หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประวัติจังหวัดสกลนคร (ตอนที่ 3 )


                             ประวัติศาสตร์จังหวัดสกลนคร

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล

         การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบการปกครองอันสำคัญที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น ระบบการปกครองแบบนี้เป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไปบริหารราชการในส่วนภูมิภาค เป็นรูปแบบของการจัดให้อำนาจการปกครองมารวมอยู่จุดเดียวกันกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ลิดรอนอำนาจเจ้าเมืองตามระบอบเก่า การปกครองระบอบเทศาภิบาลอยู่ในระหว่างปี พ.. ๒๔๓๕-๒๔๕๘
         ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ตำนานพงศาวดารเมืองสกลนคร ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ได้กล่าวถึงรูปแบบการปกครองและเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ไว้อย่างละเอียดพอสมควร ดังพอสรุปได้ว่า
          เมื่อ พ.. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาสุริยเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครเป็นคนแรก และข้าหลวงเมืองสกลนครพระองค์นี้ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารราชการ กล่าวคือ ให้ยกเลิกกอง เปลี่ยนเป็นหมู่บ้าน และตำบล และให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปกครองหมู่บ้าน และตำบลด้วย
           พ.. ๒๔๓๖ ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน เสด็จจากเมืองหนองคายมาตั้งบ้านเมืองที่ตำบลหมากแข้ง เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ
           พ.. ๒๔๓๗ จ่าช่วงไฟประทีปวังซ้าย (ช่วง) ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร และได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการบางอย่าง คือให้ตั้งกรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนาขึ้นและได้แบ่งเขตแดนเมืองสกลนครขึ้น เมืองนครพนม เมืองหนองหาน และเมืองมุกดาหารออกจากกันอย่างชัดเจน
           พ.. ๒๔๓๘ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จมาตรวจราชการเมืองสกลนคร และแต่งตั้งให้นายปรีดาราช เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร
           พ.. ๒๔๓๙ นายปรีดาราช ข้าหลวงถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งนายฉลองไนย -นารถ (ไมย) เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร และได้เปลี่ยนแปลงให้เมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาลไปขึ้นกับเมืองนครพนม ให้เมืองวาริชภูมิซึ่งเป็นเมืองขึ้นเมืองหนองหานเดิมมาขึ้นกับเมืองสกลนคร
           พ.. ๒๔๔๐ ในปีนี้พระราชทานเงินเดือนให้ข้าราชการเมืองสกลนครเป็นปีแรก เงินเบี้ยหวัดหรือเงินปี อย่างที่จัดมาแล้วให้ยกเลิก เงินประโยชน์ต่างๆ ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมต่างๆ ให้เก็บเป็นของหลวงทั้งสิ้น
            พ.. ๒๔๔๒ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าวัฒนาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลฝ่ายเหนือ เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร
            พ.. ๒๔๔๔ มีคำสั่งให้นายฉลองไนยนารถ (ไมย) กลับไปรับราชการที่มณฑลอุดร และให้หลวงพิสัยสิทธิกรรม (จีน) เป็นข้าหลวงเมืองสกลนคร
            พ.. ๒๔๔๕ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครอง ถือเมืองสกลนครรวมทั้งเขตแขวงให้เรียกว่าบริเวณสกลนครข้าหลวงประจำเมืองให้เรียกข้าหลวงประจำบริเวณเปลี่ยนค้าว่าเมืองเป็นอำเภอ คำว่าเจ้าเมืองเป็นนายอำเภอ คำว่าอุปฮาดเป็นปลัดอำเภอ ราชวงศ์เปลี่ยนเป็นสมุหอำเภอ ราชบุตรเปลี่ยนเป็นเสมียนอำเภอ
            ในปีนี้ได้ให้พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนคร เป็นที่ปรึกษาข้าหลวงบริเวณสกลนคร เนื่องจากการเปลี่ยนระบบบริหารแผ่นดินดังกล่าวและชราภาพมากแล้ว
            พ.. ๒๔๔๙ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนาข้าหลวงเทศาภิบาลเสด็จกลับกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีสุริยราชวรนุวัตร (โพ) มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรแทน และในปีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการที่บริเวณสกลนครด้วย
            พ.. ๒๔๕๐ แต่งตั้งให้หลวงผดุงแคว้นประจันต์ (ช่วง) มาเป็นข้าหลวงบริเวณสกลนครข้าหลวงบริเวณคนเก้าให้ย้ายไปเป็นข้าหลวงบริเวณขอนแก่นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดรได้แต่งตั้งให้ขุนราชขันธ์สกลรักษ์เป็นนายอำเภอพรรณานิคม พระบริบาลศุภกิจ (ค้าสาย) เป็นนายอำเภอวาริชภูมิ นายทะเบียนเป็นนายอำเภอสว่างแดนดินและพระอนุบาลสกลเขต (เล็กบริเวณ) รักษาการนายอำเภอเมือง
             พ.. ๒๔๕๓ ย้ายหลวงผดุงแคว้นประจันต์ ข้าหลวงบริเวณสกลนคร ไปเป็นข้าหลวงเมืองหล่มสัก และให้พระสุนธรชนศักดิ์ (สุทธิ) มาเป็นข้าหลวงบริเวณสกลนครในปีนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๖ การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ และสิ้นสุดลงในปี พ.. ๒๔๕๘  ในปี พ.. ๒๔๕๙ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบใหม่ คือเมืองสกลนครเปลี่ยนอำเภอเมืองให้เป็นอำเภอธาตุเชิงชุม


การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน

          หลังจากที่ประเทศไทย ได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศเมื่อปี พ.. ๒๔๗๕ แล้วในปีต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ อันเป็นแม่บทของการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน เป็นการยกเลิกการจัดรูปการปกครองระบอบมณฑลเทศาภิบาลอย่างสิ้นเชิงในส่วนของการปกครองในส่วนภูมิภาคนั้น เริ่มจัดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเมื่อรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. ๒๔๔๐(พระราชดำริ การจัดระเบียบฯ นี้ เริ่มอย่างจริงจังในปี พ.. ๒๔๓๕) ซึ่งเป็นการจัดรูปการปกครองส่วนภูมิภาคแบบเทศาภิบาลดังกล่าวแล้ว และได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมตลอดมาจนถึงปัจจุบันช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบมณฑลเทศาภิบาลนั้น (..๒๔๗๖) จังหวัดสกลนครมีผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก (ก่อนนั้นเรียกข้าหลวง) คือ พระตราษบุรีสุนทรเขต และคนต่อมาคือพระบริบาลนิยมเขต

ประวัติจังหวัดสกลนคร (ตอนที่ 1)
ประวัติจังหวัดสกลนคร (ตอนที่ 2)



ที่มา : ประวัติจังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ : จินดาสาส์น. ๒๕๒๘.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น