หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติพระมหาธรรมราชาที่ 2


พระมหาธรรมราชาที่ ๒

          พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลือไทยหรือลิไทย) เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.. ๑๙๑๑-.. ๑๙๔๒ จึงทรงผนวช (จารึกหลักที่ ๙๓ และหลักที่ ๒๘๖) จารึกหลักที่ ๑๐


         พ.. ๑๙๔๗ กล่าวถึงท่านเจ้าพันให้คนหุงจังหันเจ้าธรรมราช และจารึกหลักที่ ๒๖๔ กล่าวถึงเรื่อง พระมหาธรรมราชาที่ ๒ สวรรคตใน พ.. ๑๙๕๒  จารึกหลักที่ ๙๓ และหลักที่ ๒๘๖ ตอนที่เป็นภาษาบาลี มีข้อความว่าศักราช ๗๓๐ (.. ๑๙๑๑) พระมหาธรรมราชาธิราช (ที่ ๒) ได้ประสูติจากพระครรภ์...เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ได้สำเร็จการศึกษาและได้ราชสมบัติ...จึงมีผู้ตีความว่าพระองค์ประสูติใน พ.. ๑๙๑๑ แต่ข้อความตอนหลังมีว่า เมื่อพระชนมายุ ๓๘ พรรษา ศักราช ๗๕๘ (.. ๑๙๓๙) ได้ขยายอาณาจักรให้กว้างขวางออกไป แสดงว่าพระองค์ประสูติ เมื่อ พ.. ๑๙๐๑ ฉะนั้น พ.. ๑๙๑๑ จึงควรเป็นปีเสวยราชสมบัติของพระองค์

         จารึกหลักที่ ๙๓ และหลักที่ ๒๘๖ กล่าวว่า เมื่อพระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา พ.. ๑๙๓๙ ทรงปกครองปกกาว (ปกหมายถึงปกครอง กาวคือชาวกาวหรือชาวน่าน ปกกาวจึงหมายถึงปกครองรัฐน่าน)ชวา (หลวงพระบาง) ดอยอุย พระบาง (นครสวรรค์) ลุมบาจาย ถึงสายยโสธร นครไทย เพชรบูรณ์เชียงดง เชียงทอง ไตรตรึงษ์ ฉอด นครพัน นาคปุระ (เชียงแสน)

           จารึกหลักที่ ๖๔ พ.. ๑๙๓๕มีข้อความแสดงว่า แพร่ งาว พลัว อยู่ใต้ความดูแลของน่านซึ่งเป็นแคว้นอยู่ภายใต้ความดูแลของสุโขทัย พ.. ๑๙๔๒ ในขณะที่พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงผนวชอยู่ พระมเหสีทรงทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการและจะทรงยกพระรามราชาธิราชพระราชโอรสของพระนางเป็นพระธรรมราชาธิราช แต่ในปี  ถัดไป พ.. ๑๙๔๓ พระชายาอีกองค์หนึ่งกับพระราชโอรส ทรงพระนามว่าพระเจ้าไสลือไทยได้ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) พระนามพระธรรมราชาธิราช ในจารึกหลัก ที่ ๙๓ ก็ลบเลือนเห็นแต่ “…ม ราชาธิราช”  และข้อความที่ปรากฏในจารึกหลักที่ ๒๘๖ ก็กล่าวถึงพระรามราชาธิราชผู้ทรงเป็นโอรสองค์แรก ไม่เอ่ยถึงพระธรรมราชาอีก เอกสารอื่นก็ไม่เคยกล่าวถึงพระองค์อีกเลย

           จารึกหลักที่ ๓๘ .. ๑๙๔๐ จารเรื่องกฎหมายลักษณะโจร (หรือกฎหมายลักษณะลักพา)เป็นกฎหมายเก่าที่สุดของไทยที่ปรากฏตามรูปเดิมโดยไม่มีการแก้ไข มีข้อความแสดงว่ากฎหมาย สมัยนั้นอาศัยพระธรรมศาสตร์และราชศาสตร์เป็นหลักธรรมศาสตร์และราชศาสตร์นั้น ชาวอินเดียถือว่าสากลพิภพอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติอันแปรเปลี่ยนมิได้คือ ธรรม ซึ่งพระมนูได้นำมาเผยแพร่แก่มนุษย์ทั้งหลายในรูปธรรมศาสตร์ กษัตริย์ อินเดียไม่มีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่จะต้องเรียนรู้ธรรมโดยศึกษาธรรมศาสตร์แล้วตัดสินคดีไปตามหลัก ในธรรมศาสตร์นั้น มอญเป็นผู้เริ่มเขียนธัมมสัตถ (ธรรมศาสตร์) ฉบับที่พระเจ้าฟ้ารั่วผู้ครองประเทศ รามัญ (ในสมัยสุโขทัย) สร้างขึ้นไว้ เป็นฉบับที่แพร่หลายมาก งานนี้ใช้หลักการจากธรรมศาสตร์ของ พวกฮินดู แต่เปลี่ยนข้อความที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์มาเป็นศาสนาพุทธเพื่อเป็นหลักให้กษัตริย์ที่ถือ ศาสนาพุทธใช้พิพากษาคดี พระเจ้าอู่ทองกษัตริย์พระองค์แรกของอยุธยาก็ทรงใช้ธัมมสัตถแบบมอญ เป็นเกณฑ์ตัดสินคดีเหมือนกัน ส่วนราชศาสตร์รวบรวมข้อความที่กษัตริย์วินิจฉัยจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ มีลักษณะแบบเดียวกับธัมมสัตถและใช้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธัมมสัตถ

           พ.. ๑๙๑๒ พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงส่งพระมหาสุมนเถระไปสืบศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ เก่าหรือรามัญวงศ์ที่เชียงใหม่ ตามที่พระเจ้ากือนาแห่งล้านนาทรงขอมา ตามพงศาวดารโยนกพระยาศรี ธรรมราชทรงส่งพระมหาสุมนเถระไปล้านนา ทำให้สันนิษฐานว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๒ อาจจะมี พระนามเดิมว่าศรี รับกับข้อความในจารึกหลักที่ ๑๐๒ พ.. ๑๙๒๒ ที่กล่าวย้อนหลังไปเกี่ยวกับ ท่านพระศรีราชโอรสเมืองสุโขทัยนี้

           พงศาวดารโยนกกล่าวถึงเจ้าเมืองสุโขทัยขอกองทัพเชียงใหม่ไปช่วยป้องกันสุโขทัยจากการโจมตี ของอยุธยาแล้วเกิดกลับใจ ลอบยกพลออกปล้นทัพเชียงใหม่ ตรงกับเหตุการณ์ที่ปรากฏในพระราช- พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า พ.. ๑๙๓๑ กองทัพอยุธยายกไปตีเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) แต่สมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระประชวร และเสด็จกลับ พระนครเสียก่อน

        ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๒ อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พ..  ๑๙๒๑ จนถึง พ.. ๑๙๓๑ จึงกลับเป็นเอกราชได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น