หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่


(เจ้าสามพระยา)

        สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ของสมเด็จพระนครินทราธิราช ทรงครองราชย์ .. ๑๙๖๗-.. ๑๙๙๑




        ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้าสามพระยาประสูติเมื่อใด แต่พงศาวดารฉบับวันวลิต (Van Vliet) ว่า เมื่อขึ้นครองราชสมบัติมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา เหตุที่ทำให้พระองค์ได้ราชสมบัติก็เพราะพระเชษฐา คือ เจ้าอ้ายพระยาผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีกับเจ้ายี่พระยาผู้ครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค์) แย่งชิง ราชสมบัติกันเมื่อพระราชบิดาสวรรคต โดยการทำยุทธหัตถีที่เชิงสะพานป่าถ่านในพระนครศรีอยุธยา แล้วสิ้นพระชนม์ด้วยกันทั้งคู่ ขุนนางผู้ใหญ่จึงไปอัญเชิญเจ้าสามพระยา ซึ่งขณะนั้นครองเมืองชัยนาท หรือเมืองพิษณุโลกขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่


         ช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมัยเดียวกับช่วงต้นราชวงศ์หมิง (Ming) ของจีน (.. ๑๙๑๑-.. ๒๑๘๗) และจักรพรรดิหย่งเล่อ (Yong Le ครองราชย์ .. ๑๙๔๕-.. ๑๙๖๗) ทรงแผ่แสนยานุภาพทางทะเล โดยส่ง กองเรือมหาสมบัติขนาดใหญ่ให้ มหาขันที นายพลเรือเจิ้งเหอ (Zheng He .. ๑๙๑๔-.. ๑๙๗๖) ออกสำรวจทางทะเล เจิ้งเหอ และบางส่วนของกองเรือมหาสมบัติเคยแวะพระนครศรีอยุธยา ครั้ง ในการเดินทางครั้งที่ (..๑๙๕๐-.. ๑๙๕๑) ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ารามราชา และครั้งที่ (.. ๑๙๖๔-.. ๑๙๖๕) ในรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช การเดินทางของกองเรือมหาสมบัติครั้งที่ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย (.. ๑๙๗๔-.. ๑๙๗๖) มีขึ้นในสมัยจักรพรรดิชวนเต๋อ (Xuan De ครองราชย์ .. ๑๙๖๘- .. ๑๙๗๘) ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) แม้กองเรือจะไม่ได้แวะ ที่กรุงศรีอยุธยา แต่ก็ย่อมเป็นที่รับรู้ได้เพราะกองเรือมีถึง ๑๐๐ ลำ ลูกเรือ ๒๗,๕๐๐ คน อย่างไรก็ดี การแผ่แสนยานุภาพทางทะเลของจีนไม่ได้ทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ประสบความยุ่งยาก แต่อย่างใด เพราะพระราชบิดาทรงวางพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีไว้แล้วจากการที่พระองค์เคยเสด็จไปจีน ดังนั้นความสัมพันธ์ใน ระบบบรรณาการกับจีนจึงดำเนินต่อมาด้วยดี


          พระราชภารกิจแรกของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ คือ การถวายพระเพลิงพระศพ พระเชษฐาทั้ง พระองค์ สถานที่นั้นโปรดให้สร้างพระมหาธาตุและพระวิหารเพื่อเป็นวัดซึ่งพระราชทานนามว่าวัดราชบูรณะ และที่พระเชษฐาทรงทำยุทธหัตถี โปรดให้ก่อพระเจดีย์ องค์ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ซึ่งถือว่ามีความถูกต้องทั้งเหตุการณ์ และศักราช ได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ไว้ดังนี้
        ๑. มีชัยชนะเหนืออาณาจักรขอม .. ๑๙๗๔ สามารถยึดเมืองพระนครหรือนครธม (AngkorThom) ซึ่งเป็นชัยชนะอย่างเด็ดขาด เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ไม่เหมือนกับชัยชนะของอยุธยาต่อเมืองพระนครครั้งก่อนหน้านั้น คือ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองและสมเด็จขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ว่ามีจริงหรือไม่ ชัยชนะในครั้งนี้ โปรดให้ พระนครอินทร์ราชโอรสครองที่เมืองพระนครด้วย และมีการกวาดต้อน พระยาแก้ว พระยาไทเชื้อพระวงศ์และขุนนางขอมพร้อมรูปประติมากรรมเข้ามา การได้เชื้อพระวงศ์และขุนนางขอมมาในครั้งนี้น่าจะมีผลต่อการปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (.. ๑๙๙๑-.. ๒๐๓๑) ในเวลาต่อมา
          ๒. ทรงตั้งพระราชโอรสเป็นสมเด็จพระราเมศวรที่พระมหาอุปราชซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกไปครองเมืองพิษณุโลกเมื่อ .. ๑๙๘๑ แทนผู้ครองเมืองแต่เดิม ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์สุโขทัย การตั้งสมเด็จพระราเมศวรไปครองเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นในการรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาณาจักรอยุธยา เพราะสมเด็จพระราเมศวรมีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงสุโขทัย ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยาใน .. ๑๙๙๑ มีพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเห็นความสำคัญของเมืองพิษณุโลกมาก ถึงกับเสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ .. ๒๐๐๖ จนเสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๒๐๓๑
          ๓. การโจมตีอาณาจักรล้านนา .. ๑๙๘๕ และ .. ๑๙๘๗ ทรงยกทัพไปตีเชียงใหม่หลังจากส่งพระราเมศวรไปปกครองพิษณุโลก แต่การตีเชียงใหม่ครั้งแรกไม่สำเร็จเพราะทรงพระประชวร  ๒ ปีต่อมา (.. ๑๙๘๗) ทรงยกทัพไป ปราบพรรคซึ่งน่าจะเป็นเชียงใหม่ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา คราวนี้มีชัยชนะได้เชลยถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน หลักฐานจีนหมิงสือลู่ หรือจดหมายเหตุสมัยราชวงศ์หมิง ได้กล่าวยืนยันการตีเชียงใหม่โดยกองทัพของกรุงศรีอยุธยาไว้ด้วย และว่าทางเชียงใหม่ได้ขอพระราชลัญจกรแทนของเก่า เพราะถูกทำลายจากการสงครามในครั้งนี้ ซึ่งจักรพรรดิจีนก็พระราชทานให้
          ๔. การส่งทูตไปจีน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ มีการส่งทูตนำบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนในลักษณะ จิ้นก้งหรือ จิ้มก้องเพื่อประโยชน์ในการค้าหลายครั้ง และค่อนข้างถี่ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับการที่จีนส่งกองเรือมหาสมบัติมายังน่านน้ำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรอินเดียก็ได้ หลักฐานจากจดหมายเหตุสมัยราชวงศ์หมิงได้กล่าวถึงว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ทรงส่งทูตไปถวายบรรณาการประมาณ ๑๐ ครั้ง บางครั้งส่งไปติด กันปีต่อปี บางปี๒ ครั้ง ซึ่งนับว่าผิดปกติ แต่อาจแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางการค้าของ ประเทศก็ได้ บางครั้งมีการฟ้องจีนว่าทูตไทยถูกจามปาขัดขวางและกักตัว ให้จีนตักเตือนว่ากล่าวจามปาและปล่อยตัวคณะทูต ด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งไทยขอพระราชลัญจกรซึ่งมีความสำคัญในการติดต่อแทนของเก่าเพราะถูกไฟไหม้ พระราชมนเทียร (.. ๑๙๘๓) และไหม้พระที่นั่งตรีมุข (.. ๑๙๘๔)
          ๕. ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดราชบูรณะ (.. ๑๙๖๗) และวัดมเหยงคณ์ (.. ๑๙๘๑) ที่พระนครศรีอยุธยา วันวลิต ผู้จัดการสำนักการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) ในหนังสือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต .. ๒๑๘๒ ว่า

         ..พระองค์เป็นนักรบโดยกำเนิด ทรงเฉลียวฉลาด มีโวหารดี รอบคอบ มีความเมตตา กรุณา พระองค์เอาใจใส่ดูแลทหารและข้าราชบริพารเป็นอย่างดี พระองค์ทรงเป็นนัก เสรีนิยม ทรงสร้างและบูรณะวัดหลายแห่ง ทรงให้ความช่วยเหลือทั้งพระและคนยากจน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความเมตตามากที่สุดเท่าที่ประเทศสยามเคยมี ทุก ๑๐ ถึง ๑๕ วัน พระองค์จะเสด็จไปในเมืองและถามทุกข์สุขประชาชนว่า ทุกคนได้รับสิ่งของที่เขา มีสิทธิ์ที่จะได้และได้รับความช่วยเหลือหรือไม่เพียงไร”


         สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ (เจ้าสามพระยา) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของสมัย กรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอาณาจักรอยุธยา ทรงแผ่อำนาจครอบคลุม อาณาจักรขอมที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากที่เมืองพระนคร (Angkor) ทรงมีชัยชนะต่ออาณาจักรล้านนา ทรงติดต่อค้าขายกับจีน ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทรงตั้งธรรมเนียมการมีพระมหาอุปราช สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ เสด็จสวรรคตเมื่อ .. ๑๙๙๑ ทรงครองราชสมบัติรวม ๒๔ ปี

1 ความคิดเห็น: