หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติพระมหาธรรมราชาที่ 1


พระมหาธรรมราชาที่ ๑


           ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย เป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทยและเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่ของพ่อขุนรามคำแหง มหาราช ชาวสวรรคโลกสุโขทัยนับถือพระร่วงและพระลือยิ่งกว่ากษัตริย์สุโขทัยพระองค์อื่นเพราะ พระร่วงคือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระลือคือพระยาลือไทย ทรงรวบรวมดินแดนอาณาจักร สุโขทัยให้กว้างขวางออกไป

        พระยาลือไทยทรงเป็นพระมหาอุปราชอยู่ ณ เมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.. ๑๘๘๓ ระหว่างนั้น ได้ทรงพระนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงใน พ.. ๑๘๘๘ ต่อมาใน พ.. ๑๘๙๐ จึงได้เสวยราชย์ครองกรุง สุโขทัยจนถึง พ.. ๑๙๑๑

       เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตใน พ.. ๑๘๔๑ แล้ว อาณาจักรสุโขทัยแตกสลาย เมือง ต่างๆ เช่น เมืองคนที (กำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) เชียงทอง (ระแหงตาก) ตั้งตัวเป็นเอกราช มาถึงรัชสมัยพระยาลือไทย พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปใหม่ (จารึกหลักที่ ๓) แต่ ไม่กว้างขวางเหมือนเดิม ทางทิศใต้ไปถึงพระบาง (นครสวรรค์) คนที (กำแพงเพชร) ทรงตีได้เมืองแพร่ (จารึกหลักที่ ๙) และตามจารึกหลักที่ ๘ ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ทรงตีได้เมืองน่านและเชาบุรี (ชวา หรือหลวงพระบาง) เดิมอ่านไว้ว่า นำ...บุรี และทรงมีเมืองเหล่านี้เป็นบริวาร เริ่มตั้งแต่สระหลวง สอง แคว (พิษณุโลก) ทางทิศตะวันออกของสุโขทัย เวียนตามเข็มนาฬิกาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ต่อไป ทางทิศใต้มีเมืองปากยม (พิจิตร) พระบาง (นครสวรรค์) ชากังราว สุพรรณภาว นครพระชุม (กำแพงเพชร) กวาดไปทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ กลับไปทิศตะวันออก ซึ่งรวมถึงเมืองราด สะค้า ลุมบาจาย (น่าจะอยู่แถวอุตรดิตถ์ ไม่ใช่เพชรบูรณ์ เพราะต้องอยู่เหนือสระหลวง สองแคว ขึ้นไป)


        ตามพงศาวดารโยนกและชินกาลมาลีปกรณ์ว่าอยุธยายึดชัยนาท (พิษณุโลก) ได้ พระยาลือไทย ทูลขอคืนจากอยุธยาได้ แล้วทรงไปครองชัยนาทแต่นั้นมา อาจสันนิษฐานได้ว่า พ.. ๑๙๐๔ พระยา ลือไทยทรงพระผนวช อยุธยาจึงมายึดพิษณุโลกได้ พระยาลือไทยทรงขอพิษณุโลกคืนได้ จึงทรงครอง พิษณุโลกเป็นเมืองหลวงจนสิ้นรัชกาล


        จารึกหลักที่ ๑๓ พ.. ๒๐๕๒ กล่าวถึงศาสนาว่ามี ๑. พุทธศาสน์ ๒. ไสยศาสตร์ และ ๓. พระเทพกรรม ในจารึกหลักอื่นนอกจากไสยศาสตร์ยังมีคำว่า ไศพาคม ซึ่งหมายถึงศาสนาพราหมณ์ แต่ไม่มีใครทราบว่าพระเทพกรรมหมายถึงอะไร อาจจะเป็นเรื่องถือผี ถือเทพารักษ์ ทางล้านนา สมัยนั้นนับถือพวกเสื้อ เสื้อนา เสื้อฝาย ฯลฯ  สุโขทัยมีผีพระขพุง เป็นต้น  อนึ่ง ก่อนไปคล้องช้าง ต้องมีพิธีบวงสรวงพระเทพกรรม ได้แก่ พระคเณศและพระขันธกุมาร

         พระยาลือไทยทรงศึกษาศาสนาพุทธอย่างลุ่มลึกและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปศาสตร์ ๑๘ประการ เช่น ทรงรู้จักชื่อดาวกว่าพันดวง ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์และพฤฒิบาศ เป็นต้น ทรง คำนวณวันเดือนปีที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ วันสิ้นศาสนา (จารึกหลักที่ ๓) วันสิ้นกัลป์ (จารึกหลัก ที่ ๗) ถูกต้องตามคัมภีร์ ทรงแก้ไขปฏิทินให้ถูกต้อง ทรงปัญจศีลทุกเวลา ทรงพระไตรปิฎก ทรง พร่ำสอนพระวินัย พระอภิธรรมให้พระภิกษุสงฆ์ ทรงก่อพระเจดีย์ ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ทรงส่งคน ไปจำลองพระพุทธบาทที่สุมนกูฏบรรพตมาประดิษฐานไว้บนเขาในเมืองที่พระองค์ทรงขยายอาณาเขต ไปถึง พ.. ๑๙๐๔ ทรงอัญเชิญพระมหาสามีสังฆราชจากนครพัน (เมืองเมาะตะมะเก่า) มาจำพรรษา ในป่ามะม่วงและพระองค์ทรงพระผนวชในปีนั้น  เมื่อทรงลาสิกขาแล้วเสด็จไปประทับที่พิษณุโลก

        ตำนานมูลศาสนากล่าวว่า พระสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์ (เก่า) นำศาสนามาจากนครพันและถือเอา เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังอโยธยา ชวา (หลวงพระบาง) น่าน สุโขทัย และเชียงใหม่ พระยาลือไทยทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่นด้วย เช่น พ.. ๑๘๙๒ เสด็จไปประดิษฐาน รูปพระมเหศวร รูปพระวิษณุในหอเทวาลัยมหาเกษตรในป่ามะม่วง (จารึกหลักที่ ๘)

        พระยาลือไทยทรงยึดหลักปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมต่อเชลยศึก (จารึกหลักที่ ๕) เมื่อประชาชน สิ้นชีวิตก็ให้ทรัพย์สมบัติตกเป็นของลูกและน้อง (จารึกหลักที่ ๓) ทรงดำริให้ยกพนังจากพิษณุโลกมาถึง สุโขทัยเพื่อการชลประทานและการประมงของประชาชน (จารึกหลักที่ ๘)

       การควบคุมกำลังพลของสุโขทัยคงเป็นแบบเดียวกับวิธีการของล้านนาที่ปรากฏในมังรายศาสตร์ กล่าวคือ ไพร่สิบคนให้มีนายสิบควบคุม นายร้อยหรือหัวปากควบคุมนายสิบ ๑๐ คน และมีหัวพัน หรือเจ้าพัน หัวหมื่นหรือเจ้าหมื่น เจ้าแสน ควบคุมขึ้นไปตามลำดับชั้น นายร้อยและนายพันจะติดต่อ กันผ่านล่ามพัน นายพันกับเจ้าหมื่นจะติดต่อกันผ่านล่ามหมื่น จารึกหลักที่ ๔๕ กล่าวถึง ล่ามหมื่น ล่าม ()...” และจารึกหลักที่ ๘๖ กล่าวถึงหัวปาก (นายร้อย) การปกครองกันตามลำดับชั้นนี้ไทอาหม ก็ใช้แบบเดียวกัน

        ศิลปะทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระยาลือไทย คือพระพุทธบาทที่จำลองมา จากเขาสุมนกูฏในลังกา พระพุทธรูปปางลีลาและพระเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และ ในจารึกหลักที่ ๔๒ กล่าวถึงการสร้างพระพิมพ์จำนวนเท่ากับอายุของผู้สร้างเป็นจำนวนวัน เช่น แม่เฉาอายุ ๗๕ ปี สร้างพระพิมพ์ ๒๗,๕๐๐ องค์ จึงมีพระพิมพ์ให้คนไทยได้บูชาทั่วถึงกันมาจนทุกวันนี้











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น