หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่

             สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นรัชกาลที่มีปัญหาไม่น้อยในประวัติศาสตร์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม และพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ไม่ได้กล่าวถึงรัชกาลนี้ไว้ ขณะที่พระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขาไม่ได้กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ แต่กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ เช่นเดียวกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตที่กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระ อินทราชา อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ นั้นที่ถูกควรเรียกว่า รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ส่วนชื่ออินทราชานั้นเป็นพระนามของพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่คง สิ้นพระชนม์ในการสู้รบเมื่อคราวที่พระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาตีเมืองสุโขทัยเมื่อ .. ๒๐๐๖


               พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ให้ข้อมูลว่าเมื่อ .. ๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปเสวยราชย์ที่เมืองพิษณุโลกเพื่อตั้งรับทัพพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมือง เชียงใหม่ และพระยายุทธิษเฐียรเจ้าเมืองเชลียงที่ยกทัพมาตีสุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร ทรง ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นกษัตริย์ครองที่อยุธยา ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรอยุธยาจึง เสมือนมีกษัตริย์ พระองค์ คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปกครองเมืองพิษณุโลกองค์หนึ่ง และ สมเด็จพระบรมราชาธิราชครองพระนครศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่ง การมีกษัตริย์ พระองค์ปกครอง พร้อมกันนี้ดำเนินต่อมาถึง .. ๒๐๓๑ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตที่พิษณุโลก สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิติ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พระองค์ครองราชย์ต่อมาอีก ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๒๐๓๔ ดังนั้นถ้าหากจะนับช่วงเวลาครองราชย์จริงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ โดยไม่นับ ช่วงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังคงมีอำนาจอยู่ที่พิษณุโลกคือ ปี ระหว่าง .. ๒๐๓๑ - .. ๒๐๓๔


              พระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารแต่ละฉบับ ไม่สอดคล้องกันนัก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ และพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมระบุว่า
              พ.. ๑๙๙๗  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชโอรส
              พ.. ๒๐๐๙  พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงผนวช
              พ.. ๒๐๑๐  สมเด็จพระราชโอรสเจ้าลาผนวชและตั้งเป็นพระมหาอุปราช
              พ.. ๒๐๑๓  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต
              พ.. ๒๐๑๖  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่


               ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าบรมราชาซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ แต่ช่วงเวลาระหว่าง .. ๒๐๑๓-.. ๒๐๑๖ ก่อนได้ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระบรมราชาทรงทำอะไรไม่มีข้อมูลแน่ชัด รวมทั้งไม่ได้กล่าวถึงการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปครองราชย์ที่พิษณุโลก และมีกษัตริย์อีกองค์ปกครองที่พระนครศรีอยุธยา  นอกจากนี้ช่วงเวลาต่าง ดูสับสนต่างจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เช่น เรื่องปีสวรรคตของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฯลฯ


              เมื่อพิจารณาพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์อย่างละเอียดก็จะพบว่าไม่มีเนื้อความตอนใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของสมเด็จพระบรมราชาและสมเด็จพระบรม-ไตรโลกนาถ  นักวิชาการบางคนเห็นว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ น่าจะเป็นพระอนุชาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยยกข้อมูลจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ .. ๒๐๒๗ ที่ว่า สมเด็จพระเชถถาทีราชเจ้าแลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้าทรงพระผนวชทั้ง พระองค์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สมเด็จพระเชษฐาธิราชพระราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ทรงพระราชสมภพเมื่อ .. ๒๐๑๕ ตามข้อมูลพระราช-พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์จะผนวชพร้อมกันกับพระนัดดา (ในกรณีที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)  อย่างไรก็ดี นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่นเดียวกับสมเด็จพระเชษฐาธิราช แต่คงจะมีอายุต่างกันมาก  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าน่าจะมีอายุต่างกัน ๒๐ ปีขึ้นไป  สมเด็จพระเชษฐาธิราชนี้ใน .. ๒๐๒๘ ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช แต่ไม่ได้บอกแน่ชัดว่าเป็นมหาอุปราชเฉพาะหัวเมืองเหนือหรือทั่วราชอาณาจักร  และใน .. ๒๐๓๔ หลังจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคตแล้วได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่พระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ 


              สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถยิ่งอีกพระองค์หนึ่ง  พระราพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ให้ข้อมูลว่าในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถราว .. ๒๐๓๑ เสด็จไปตีเมืองทวาย  ส่วนพระราชกรณียกิจก่อนหน้านี้ที่มีการกล่าวถึงไว้คือการเสด็จไปวังช้างที่ตำบลไทรย้อยใน .. ๒๐๒๖ และที่ตำบลสำฤทธ์บุรณใน .. ๒๐๒๙  เมื่อเป็นกษัตริย์อย่างสมบูรณ์แล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการก่อกำแพงเมืองพิชัยใน .. ๒๐๓๓


             สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ เสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๒๐๓๔  ส่วนพระราชโอรสของพระองค์ที่ผนวชพร้อมกับสมเด็จพระเชษฐาธิราชใน .. ๒๐๒๗ ไม่ได้รับการกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารอีกเลย

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ



          สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็น พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) พระราชชนนีเป็นพระราชธิดา พระมหาธรรมราชาที่ หรือพระยาไสลือไท (บางแห่งว่าเป็นพระราชธิดาพระมหาธรรมราชาที่ ) ในพระราชวงศ์สุโขทัย แต่เสวยราชสมบัติอยู่ที่เมืองพิษณุโลก

         ใน .. ๑๙๗๔ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ โปรดให้เตรียมกองทัพใหญ่ไปตั้งประชุมพล ทุ่งพระอุทัย นอกกรุงศรีอยุธยาทางตะวันออกเฉียงเหนือ จะยกไปทำสงครามเอาเมืองพระนครใน แคว้นกัมพูชา เวลานั้นพระราชชนนีทรงพระครรภ์แก่ เสด็จออกตามไปส่งสมเด็จพระราชบิดาและ ประสูติสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าในกาลสมัยนั้น

          เมื่อสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าทรงเจริญพระชนมายุ พรรษา พระราชบิดาโปรดให้พระราชชนนี เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกเพื่อทรงเยี่ยมพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นโปรดให้สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ตามเสด็จไปด้วยพระราชชนนี ต่อมาเมื่อพระชนมายุ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้สถาปนา พระนามว่า สมเด็จพระราเมศวร ครั้นถึง .. ๑๙๘๔ สมเด็จพระราเมศวรเจริญพระชนมายุ ๑๐ พรรษา สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้สถาปนาพระอิสริยยศตั้งขึ้นไว้เป็นที่พระมหาอุปราชแห่ง กรุงศรีอยุธยา

           พ.. ๑๙๙๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ เสด็จสวรรคต พระมหาอุปราชขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าแผ่นดินลำดับที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขณะ มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ทรงปกครองแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยานาน ๑๕ ปี และได้รวมแคว้นสุโขทัย เข้ามาร่วมเป็นแผ่นดินเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ทรงปกครองได้เป็นปึกแผ่นต่อมาอีก ๒๕ ปี นับได้ว่า ยาวนานยิ่งในสมัยอยุธยา

           ช่วงเวลา ๔๐ ปีในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระราชดำริริเริ่มและทรงพระราช- กรณียกิจสำคัญอันเป็นคุณประโยชน์ยิ่งนานาประการแก่การบริหารราชการ กระบวนการยุติธรรม ความมั่นคงของรัฐ การบำรุงรักษาศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรง พระราชนิพนธ์วรรณกรรมมหาชาติคำหลวงอันเป็นพระราชมรดกชิ้นสำคัญที่ตกทอดมาจนปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งพระราชดำริการใหม่ และพระราชกรณียกิจสำคัญเหล่านี้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง ทำมาตลอดสมัยในระหว่างทรงปกครองแผ่นดิน

          เมื่อสมัยแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติและประทับ พระราชวังเดิม ที่พระราชบิดาเคยประทับ ไม่นานก็โปรดให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่ขึ้น บริเวณพื้นที่ที่อยู่ถัดพระราชวังเดิมขึ้นไปทางเหนือใกล้แม่น้ำลพบุรี  พระราชวังใหม่นี้ โปรดให้สร้างพระมหาปราสาทขึ้นเป็นประธานแห่งพระราชวังชื่อเบญจารัตนมหาปราสาท ประกอบด้วยพระราชมนเทียร พระตำหนักเรือนหลวง คลังต่างๆ และบริวารสถานพร้อมตามขนบนิยมโดยโบราณราชประเพณีการปกครองบ้านเมืองในพระราชอาณาจักรก่อนแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นการปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในการปกครอง โดยได้มอบสิทธิและหน้าที่ในอำนาจที่บุคคลในราชสกุลควรได้รับไปจัดการปกครองบ้านเล็กเมืองน้อยตามฐานะและขนาด  ครั้นมาถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตระหนักถึงความสำคัญ จึงเลิกส่งพระเจ้าลูกเธอพระเจ้าหลานเธอไปกินเมือง คงให้มีตำแหน่งอยู่ในราชธานี เพื่อป้องกันมิให้พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอมีโอกาสซ่องสุมผู้คนเป็นกำลังก่อเหตุขึ้นในแผ่นดินเหมือนดังในกาลที่ผ่านมา  การปฏิรูปการปกครองจึงเริ่มด้วยการจัดฐานะเมืองตามขนาดและความสำคัญ จัดตั้งเป็นเมืองเอก เมืองโท และเมืองตรี

            การบริหารราชการแผ่นดินก่อนรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์ทรงรับเป็นพระราชภาระและบริหารราชการแผ่นดินทั้งด้านการปกครอง การยุติธรรม การเศรษฐกิจ การเกษตรกรรม การศาสนา เป็นต้น  โดยมีเจ้านาย ขุนนาง เจ้าพนักงานแบ่งรับสนองพระราชกิจได้บ้าง  แต่ก็ยังมิได้เป็นระบบระเบียบที่ชัดเจนอย่างมีประสิทธิภาพ  กิจราชการต่าง อาจมีการปฏิบัติผิดกระทรวงล่วงกรมกัน อันเป็นผลให้ส่วนราชการไม่มั่นคงเรียบร้อย ย่อมไม่เป็นการดีแก่การบริหารราชการ ซึ่งราชการและสังคมสมัยนั้นกว้างขวางขึ้นกว่าสมัยก่อนๆ

            สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นให้เป็นระเบียบใหม่  พลเมืองฝ่ายทหารตั้งอธิบดีเป็นผู้บริหารราชการเป็น สมุหพระกลาโหมและพลเมืองฝ่ายพลเรือนตั้งอธิบดีผู้บริหารราชการเป็น สมุหนายก”  ทั้งสองตำแหน่งนี้ให้มีตำแหน่งเป็น อัครมหาเสนาบดีรับสนองพระราชกิจเหนือขุนนางชั้นรองลงไปด้วย

            ต่อมาโปรดให้ตั้งบุคคลขึ้นรับสนองพระราชกิจสำคัญสำหรับการบริหารราชการแผ่นดิน ฝ่ายอันเปรียบเป็นเสาหลักสำหรับค้ำจุนความมั่นคงและมั่งคั่งแก่บ้านเมือง เรียกว่า จัตุสดมภ์คือ ตำแหน่งอธิบดีกรมวัง อธิบดีกรมคลัง อธิบดีกรมเมือง (เวียง) และอธิบดีกรมนา

            ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในสังคมแห่งกรุงศรีอยุธยาและในประวัติศาสตร์ชาติไทยในสมัยต่อมา กล่าวคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตั้งและกำหนดศักดินาขึ้นสำหรับตัวบุคคลที่เป็นเจ้านาย ข้าราชการ และพลเมืองทุกบุคคลที่มีภูมิลำเนาในพระราชอาณาเขตแห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อยกฐานะและความสามารถในความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคลให้ปรากฏเป็นที่ยอมรับทางสังคม ประเพณีนิยม ระบบราชการ สิทธิและผลประโยชน์กับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ตราพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาล เป็นกฎระเบียบในการปฏิบัติราชการมิให้เป็นความผิดต่อพระเจ้าแผ่นดิน มิให้บกพร่องแก่ราชการ มิให้เป็นเหตุแก่พระเจ้า แผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ มิให้ทำความชั่วให้เป็นที่เสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ตราขึ้นครั้งแรกเป็นพระราชกำหนดใน แผ่นดินของพระองค์นั้น ได้ถือเป็นพระราชกำหนด เป็นกฎหมายสำหรับราชการในพระราชสำนักแห่ง กรุงศรีอยุธยาต่อมาเป็นลำดับ ทั้งยังได้รับสืบต่อมาเป็นกฎมณเฑียรบาลสำหรับพระราชสำนักแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ด้วย

            การรักษาและผดุงความมั่นคงของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงเป็นพระประมุขแห่งพระราชอาณาเขต กับสถาบันราชการ สังคม พลเมือง และแว่นแคว้น มิให้มีเหตุเป็นภัยขึ้นภายใน หรือมาแต่ภายนอก จนนำมาซึ่งภัยเป็นอันตรายแก่ความสงบเป็นปกติสุข จึงต้องมีกฎหมายเพื่อยับยั้งห้ามปรามและ ปราบการณ์ต่าง ที่จะเป็นเหตุบั่นทอนความมั่นคงทั้งในส่วนพระเจ้าแผ่นดิน การบริหารราชการ สวัสดิภาพของพลเมือง เพื่อมิให้เป็นจลาจลขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้น

           ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคง ซึ่งโปรดให้ตรา ขึ้น คือพระไอยการอาชญาหลวงกับพระไอยการลักษณะขบถศึก

            เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาได้ ปี ระหว่างนั้นทรง จัดการบริหารราชการให้เป็นปกติเรียบร้อย ดังการสร้างพระราชวังใหม่ การปฏิรูประบบข้าราชการ เป็นต้น ในการศึกสงคราม พระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกเมื่อ .. ๑๙๙๔

            ต่อมา .. ๑๙๙๘ เมืองมะละกาซึ่งเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อน เจ้าเมืองตั้งตัว เป็นขบถ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ส่งกองทัพลงไปปราบและได้เมืองมะละกาคืนมาดังเดิม อนึ่ง ในช่วงระยะเวลาของพระองค์ ปรากฏว่าทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือดินแดนลาว กัมพูชา และทวายด้วย นอกจากนั้นยังทรงทำสงครามอีกหลายครั้งกับเชียงใหม่ เพื่อป้องกันเมืองกำแพงเพชร เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย หลังจากที่มีศึกสงครามกับฝ่ายล้านนานี้เอง ทำให้สมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถเสด็จไปเสวยราชย์ที่เมืองพิษณุโลกและคอยทรงบัญชาการรบ พระองค์เสด็จออก ผนวชที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลกเมื่อ .. ๒๐๐๘ ทรงพระผนวชเป็นเวลานานถึง เดือน หลังจาก ทรงลาพระผนวชแล้ว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงครองราชย์อยู่ต่อไปที่เมืองพิษณุโลก และเสด็จ

          สวรรคตใน .. ๒๐๓๑ ขณะพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่


(เจ้าสามพระยา)

        สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ของสมเด็จพระนครินทราธิราช ทรงครองราชย์ .. ๑๙๖๗-.. ๑๙๙๑




        ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้าสามพระยาประสูติเมื่อใด แต่พงศาวดารฉบับวันวลิต (Van Vliet) ว่า เมื่อขึ้นครองราชสมบัติมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา เหตุที่ทำให้พระองค์ได้ราชสมบัติก็เพราะพระเชษฐา คือ เจ้าอ้ายพระยาผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีกับเจ้ายี่พระยาผู้ครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค์) แย่งชิง ราชสมบัติกันเมื่อพระราชบิดาสวรรคต โดยการทำยุทธหัตถีที่เชิงสะพานป่าถ่านในพระนครศรีอยุธยา แล้วสิ้นพระชนม์ด้วยกันทั้งคู่ ขุนนางผู้ใหญ่จึงไปอัญเชิญเจ้าสามพระยา ซึ่งขณะนั้นครองเมืองชัยนาท หรือเมืองพิษณุโลกขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่


         ช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมัยเดียวกับช่วงต้นราชวงศ์หมิง (Ming) ของจีน (.. ๑๙๑๑-.. ๒๑๘๗) และจักรพรรดิหย่งเล่อ (Yong Le ครองราชย์ .. ๑๙๔๕-.. ๑๙๖๗) ทรงแผ่แสนยานุภาพทางทะเล โดยส่ง กองเรือมหาสมบัติขนาดใหญ่ให้ มหาขันที นายพลเรือเจิ้งเหอ (Zheng He .. ๑๙๑๔-.. ๑๙๗๖) ออกสำรวจทางทะเล เจิ้งเหอ และบางส่วนของกองเรือมหาสมบัติเคยแวะพระนครศรีอยุธยา ครั้ง ในการเดินทางครั้งที่ (..๑๙๕๐-.. ๑๙๕๑) ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ารามราชา และครั้งที่ (.. ๑๙๖๔-.. ๑๙๖๕) ในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช การเดินทางของกองเรือมหาสมบัติครั้งที่ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย (.. ๑๙๗๔-.. ๑๙๗๖) มีขึ้นในสมัยจักรพรรดิชวนเต๋อ (Xuan De ครองราชย์ .. ๑๙๖๘- .. ๑๙๗๘) ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) แม้กองเรือจะไม่ได้แวะ ที่กรุงศรีอยุธยา แต่ก็ย่อมเป็นที่รับรู้ได้เพราะกองเรือมีถึง ๑๐๐ ลำ ลูกเรือ ๒๗,๕๐๐ คน อย่างไรก็ดี การแผ่แสนยานุภาพทางทะเลของจีนไม่ได้ทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ประสบความยุ่งยาก แต่อย่างใด เพราะพระราชบิดาทรงวางพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีไว้แล้วจากการที่พระองค์เคยเสด็จไปจีน ดังนั้นความสัมพันธ์ใน ระบบบรรณาการกับจีนจึงดำเนินต่อมาด้วยดี


          พระราชภารกิจแรกของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ คือ การถวายพระเพลิงพระศพ พระเชษฐาทั้ง พระองค์ สถานที่นั้นโปรดให้สร้างพระมหาธาตุและพระวิหารเพื่อเป็นวัดซึ่งพระราชทานนามว่าวัดราชบูรณะ และที่พระเชษฐาทรงทำยุทธหัตถี โปรดให้ก่อพระเจดีย์ องค์ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งถือว่ามีความถูกต้องทั้งเหตุการณ์ และศักราช ได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ไว้ดังนี้
        ๑. มีชัยชนะเหนืออาณาจักรขอม .. ๑๙๗๔ สามารถยึดเมืองพระนครหรือนครธม (AngkorThom) ซึ่งเป็นชัยชนะอย่างเด็ดขาด เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ไม่เหมือนกับชัยชนะของอยุธยาต่อเมืองพระนครครั้งก่อนหน้านั้น คือ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองและสมเด็จขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ว่ามีจริงหรือไม่ ชัยชนะในครั้งนี้ โปรดให้ พระนครอินทร์ราชโอรสครองที่เมืองพระนครด้วย และมีการกวาดต้อน พระยาแก้ว พระยาไทเชื้อพระวงศ์และขุนนางขอมพร้อมรูปประติมากรรมเข้ามา การได้เชื้อพระวงศ์และขุนนางขอมมาในครั้งนี้น่าจะมีผลต่อการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (.. ๑๙๙๑-.. ๒๐๓๑) ในเวลาต่อมา
          ๒. ทรงตั้งพระราชโอรสเป็นสมเด็จพระราเมศวรที่พระมหาอุปราชซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกไปครองเมืองพิษณุโลกเมื่อ .. ๑๙๘๑ แทนผู้ครองเมืองแต่เดิม ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์สุโขทัย การตั้งสมเด็จพระราเมศวรไปครองเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นในการรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาณาจักรอยุธยา เพราะสมเด็จพระราเมศวรมีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงสุโขทัย ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยาใน .. ๑๙๙๑ มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเห็นความสำคัญของเมืองพิษณุโลกมาก ถึงกับเสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ .. ๒๐๐๖ จนเสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๒๐๓๑
          ๓. การโจมตีอาณาจักรล้านนา .. ๑๙๘๕ และ .. ๑๙๘๗ ทรงยกทัพไปตีเชียงใหม่หลังจากส่งพระราเมศวรไปปกครองพิษณุโลก แต่การตีเชียงใหม่ครั้งแรกไม่สำเร็จเพราะทรงพระประชวร  ๒ ปีต่อมา (.. ๑๙๘๗) ทรงยกทัพไป ปราบพรรคซึ่งน่าจะเป็นเชียงใหม่ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา คราวนี้มีชัยชนะได้เชลยถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน หลักฐานจีนหมิงสือลู่ หรือจดหมายเหตุสมัยราชวงศ์หมิง ได้กล่าวยืนยันการตีเชียงใหม่โดยกองทัพของกรุงศรีอยุธยาไว้ด้วย และว่าทางเชียงใหม่ได้ขอพระราชลัญจกรแทนของเก่า เพราะถูกทำลายจากการสงครามในครั้งนี้ ซึ่งจักรพรรดิจีนก็พระราชทานให้
          ๔. การส่งทูตไปจีน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ มีการส่งทูตนำบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนในลักษณะ จิ้นก้งหรือ จิ้มก้องเพื่อประโยชน์ในการค้าหลายครั้ง และค่อนข้างถี่ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับการที่จีนส่งกองเรือมหาสมบัติมายังน่านน้ำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรอินเดียก็ได้ หลักฐานจากจดหมายเหตุสมัยราชวงศ์หมิงได้กล่าวถึงว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ทรงส่งทูตไปถวายบรรณาการประมาณ ๑๐ ครั้ง บางครั้งส่งไปติด กันปีต่อปี บางปี๒ ครั้ง ซึ่งนับว่าผิดปกติ แต่อาจแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางการค้าของ ประเทศก็ได้ บางครั้งมีการฟ้องจีนว่าทูตไทยถูกจามปาขัดขวางและกักตัว ให้จีนตักเตือนว่ากล่าวจามปาและปล่อยตัวคณะทูต ด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งไทยขอพระราชลัญจกรซึ่งมีความสำคัญในการติดต่อแทนของเก่าเพราะถูกไฟไหม้ พระราชมนเทียร (.. ๑๙๘๓) และไหม้พระที่นั่งตรีมุข (.. ๑๙๘๔)
          ๕. ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดราชบูรณะ (.. ๑๙๖๗) และวัดมเหยงคณ์ (.. ๑๙๘๑) ที่พระนครศรีอยุธยา วันวลิต ผู้จัดการสำนักการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) ในหนังสือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต .. ๒๑๘๒ ว่า

         ..พระองค์เป็นนักรบโดยกำเนิด ทรงเฉลียวฉลาด มีโวหารดี รอบคอบ มีความเมตตา กรุณา พระองค์เอาใจใส่ดูแลทหารและข้าราชบริพารเป็นอย่างดี พระองค์ทรงเป็นนัก เสรีนิยม ทรงสร้างและบูรณะวัดหลายแห่ง ทรงให้ความช่วยเหลือทั้งพระและคนยากจน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความเมตตามากที่สุดเท่าที่ประเทศสยามเคยมี ทุก ๑๐ ถึง ๑๕ วัน พระองค์จะเสด็จไปในเมืองและถามทุกข์สุขประชาชนว่า ทุกคนได้รับสิ่งของที่เขา มีสิทธิ์ที่จะได้และได้รับความช่วยเหลือหรือไม่เพียงไร”


         สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของสมัย กรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยา ทรงแผ่อำนาจครอบคลุม อาณาจักรขอมที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากที่เมืองพระนคร (Angkor) ทรงมีชัยชนะต่ออาณาจักรล้านนา ทรงติดต่อค้าขายกับจีน ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรงตั้งธรรมเนียมการมีพระมหาอุปราช สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ เสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๑๙๙๑ ทรงครองราชสมบัติรวม ๒๔ ปี

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติพระนครินทราธิราช


สมเด็จพระนครินทราธิราช

          สมเด็จพระนครินทราธิราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาล ที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระมหากษัตริย์องค์ที่ แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ทรงครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา๑๕ ปี เฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระนครินทราธิราช (สมเด็จพระอินทราธิราช หรือสมเด็จพระอินทราชาธิราช) นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิจะได้ครองอำนาจอย่างเด็ดขาดในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทั้งหมด ภายใต้พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิซึ่งได้ครองราชย์สมบัติที่กรุงศรีอยุธยาสืบต่อมา อีกหลายพระองค์

          สมเด็จพระนครินทราธิราชเสด็จพระราชสมภพเมื่อ .. ๑๘๘๒ เป็นพระราชนัดดาใน สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (ขุนหลวงพะงั่ว) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิที่ครองราชย์ กรุงศรีอยุธยา พระนามเดิมขณะครองเมืองสุพรรณบุรีก่อนขึ้นครองราชย์ที่กรุงศรีอยุธยาคือเจ้านคร- อินทร์ ทรงมีความสัมพันธ์กับจีนอย่างสนิทสนมถึงกับเคยเสด็จฯ ไปเฝ้าจักรพรรดิจีนเมื่อ .. ๑๙๒๐ เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ได้แก่ ช้างขอ (ช้างที่ฝึกแล้ว) เต่า และของพื้นเมือง เมื่อเสด็จกลับ จักรพรรดิจีนได้พระราชทานเครื่องผ้านุ่งห่มเป็นชุดและผ้าแพรพรรณต่างๆ กลับมาด้วย ความสัมพันธ์ ในระบบการทูตบรรณาการอย่างใกล้ชิดกับราชสำนักจีนเช่นนี้เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายที่มีสัมพันธไมตรีด้วย คือ ในทางการเมือง เนื่องจากจีนเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ การรับทูตจากเจ้าเมืองใดถือว่าเจ้าเมืองนั้น ได้รับสิทธิธรรมในการเป็นผู้ปกครอง ส่วนในทางเศรษฐกิจ ระบบการทูตบรรณาการเปิดโอกาสให้มีการ ค้าขายกับจีนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้แม้ว่าเจ้านครอินทร์เป็นเพียงเจ้าเมืองสุพรรณบุรี จักรพรรดิจีนก็ ทรงให้ความสนิทสนมและทรงยกย่องว่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งในระดับเดียวกับสมเด็จพระเจ้า รามราชา

           ต่อมาสมเด็จพระเจ้ารามราชาทรงมีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี อัครมหาเสนาบดี จนถึงกับเจ้าพระยามหาเสนาบดีต้องหนีไปขึ้นกับเจ้านครอินทร์และยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึด พระราชวัง แล้วกราบทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยา เมื่อ .. ๑๙๕๒ เฉลิม พระนามว่าสมเด็จพระนครินทราธิราช ขณะมีพระชนมายุได้ ๗๐ พรรษา ตามหลักฐานของวันวลิต ส่วนสมเด็จพระเจ้ารามราชาก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อสมเด็จพระ นครินทราธิราชขึ้นครองราชย์แล้วก็ยังคงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับจีนต่อไป ด้วยการส่งราชทูตไปเจริญ ทางพระราชไมตรีกับจีนอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองทางการค้า เศรษฐกิจ และ ศิลปกรรมของไทยในช่วงต้นสมัยอยุธยา นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ปูพื้นฐานความเจริญรุ่งเรืองให้แก่กรุงศรีอยุธยาในระยะเวลาต่อมา

           ผลของความมั่งคั่งทำให้มีการซื้อสินค้าอันงดงามประณีตและมีราคาสูงจากต่างประเทศเข้ามา ที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าแพรพรรณหลากสี ผ้าต่วน เครื่องประดับ เครื่องใช้สอย และเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ ชนิดต่าง ที่สวยงามจากจีนในสมัยราชวงศ์เหม็ง ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในราชสำนักและ ตามบ้านผู้มีฐานะของกรุงศรีอยุธยา

           การติดต่อค้าขายกับภายนอกโดยเฉพาะกับจีนทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของการค้าขาย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีการรับและการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ มีการผลิตสินค้าเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผาส่งไปค้าขายกับต่างประเทศตามหมู่เกาะที่ใกล้เคียง เช่น มลายู ชวา และฟิลิปปินส์ นับเป็นสิ่งใหม่ ที่นอกเหนือไปจากการส่งสินค้าป่าประเภทต่าง เป็นสินค้าออกตาม แบบเดิม ในระยะนี้เมืองบางเมืองในราชอาณาจักรได้กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมในการผลิตเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา เช่น เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และพิษณุโลก สมเด็จพระนครินทราธิราช ได้ทรงขอช่างปั้นจีนมาสอนและทำเครื่องถ้วยชามในเมืองไทย และเนื่องจากพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือ อาณาจักรสุโขทัยด้วย ก็คงทรงเลือกเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง สังคโลก เพราะเป็นแหล่งที่มีดินที่เหมาะแก่การทำเครื่องสังคโลก

       ในด้านงานช่างศิลปกรรม มีการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่สำคัญตามเมืองต่าง ที่อยู่ภายในราชอาณาจักร เช่น ที่เมืองสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรีมีการสร้างพระปรางค์วัดพระศรีรัตน- มหาธาตุ การสร้างพระปรางค์เป็นพระเจดีย์ประธานคงเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นนี้เอง และแพร่หลายทั่วไปทั้งในเขตพระนครศรีอยุธยาและหัวเมืองสำคัญ เช่น ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สวรรคโลก ฯลฯ การนำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบมาใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรมทางศาสนา เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ช่อฟ้าบราลี รวมทั้งกระเบื้องปูพื้นโบสถ์วิหารที่พบตามวัดสำคัญต่างๆ ดังในเมือง สุโขทัยและศรีสัชนาลัยก็เกิดขึ้นในระยะนี้ รวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นตามผนังในโบสถ์ วิหารและในพระสถูปเจดีย์ก็เริ่มแพร่หลาย ซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลทางการช่างและศิลปกรรมจากจีน

       นอกจากสมเด็จพระนครินทราธิราชได้ทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่กรุงศรีอยุธยาในด้านการ ค้าขายกับต่างประเทศและความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการดังกล่าวมาแล้ว พระองค์ยังทรงเริ่ม สร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ในทางการเมืองให้แก่อาณาจักรอยุธยาด้วย ดังทรงพยายามผนวก กรุงสุโขทัยและสุพรรณบุรีให้เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ เมื่อ .. ๑๙๖๒ พระมหาธรรมราชาที่ แห่งสุโขทัยเจ้าเมืองพิษณุโลก (เมืองชัยนาทบุรี) เสด็จสวรรคต เมืองเหนือ ทั้งปวงเป็นจลาจลอันเนื่องมาจากพระยาบาลเมืองและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชา ที่ (บางท่านว่าเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ) ทรงแย่งชิงราชสมบัติแห่งกรุงสุโขทัย กัน เป็นเหตุให้สมเด็จพระนครินทราธิราชต้องเสด็จฯ ขึ้นไปถึงเมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์) แล้ว ทรงไกล่เกลี่ยให้พระยาบาลเมืองเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยครองเมืองพิษณุโลกอันเป็นเมืองหลวง และให้พระยารามเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยอันเป็นเมืองเอก โดยต่างมีสถานะเป็นประเทศราชขึ้นต่ออยุธยา

         ในครั้งนี้คงจะแยกเขตแดนเมืองสุโขทัยกับเมืองพิษณุโลกให้ปกครองเป็นต่างอาณาเขตกัน ดังนั้นจะเห็น ได้ว่าตอนนี้สุโขทัยยอมรับอำนาจของอยุธยา  อยุธยาเข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทภายในได้ และยังมีอำนาจแต่งตั้งกษัตริย์ของสุโขทัย ตลอดจนจัดแบ่งการปกครองภายในให้แก่สุโขทัยด้วย

         ในช่วงนี้เองยังได้เกิดปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าอยุธยาได้เปลี่ยนยุทธวิธีจากการใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือ เป็นการพยายามแทรกซึมเข้าไปในราชวงศ์สุโขทัยเพื่อควบคุมอย่างเด็ดขาด กล่าวคือเจ้าสามพระยาพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระนครินทราธิราชได้เสกสมรสกับเจ้าหญิงสุโขทัย ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านราชวงศ์ระหว่างอาณาจักรเหนือคือสุโขทัยและอาณาจักรใต้คืออยุธยา  ทั้งสองพระองค์ได้ทรงให้กำเนิดสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งต่อมาจะทรงเป็นผู้รวมอาณาจักรเหนือและอาณาจักรใต้เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

         นอกจากนี้ สมเด็จพระนครินทราธิราชยังได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสไปครองเมืองลูกหลวงต่าง เพื่อความมั่นคงของราชอาณาจักร ได้แก่ เจ้าอ้ายพระยาครองเมืองสุพรรณบุรีซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง เจ้ายี่พระยาครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค์ คือบริเวณอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทในปัจจุบัน) และเจ้าสามพระยาครองเมืองชัยนาท (เมืองพิษณุโลก) ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือในช่วงระหว่าง .. ๑๙๖๒-.. ๑๙๖๗

สมเด็จพระนครินทราธิราชครองราชย์ได้ ๑๕ ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๑๙๖๗