ใช้เรือแกลลิออทซึ่งเป็น
เรือขนาดกลางนี้ติดต่อค้าขายกับเอเชียในพุทธศตวรรษที่ ๒๓

                 เมื่อชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึง ใน พ.ศ. ๒๐๕๗ จนได้ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอยุธยาใน พ.ศ. ๒๐๕๙ แล้ว การค้าต่างประเทศของอยุธยา ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น หลังจากที่มีชาวต่างประเทศอื่นๆ เช่น สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้นตามลำ ดับ ความต้องการสินค้าต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางการค้าต่างประเทศที่ทวีขึ้น ทำให้อยุธยาต้องมีการกำหนดระเบียบทางการค้าและ การจัดเก็บภาษีอากรขึ้นใหม่หลายครั้ง โดยให้เอกสิทธิ์แก่พระคลังสินค้าให้สามารถซื้อสินค้าที่ต้องการทั้งในทางราชการ และต้องการนำไปขาย ต่อจากพ่อค้าที่นำเข้ามาได้ทั้งหมดก่อน พร้อมทั้งกำหนดรายการสินค้าประเภทอาวุธ เช่น ปืนและกำมะถัน ที่ทางการจะซื้อไว้ทั้งหมดหรือบางส่วน โดยห้ามขายให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันมิให้อาวุธตกไปอยู่ในมือของศัตรูเอาไว้ด้วย พระคลังสินค้าจึงมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมากขึ้น ตั้ งแต่เก็บรวบรวมภาษีอากรสินค้าจากส่วย ส่งเรือไปค้าขายต่างประเทศ ซื้อสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้ก่อนบางส่วนหรือทั้งหมดได้ตาม ต้องการ ขายสินค้าจากส่วยสินค้าจากฝั่งตะวันออก และสินค้าจากฝั่งตะวันตกให้แก่พ่อค้าอีกด้วย พระคลังสินค้าจึงเป็นเหมือนเครื่องมือในการควบคุมการค้าและราคาสินค้าไปในตัว ในสมัยต่อมา เมื่อปรากฏว่ามีสินค้าที่ทีราคาแพง หายาก เป็นที่ต้องการจำนวนมากเกิดขึ้น ได้แก่ ไม้หอม กฤษณา ฝาง ดีบุก งาช้าง เขากวางอ่อน ทางการจึงได้ออกกฎหมายกำหนดให้สินค้าเหล้านี้   เป็นสินค้าที่ประชาชนต้องขายให้แก่พระคลังสินค้า เท่านั้น พระคลังสินค้าจึงกลายเป็น องค์การค้าที่ผูกขาดการค้าและผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศไว้เกือบทั้งหมด ต่อมารายการสินค้าต้อง ห้ามนี้มีมากขึ้นอีกหลายรายการในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙) และรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ซึ่งมีการค้าต่างประเทศเฟื่องฟูมากที่สุด รายการสินค้าที่อยุธยาขายและส่งออก ได้แก่ ข้าว พริกไทย เครื่องเทศ กระวาน การพ ลู ลูกจันทน์เทศ หนังสัตว์ หนังปลากระเลน งาช้าง ไม้ฝาง ไม้จันทน์ กฤษณา นอแรด ครั่ง ยางรัก ยางสน ชัน รง กำยาน ดีบุก ตะกั่ว เป็นต้น ส่วนสินค้าเข้า ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าชนิดต่างๆ ผ้าม้วน ผ้าลายทอง ถ้วยชาม เครื่องเคลือบ กำมะถัน ทองแดง เหล็ก เครื่องเทศ   สินค้าหัตถกรรม อาวุธ เป็นต้น


เศรษฐกิจสมัยอยุธยา ตอนที่ 1
เศรษฐกิจสมัยอยุธยา ตอนที่ 2
เศรษฐกิจสมัยอยุธยา ตอนที่ 3



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น