หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่งอยุธยากับเมืองอื่นๆ


พัฒนาการระหว่างประเทศสมัยอยุธยา

          ในสมัยอยุธยานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยากับรัฐอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และความมั่นคงของราชอาณาจักร และมักจะใช้นโยบายสร้างความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน บางครั้งก็หันไปใช้นโยบายทางด้านการเผชิญหน้าทางทหาร เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยามีลักษณะดังนี้
          1. ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐที่อยู่ใกล้เคียง
          1.1 ความสัมพันธ์กับสุโขทัย อยุธยาสร้างความสัมพันธ์กับสุโขทัยด้วยการใช้นโยบายการสร้างมิตรไมตรี การเผชิญหน้าทางทหาร และนโยบายความสัมพันธ์ทางเครือญาติผสมผสานกันไป
          อยุธยาพยายามใช้การเผชิญหน้าทางทหารกับสุโขทัยเพื่อให้สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) และสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงหงั่ว) บางครั้งสุโขทัยก็ยอมอ่อนน้อม บางครั้งก็เป็นอิสระ แต่พอมาถึงสมัยสมเด็จพระอินทราชา(เจ้านครอินทร์) พระองค์ได้ส่งกองทัพขึ้นมาแก้ไขปัญหาจราจลที่สุโขทัยทำให้สุโขทัยกลับมาอยู่ใต้อำนาจของอยุธยา
          ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับสุโขทัยในฐานนะที่เป็นเมืองประเทศราชของอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2006 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเพื่อป้องกันความวุ่นวายในสุโขทัยที่จะเกิดขึ้นและป้องกันมิให้ล้านนาขยายอิทธิพลลงมาแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนได้สะดวก โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นมาปกครองพิษณุโลกเมื่อพ.ศ. 2006 ในฐานะเป็นราชธานีของอยุธยาจนสิ้นสมัยของพระองค์ การดำเนินนโยบายของอยุธยาในครั้งนั้น มีผลให้อาณาเขตของอยุธยาขยายออกไปอย่างกว้างขวางและมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

          1.2 ความสัมพันธ์กับล้านนา อาณาจักรล้านนาสมัยอยุธยาเป็นดินแดนที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน โดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางสำคัญของล้านนา สำหรับลักษณะความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนาส่วนใหญ่เป็นการเผชิญหน้าทางทหาร อยุธยามักทำสงครามกับล้านนาเพื่อป้องกันมิให้ล้านนาเข้ามาคุกคามหัวเมืองเมืองฝ่ายเหนือของอยุธยา บางครั้งก็ต้องการใช้ให้ล้านนาเป็นด่านหน้าป้องกันการคุกคามจากพม่าทางด้านเหนือ
          นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนพงั่ว) เป็นต้นมา อยุธยาพยายามส่งกองทัพไปรบกับล้านนาเพื่อให้ล้านนายอมอยู่ใต้อำนาจแต่ไม่ประสบความสำเร็จแม้ว่าใน พ.ศ. 2088 สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช อยุธยาสมารถยึดล้านนาเป็นเมืองประเทศราชได้ แต่สุดท้ายล้านนาก็ต้องตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงหงสาวดี อยุธยาได้ล้านนากลับมาเป็นเมืองประเทศราชอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโดยล้านนายอมเข้ามาสวามิภักดิ์ แต่หลังจากสมัยของสมเด็จพระนเรศวรไปแล้ว ล้านนาก็เริ่มแยกตัวเป็นอิสระบ้าง เป็นประเทศราชของพม่าบ้าง ของอยุธยาบ้าง

          1.3 ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ ดินแดนหัวเมืองมอญ ประกอบด้วย เมืองเมาะตะมะ เชียงกราน มะริด ตะนาวศรี ทวาย และเมืองพัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของอยุธยาติดต่อกับอาณาเขตของอาณาจักพม่า ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับหัวเมืองมอญนั้นมีความสัมพันธ์กันด้านการค้า การผูกพันธด้วยไมตรีด้วยการใช้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน และมีความสัมพันธ์ด้านการเมืองในลักษณะที่ราชธานีมีต่อเมืองประเทศราช
           มอญมีความสำคัญต่อความมั่นคงของอาณาจักรอยุธยามาก เพราะหัวเมืองมอญเปรียบเสมือนเมืองหน้าด่านของอยุธยาในการสกัดกั้นกองทัพพม่า ขณะเดียวกันก็มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของอยุธยา เพราะอยุธยาอาศัยหัวเมืองมอญเป็นเมืองท่าหรือเป็นทางผ่านในการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าเรื่อสำเภาจากอินเดีย ลังกา และอาหรับ ทางด้านทะเลอันดามัน ทำให้อยุธยาต้องป้องกันหัวเมืองมอญจากพม่าด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น