หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กำเนิดปฏิทิน

ปฏิทิน
รูปศัพท์เดิมของคำว่า ปฏิทิน มาจากภาษาสันสฤตว่า “ปฺรติทิน” แปลว่า “เฉพาะวัน, สำหรับวัน” หรือ “ว่าโดยวัน” ส่วนคำว่า “Calendar” ในภาษาอังกฤษมาจากรากศัพท์ภาษาละตินซึ่งแปลว่า “moneylender’s account book” หรือ สมุดบัญชีของผู้ปล่อยเงินกู้ ที่มาของศัพท์ทั้งสองนี้มีความสำคัญเพราะชี้ให้เห็นว่า “ทิน” หรือ “วัน” เป็นหน่วยเวลาที่คนทุกสังคมรู้จักดีที่สุดจนนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการวางระบบการจัดแบ่งเวลา การจัดแบ่งเวลานี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกำหนดการด้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พิธีกรรม การส่งส่วย หรือ ธุรกิจ เหมือนดังคำว่า Calendar ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีที่มาจากชาวคริสเตียนทำสงคราครูเสด (The Crusades หรือ สงครามศาสนาในยุคกลางของยุโรปกับพวกมุสลิม)  โดยที่พ่อค้าชาวยิวเป็นพวกปล่อยเงินกู้แก่นักรบครูเสด และพ่อค้าเงินกูจำเป็นต้องสร้างตารางเวลาในการชำระหนี้คืน
          โดยทั่วไปแล้ว ปฏิทิน คือระบบ หรือ แบบการจัดแบ่งการเวลาที่ต่อเนื่องยาวนาน แต่ละสังคมมีระบบการจัดแบ่งเวลาไม่เหมือนกัน วัน เดือน และปี เป็นหน่วยเวลาพื้นฐาน การกำหนดว่าวันหนึ่ง หนึ่งเดือน หรือ หนึ่งปี จะแบ่งเป็นช่วงเวลาย่อยลงไปอย่างนั้น คนในแต่ละสังคมมีแนวคิดไม่เหมือนกัน ในปัจจุบันการเข้าสู่วันใหม่จะถือเอาเที่ยงคืนเป็นเกณฑ์ คือ หลัง 24 นาฬิกาไปแล้วก็นับเป็นวันใหม่ ในสังคมยุคโบราณ มนุษย์มีวิธีนับที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น นักดาราศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 จนถึง ค.ศ. 1925 ใช้เวลาเที่ยงวันเป็นเกณฑ์ในการเริ่มต้นวันใหม่ พวกชนเผ่าสมัยโบราณโดมากนับถือเอาเวลารุ่งเช้าเป็นการเริ่มต้นและสิ้นสุดของแต่ละวัน ในสมัยต่อมาพวกบาบิโลเนียน ยิวและกรีก ต่างถือว่าวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดตอนพระอาทิตย์ตกดิน ในขณะที่ชาวอียิปต์และอินเดียโบราณถือว่าวันใหม่เริ่มต้นตอนรุ่งอรุณ ส่วนชาวโรมันกลับคิดว่าวันใหม่เริ่มต้นเที่ยงคืน เป็นต้น
เรื่องของวันไม่ได้จบแค่นั้น การแบ่งวันเป็นช่วงเวลาย่อยลงไปก็ไม่เหมือนกันในแต่ละอารยธรรม นักดาราศาสตร์บาบิโลเนียนแบ่งวันออกเป็น “ยาม” ต่างๆ (watches) ความยาวของแต่ละยามยังไม่เท่ากันในแต่ละดูกาล ยามในช่วงกลางวันของฤดูร้อนจะยาวกว่าฤดูหนาว และยามในช่วงมือของฤดูหนาวจะยาวกว่าในฤดูร้อน การแบ่งช่วงยามให้ยาวนานเท่ากันในยุโรปเพิ่งเป็นสิ่งใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เมื่อมีผู้ประดิษฐ์นาฬิกากลไกขึ้นใช้แล้ว ทำให้การบอกเวลาสะดวกขึ้นในสังคมตะวันตก
          การแบ่งวันออกเป็น 24 ชั่วโมง กล่าวคือ เป็นกลางวัน 12 ชั่วโมงและกลางคืน 12 ชั่วโมงนั้น ถือปฏิบัติกันมาในพวกกรีก สุเมเรียน อียิปต์ และโรมัน สำหรับศริสต์จักรนั้นหากเป็นกิจฝ่ายอาณาจักร (ฝ่ายพลเรือน)  ก็ยึดถือตามที่กล่าวมานี้ แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ก็ยึดถือการแบ่งเวลาตามการประกอบศาสนกิจประจำวันเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ 7 ยามด้วยกัน การให้ความสำคัญแก่จำนวน 2, 12 ,24 และ 60 นี้พวกบาบิโลนเนียนรับมรดกมาจากพวกสุเมเรียนอีกชั้นหนึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ชาวบิบิโลนเนียนนิยมแบ่งออกเป็น 3 ยาม เป๋นกลางวัย 3 ยาม กลางคืน 3 ยาม แต่ละยามยังแบ่งออกเป็นครึ่งยาม และ เศษหนึ่งส่วนสี่ของยามด้วย ในทางดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนเนียนแบ่งแต่ละวันออกเป็น 12 ช่วงเวลา เรียกว่า “เบรุ” (beru) แต่ละเบรุแบ่งย่อยลงไปเป็น 30 “เกช” (gesh) สังคมบาบิโลเนียนใช้ทั้งสองระบบพร้อมๆ กัน
            เมื่อมีการแบ่งวันออกเป็นช่วงเวลาย่อยลงตามที่กล่าวข้างต้น สำหรับบางสังคมหน่วยบอกเวลาและการแบ่งเวลาจากวันถึงเดือนดูห่างเกินไป จึงมีการรวมวันหลายๆ วันเข้าเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ในสังคมโบราณ การจัดตลาดนัดหรือการชุมนุมแลกเปลี่ยนสินค้าดูออกจะสะดวกสำหรับการอ้างอิง สังคมแอฟริกามักกำหนดวันตลาดนัดทุกช่วง 4 วัน ในเอาเชียกลางใช้ช่วงเวลา 5 วันก่อนจัดตลาดนัดครั้งต่อไป ชาวอัสซีเรียนใช้ช่วง 5 วัน ในขณะที่อียิปต์โบราณใช้ช่วงเวลา 10 วัน ชาวบาบิโลเนียนใช้ช่วงเวลา 7 วัน แต่ชาวโรมันใช้ช่วงเวลาทุก 8 วัน อย่างไรก็ตาม แนวคิดในช่วงเวลามาตรฐานที่ควรมี 7 วัน หรือ 1 สัปดาห์ตามที่พวกบาบิโลนเนียนนั้น กลับกลายเป็นประเพณีนิยมในโลกตะวันตก ที่มาของเลข 7 นั้น ชาวบาบิโลนเนียนได้มาจากการแบ่งระยะเวลา 1 เดือน ออกเป็น 4 ช่วง และอาจจะเป็นเพระอาศัยจำนวนดาวฤกษ์ที่รู้จักในสมัยโบราณเพียง 5 ดวง นอกเหนือจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เมื่อราวก่อนประสูติกาลของพระเยซูเล็กน้อย การนับช่วงเวลาเป็น 7 วัน (หรือ 1สัปดาห์) ของชาวยิวก็เป็นที่ยอมรับทั่วไปในราชอาณาจักรโรมัน และท้ายที่สุดฝ่ายคริสตจักรก็ต้องยอมรับมาใช้ด้วย
             เรื่องระยะเวลาหนึ่งเดือนนั้น ได้มาจากการสังเกตวันเพ็ญและวันข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์ แต่ก้ไม่ใช่ว่าจะปราศจากปัญหาเนื่องจากเฉลี่ยแล้ว เดือนหนึ่งทางจันทรคติมีเพียง 29 วันครึ่ง เท่านั้นเอง ซึ่งก็เกือบตรงกับระยะมีประจำเดือนของสตรี และการแสดงพฤติกรรมเฉพาะทางของสัตว์ทะเลบางจำพวก เดือนทางจันทรคติมีความสำคัญมาก เพราะมักเกี่ยวกับการประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การกำหนดวันอีสเตอร์ และการกำหนดวันถือศีลอดของอิสลามิกชน เป็นต้น ชาวบาบิโลเนียนใช้วิธีกำหนดให้มีเดือน 29 และ 30 วันสลับกันไป ในขณะที่พวกอียิปต์กำหนดลงไปตายตัวว่าเดือนหนึ่งมี 30 วัน ซึ่งพวกกรีกรับเอาอิทธิพลไปด้วย พวกโรมันครั้นเมื่อยังใช้ปฏิทินเด่า (ปฏิทินยูเรียน) ได้กำหนดให้เดือนปกติมีเพียง 28 วัน แต่จะมีประกาศราชโองการเพิ่มบางเดือนให้มี 30 วัน หรือ 31 วัน เพื่อในทันกับวันทางสุริยคติ
ปฏิทินสมัยโรมัน

           การกำหนวันตามจันทรคติอาจจะมีประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่เดือนทางจันทรคติอาจคาดเคลื่อนไปจนไม่ตรงกับฤดูกาลหรือใช้ในการบอกฤดูกาลไม่ได้ ด้งนั้น ในชีวิตจริง ของมนุษย์อาจจะต้องอาศัยปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างอื่นเป็นเครื่องช่วย ชาวอียิปต์โบราณกำหนดรอบปี โดยรอคอยการปรากฏขึ้นของดาวฤกษ์ซิริอุส (Sirius) ซึ่งบ่งบอกว่า น้ำในแม่น้ำไนล์จักเริ่มหลากแล้ว และเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ของการทะเกษตรกรรม ดาวฤกษ์ซิรีอุสปรากฎขึ้นทุกๆ 365 วัน คือสั้นกว่าปีสุริยคติซึ่งมี 365.25 วันและเพียง 12 นาที
เรื่องเล่าเกี่ยวกับกำเนิดจักวาลและกาลเวลา มีอยู่ใน

เกือบทุกอารยธรรมชาวจีนโบราณเชื่อว่า ผานกู้ 
เป็นผู้ใช้สิ่วตอกกระเทาะหน้าผาแห่งสภาวะความ
ว่างเปล่าแล้วสร้างเป็นดาวฤกษ์และดาวเคราะห์
ต่างๆ โดยมี มังกร เต่า และนกหงษ์หยกเป็นผู้ช่วย
เมื่อผานกู้ตายแล้ว ร่างของเขากลายเป็นส่วนต่างๆ
ของโลก 
ตำนานบอกว่า ผานกู้ ต้องใช้เวลาสรา้งจักวาล
 นานถึง 18,000 ปี เมื่อจักวาลเกิด เวลาก้เกิดด้วย
          การกำหนดช่วงระยะเวลาที่แน่นอนในแต่ละปีของมนุษย์ในสังคมโบราณเกี่ยวข้องกับการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่นวงจรชีวิตของสัตว์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เมื่อทำตำแหน่งกับดาวฤกษ์ต่างๆ ความพยายามในการกำหนดปฏิทินของมนุษย์บางทีก็มีความซับซ้อนอย่างน่าทึ่ง เช่น ในกรณีการสร้างเครื่องมือบอกเวลาด้วยแท่งหินขนาดใหญ่ในดินแดนอบอุ่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ สโตนเฮนจ์  ในแคว้นวิลเชียร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว โครงสร้างหินนี้เป็นเครื่องมือทางดาราศาสตร์ เพราะมีการทำสัญลักษณ์ต่างๆ ในวงแหวนทั้งชั้นในและชั้นนอก สำหรับดูความสัมพันธ์ของตำแหน่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ในช่วงเวลาของปี
              ความสำเร็จของแต่ละสังคมมนุษย์ในการกำหนดช่วงเวลาต่างๆ เป็นพื้นฐานของระบบปฏิทิน เมื่อสังคมและอารยธรรมต่างๆ มีการติดต่อกันมากขึ้น ต่างก็ถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำปฏิทินให้แก่กัน เพื่อที่จะหาปฏิทินที่เป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ตามระบบปฏิทินได้หาสิ้นสุดลงที่ความสามารถในการกำหนดช่วงเวลา วัน เดือน ปี แต่มนุษย์ยังต้องการกรอบเวลาที่ยาวนานกว่าหนึ่งขวบปีด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น