พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล)
พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์
พระร่วงกรุงสุโขทัย เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๖๒-พ.ศ. ๑๙๘๑
พระมหาธรรมราชาที่ ๔ เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่
๒ และเป็นพระอนุชาของ พระราชเทวีพระเจ้าสามพระยาแห่งกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระราชโอรสของ พระราชเทวี ส่วนพระยายุทธิษเฐียรเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่
๔ จึงเป็นลูกผู้น้อง ส่วนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นลูกผู้พี่
จารึกหลักที่ ๔๐
(จารึกเจดีย์น้อย ระหว่าง พ.ศ.
๑๙๔๗-พ.ศ. ๑๙๘๑) มีข้อความว่า ถ้าสมเด็จ เจ้าพระยา (คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) อยากเสด็จมาสักการะพระมหาธาตุ หรือธาตุ (กระดูก) พระมหาธรรมราชาธิราช (ที่
๒ พระอัยกา หรือตาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) น้ำพระยา (บรมปาล) ก็จะไม่ทรงกระทำสรรพอันตรายแด่พระภาคิไนย (หลานของน้า)
ตลอดจนไพร่พลของ พระภาคิไนยที่จะมาสู่สำนักของพระองค์ ทั้งสององค์ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะทรงซื่อตรงต่อกัน ตลอดไป
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์มีข้อความว่า “ศักราช ๗๘๑ กุญศก มี ข่าวมาว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้านฤพาน แลเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล แลจึงเสด็จไปเถิงเมือง พระบาง ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองและพระยารามออกถวายบังคม” แสดงความว่าสุโขทัยแตกแยกกัน เป็นสองฝ่าย คือพระยาบาลเมืองแห่งเมืองพิษณุโลกและพระยารามแห่งสุโขทัย ต่างคนต่างแย่งกัน เป็นพระมหาธรรมราชาใน พ.ศ. ๑๙๖๒ แต่ทางอยุธยาสนับสนุนให้พระยาบาลเมืองขึ้นเป็นพระมหา ธรรมราชาที่ ๔
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์มีใจความว่า ศักราช ๘๐๐ (พ.ศ. ๑๙๘๑) สมเด็จพระราเมศวร (เป็นตำแหน่งวังหน้าหรือรัชทายาท) เสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็น น้ำพระเนตรพระพุทธชินราชตกออกมาเป็นโลหิต นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับข้อสันนิษฐานของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระคู่เมืองสุโขทัย ได้อยู่มาจนเห็นการแตกดับของสุโขทัย แต่มีบางคนอ้างพระราชพงศาวดารฉบับปลีกว่า ใน พ.ศ. ๑๙๘๔ พระยาบาลเมือง เจ้าเมืองพิษณุโลกได้รับพระราชทานนามว่า มหาธรรมาธิราช (อีกครั้งหนึ่ง) แท้จริง
ศักราชที่ปรับลดลงมาเป็น ๔๐
ปี แล้วนั้นยังไม่ถูกต้อง ต้องลบออกอีก ๑๒
ปี เป็น
พ.ศ.
๑๙๗๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น