พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย)
พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์
พระร่วงกรุงสุโขทัย เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๔๓ (จารึกหลักที่ ๔๖) ถึง พ.ศ. ๑๙๖๒ (พระราช- พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์)
พระมหาธรรมราชาที่ ๓ เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่
๒ และเป็นพระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล)
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตแล้ว
(พ.ศ. ๑๘๔๑) อาณาจักรสุโขทัยแตกแยกเป็นส่วนๆ พระมหาธรรมราชาที่
๑ (ลือไทย) ทรงรวบรวมอาณาจักรสุโขทัย ขึ้นใหม่ใน
พ.ศ. ๑๙๓๕ เมืองแพร่ งาว พลัว อยู่ในความดูแลของกษัตริย์น่าน
รวมเป็นแคว้นขึ้นกับ อาณาจักรสุโขทัย (จารึกหลักที่ ๖๔)
พ.ศ.
๑๙๓๙ สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒ อาณาจักรสุโขทัยรวมถึงปกกาว (รัฐน่าน) ลุมบาจาย ชวา (หลวงพระบาง)
ดอยอุย พระบาง (นครสวรรค์) นครไทย เพชรบูรณ์ ไตรตรึงษ์ เชียงทอง เชียงแสนถึงแม่น้ำปิง แม่น้ำโขง ฉอด เมืองพัน
(๕๐ กิโลเมตร เหนือเมาะตะมะ) (จารึกหลักที่
๒๘๖)
ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๓ มีเรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรสุโขทัยในจารึกหลักที่
๔๖ วัดตาเถรขึงหนังว่า พ.ศ. ๑๙๔๓ พระองค์ทรง “นำพ (ล)
รบราคลาธรนีดลสกลกษัตริย์ (หากขึ้นเสวยใน)
มหามไหสวริยอัครราช เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์
(นครศรีสัชนาลัย) สุโขทัย แกวกลอยผลาญปรปักษ์ศัตรู
นู พระราชสีมา...เป็นขนอบขอบพระบางเป็นแดน เท่าแสนสองหนองห้วยแลแพร่” ขณะนั้น) ไปช่วยท้าวยี่กุมกามชิงราชสมบัติจากพระเจ้าสามฝั่งแกนแห่งเชียงใหม่
(ขึ้นครองราชสมบัติพ.ศ. ๑๙๔๕ ตามชินกาลมาลีปกรณ์ หรือ พ.ศ. ๑๙๕๕ ตามพงศาวดารโยนก) ตีได้พะเยา เชียงราย และฝาง แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้กลับไป
จารึกหลักที่ ๙ กล่าวถึง พระภิกษุฟ้องร้องกันเองมาก พระมหาธรรมราชาที่
๓ จึงตราพระราชโองการเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๙ ว่า ทางสงฆ์ปกครองกันเอง
เมื่อสังฆราชาตัดสินว่าอย่างไรแล้วพระองค์ก็จะละเมิดมิได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น