หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เงินตราสมัยอยุธยา : เงินพดด้วง



เงินพดด้วง 

         


เป็นเงินตราที่ผลิตเป็นรูปขดกลมคล้ายตัวด้วง โดยตัดก้อนโลหะเงินแบ่งออกตามมาตราน้ำหนัก เช่น กึ่งเฟื้อง เฟื้อง สลึง กึ่งบาท บาท กึ่งตำลึง ตำลึง และชั่ง ซึ่งมีอัตราการทดตามมาตราน้ำหนัก คือ 


    ๒ เฟื้อง เท่ากับ ๑ สลึง 
    ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท 
    ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง 
    ๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง 




        ก้อนโลหะเงินที่ตัดแบ่งตามน้ำหนักมาตรฐานนี้ ประทับตราประจำรัชกาลของพระเจ้าแผ่นดิน ที่ทรงให้ผลิตเงินตรานั้นขึ้น ซึ่งในสมัยสุโขทัยเงินพดด้วงประทับตราประจำรัชกาลที่โปรดให้ผลิตขึ้น ได้แก่ สิงห์ ช้าง กระต่าย วัว สังข์ ดอกไม้ และราชวัตร โดยตราที่ประทับในเงินพดด้วงแต่ละเม็ดจะมีมากกว่า ๒ ตรา ที่ขาเงินพดด้วงมีบากลึกลงไป เพื่อให้ตรวจดูเนื้อในของก้อนเงินพดด้วงได้ สำหรับสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีระบบการตอกตราเพียง ๒ ตรา โดยด้านบนประทับตราจักรแทนองค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นสมมติเทพ ส่วนด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาล สมัยอยุธยาพดด้วงมีทั้งเนื้อทองคำและเนื้อเงิน ก้อนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า ๑ บาท โดยเฉพาะชนิดสลึง เฟื้อง และ ๒ เฟื้อง นิยมใช้ตราสังข์ ช้าง และสังข์กนก ในขณะที่สมัยธนบุรีใช้ตราตรีเป็นตราประจำรัชกาล ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้ตรามหาอุณาโลมตราพระครุฑ ตรามหาปราสาท ตรามหามงกุฎ เป็นตราประจำรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ตามลำดับ นอกจากนี้ ในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ยังโปรดเกล้าฯ ให้ทำตราอื่นๆ เพื่อเป็นเงินพดด้วงที่ระลึกอีกด้วย เช่น ตรารวงผึ้ง ลูกศร ดอกไม้ ใบมะตูม เฉลว ครุฑเสี้ยว พระเต้าสิโนทก รวมทั้งมีการผลิตพดด้วงทองคำด้วยเช่นกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น