หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่

             สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นรัชกาลที่มีปัญหาไม่น้อยในประวัติศาสตร์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม และพระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ไม่ได้กล่าวถึงรัชกาลนี้ไว้ ขณะที่พระราชพงศาวดารฉบับ พระราชหัตถเลขาไม่ได้กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ แต่กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ เช่นเดียวกับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตที่กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระ อินทราชา อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ นั้นที่ถูกควรเรียกว่า รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ส่วนชื่ออินทราชานั้นเป็นพระนามของพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่คง สิ้นพระชนม์ในการสู้รบเมื่อคราวที่พระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาตีเมืองสุโขทัยเมื่อ .. ๒๐๐๖


               พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ให้ข้อมูลว่าเมื่อ .. ๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปเสวยราชย์ที่เมืองพิษณุโลกเพื่อตั้งรับทัพพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมือง เชียงใหม่ และพระยายุทธิษเฐียรเจ้าเมืองเชลียงที่ยกทัพมาตีสุโขทัย พิษณุโลก และกำแพงเพชร ทรง ให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นกษัตริย์ครองที่อยุธยา ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวอาณาจักรอยุธยาจึง เสมือนมีกษัตริย์ พระองค์ คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปกครองเมืองพิษณุโลกองค์หนึ่ง และ สมเด็จพระบรมราชาธิราชครองพระนครศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่ง การมีกษัตริย์ พระองค์ปกครอง พร้อมกันนี้ดำเนินต่อมาถึง .. ๒๐๓๑ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตที่พิษณุโลก สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิติ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พระองค์ครองราชย์ต่อมาอีก ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๒๐๓๔ ดังนั้นถ้าหากจะนับช่วงเวลาครองราชย์จริงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ โดยไม่นับ ช่วงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังคงมีอำนาจอยู่ที่พิษณุโลกคือ ปี ระหว่าง .. ๒๐๓๑ - .. ๒๐๓๔


              พระราชประวัติของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารแต่ละฉบับ ไม่สอดคล้องกันนัก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ และพระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมระบุว่า
              พ.. ๑๙๙๗  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชโอรส
              พ.. ๒๐๐๙  พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงผนวช
              พ.. ๒๐๑๐  สมเด็จพระราชโอรสเจ้าลาผนวชและตั้งเป็นพระมหาอุปราช
              พ.. ๒๐๑๓  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต
              พ.. ๒๐๑๖  สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่


               ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าบรมราชาซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ แต่ช่วงเวลาระหว่าง .. ๒๐๑๓-.. ๒๐๑๖ ก่อนได้ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระบรมราชาทรงทำอะไรไม่มีข้อมูลแน่ชัด รวมทั้งไม่ได้กล่าวถึงการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไปครองราชย์ที่พิษณุโลก และมีกษัตริย์อีกองค์ปกครองที่พระนครศรีอยุธยา  นอกจากนี้ช่วงเวลาต่าง ดูสับสนต่างจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เช่น เรื่องปีสวรรคตของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ฯลฯ


              เมื่อพิจารณาพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์อย่างละเอียดก็จะพบว่าไม่มีเนื้อความตอนใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนของสมเด็จพระบรมราชาและสมเด็จพระบรม-ไตรโลกนาถ  นักวิชาการบางคนเห็นว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ น่าจะเป็นพระอนุชาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยยกข้อมูลจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ตอนที่กล่าวถึงเหตุการณ์ .. ๒๐๒๗ ที่ว่า สมเด็จพระเชถถาทีราชเจ้าแลสมเด็จพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาทีราชเจ้าทรงพระผนวชทั้ง พระองค์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สมเด็จพระเชษฐาธิราชพระราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ทรงพระราชสมภพเมื่อ .. ๒๐๑๕ ตามข้อมูลพระราช-พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์จะผนวชพร้อมกันกับพระนัดดา (ในกรณีที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)  อย่างไรก็ดี นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่นเดียวกับสมเด็จพระเชษฐาธิราช แต่คงจะมีอายุต่างกันมาก  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าน่าจะมีอายุต่างกัน ๒๐ ปีขึ้นไป  สมเด็จพระเชษฐาธิราชนี้ใน .. ๒๐๒๘ ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช แต่ไม่ได้บอกแน่ชัดว่าเป็นมหาอุปราชเฉพาะหัวเมืองเหนือหรือทั่วราชอาณาจักร  และใน .. ๒๐๓๔ หลังจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคตแล้วได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่พระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ 


              สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถยิ่งอีกพระองค์หนึ่ง  พระราพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ให้ข้อมูลว่าในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถราว .. ๒๐๓๑ เสด็จไปตีเมืองทวาย  ส่วนพระราชกรณียกิจก่อนหน้านี้ที่มีการกล่าวถึงไว้คือการเสด็จไปวังช้างที่ตำบลไทรย้อยใน .. ๒๐๒๖ และที่ตำบลสำฤทธ์บุรณใน .. ๒๐๒๙  เมื่อเป็นกษัตริย์อย่างสมบูรณ์แล้ว พระราชกรณียกิจที่สำคัญคือการก่อกำแพงเมืองพิชัยใน .. ๒๐๓๓


             สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ เสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๒๐๓๔  ส่วนพระราชโอรสของพระองค์ที่ผนวชพร้อมกับสมเด็จพระเชษฐาธิราชใน .. ๒๐๒๗ ไม่ได้รับการกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารอีกเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น