หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ (พระเจ้าอู่ทอง)



          สมเด็จพระรามาธิบดีที่ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ใน จดหมายเหตุโหรว่าเสด็จพระราชสมภพ .๑๘๕๗ ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า หนองโสน เมื่อจุลศักราช ๗๑๒ ปีขาล โทศก วันศุกร์ ขึ้น ค่ำ เดือนห้า เวลา นาฬิกา บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ มีนาคม .. ๑๘๙๓ เมื่อแรกเสวยราชย์นั้นทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขณะพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา

          ในประวัติศาสตร์ไทยมีความเชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองอาจจะทรงอพยพมาจากเมืองใกล้เคียงอื่น เพราะอย่างน้อยก่อนที่จะทรงสถาปนาพระนครศรีอยุธยาขึ้น ก็ทรงให้ย้ายเมืองข้ามฝั่งจากบริเวณทิศใต้ ของเกาะเมืองมาตั้งอยู่บริเวณใจกลางพระนครปัจจุบัน และต่อมาทรงสถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณ ที่ประทับเดิมหรือบริเวณเวียงเหล็ก คือวัดพุทไธศวรรย์ และได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณ เกาะเมือง

ข้อสันนิษฐานต่าง ๆเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองนั้นสรุปได้ดังนี้
           ๑. พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาจากหัวเมืองเหนือ ปรากฏข้อความในเอกสารของลาลูแบร์ ซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เข้ามาในอยุธยาเมื่อ .. ๒๒๓๐ และเอกสารสายสงฆ์ เช่น ในจุลยุทธการวงศ์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระพนรัตน์ และในพระราชพงศาวดารสังเขปของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพลงมาจากเมืองเชียงแสน ลงมาที่เมืองไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร แล้วจึงอพยพลงมาที่หนองโสน
            . เอกสารประวัติศาสตร์พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาของวันวลิต .. ๒๑๘๒ กล่าวถึงการอพยพของพระเจ้าอู่ทองว่ามาจากเมืองเพชรบุรี แล้วจึงอพยพต่อมาที่อยุธยา
           ๓. หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองละโว้

           หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้เห็นร่องรอยว่าพระเจ้าอู่ทองเสด็จลงมาจากทางเหนือคือ คู่มือทูตตอบซึ่งเป็นคู่มือที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีข้อความอ้างถึงที่มาของพระเจ้าอู่ทองว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบันสืบมาแต่สมเด็จพระปฐมนารายณ์อิศวรบพิตร เมื่อ .. ๑๓๐๐ มีกษัตริย์สืบทอดกันมา ๑๐ พระองค์  ต่อมาสมเด็จพระยโศธรธรรมเทพราชาธิราชทรงก่อตั้ง กรุงยโศธรปุระ และมีกษัตริย์สืบมาอีก ๑๒ พระองค์ จากนั้นสมเด็จพระพนมทะเลเสด็จไปประทับที่สุโขทัยใน .. ๑๗๓๑  ทรงตั้งเมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์สืบต่อมา พระองค์ ในที่สุดสมเด็จพระรามาธิบดีได้ทรงสร้างกรุงสยามเมื่อ .. ๑๘๙๔ รวมพระมหากษัตริย์นับแต่แรกสถาปนากรุงเมื่อพ.. ๑๓๐๐ จนถึง .. ๒๒๒๖ ได้ ๕๐ รัชกาลในระยะเวลา ๙๒๖ ปี

           คู่มือทูตฉบับนี้ สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราว .. ๒๒๒๔-.. ๒๒๒๕ เพื่อใช้เป็นแนวคำถาม- ตอบของราชทูตสยามที่จะเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ  เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ทรงสถาปนาพระราชอาณาจักรขึ้นแล้ว ได้ทรงทำนุบำรุงพระราช- อาณาเขตให้กว้างขวางออกไป ดังที่ปรากฏความในพระราชพงศาวดารฉบับต่าง เมื่อเสด็จเสวยราชย์ ว่า เมื่อแรกสถาปนาพระนครนั้นหลังจากพิธีกลบบัตรสุมเพลิงแล้ว ขุดดินลงไปเพื่อสร้างพระราชวัง ได้ พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏขอนหนึ่ง จึงโปรดให้สร้างพระที่นั่งองค์ต่าง ขึ้นในบริเวณพระราชวังหลวง คือ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนตร์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาท

         หลังจากนั้นปรากฏความในจุลยุทธการวงศ์ว่าพญาประเทศราชทั้ง ๑๖ หัวเมืองได้มาถวายบังคม ได้แก่ มะละกา (ดินแดนแหลมมลายู) ชวา (ดินแดนลาวหลวงพระบาง) ตะนาวศรี นครศรีธรรมราช ทวาย เมาะตะมะ เมาะลำเลิง สงขลา จันทบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิชัย สวรรคโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ หลังจากนั้นปรากฏว่ามีสงครามกับเมืองกัมพูชา จึงโปรดให้พระเจ้า ลูกเธอพระราเมศวรซึ่งไปครองเมืองลพบุรี ลงมาตั้งทัพยกออกไปถึงกรุงกัมพูชา แต่ทัพอยุธยาเกือบ เสียทีเพลี่ยงพล้ำ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วลงมาจากเมืองสุพรรณบุรี แล้ว กรีธาทัพไปช่วยสมเด็จพระราเมศวร ทำให้ทัพอยุธยาสามารถเอาชนะได้ และกวาดต้อนเทครัวชาว กัมพูชามายังพระนครศรีอยุธยา

         ในช่วงต้นรัชกาลนั้น นอกจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ จะทรงทำสงครามเพื่อขยายพระราช- อาณาเขตและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่อาณาจักรแล้ว ยังทรงตรากฎหมายต่างๆขึ้นเพื่อรักษาความ สงบเรียบร้อยภายในอีกหลายฉบับ คือพระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอาญาหลวง พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะลักพา พระอัยการลักษณะอาญาราษฎร์ พระอัยการ ลักษณะโจร พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายเหล่านี้เป็นที่มาของ กระบวนการยุติธรรมที่สร้างความสงบสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร์ได้เป็นอย่างดี

          นอกจากนี้ในรัชกาลของพระองค์ยังมีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญคือลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็น วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นที่บ่งบอกความสืบเนื่องของวรรณคดีในลุ่มน้ำภาคกลางที่ผสานกับความเชื่อ ท้องถิ่น ลิลิตโองการแช่งน้ำหรือโองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีสำหรับพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา เพื่อสร้างความชอบธรรมและการแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ลักษณะการประพันธ์ ประกอบด้วยโคลงห้าและร่าย มีศัพท์ภาษาไทย บาลีสันสกฤต และเขมรปนอยู่ เนื้อหาเป็นการสดุดี เทพ แช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดี และให้พรผู้ที่จงรักภักดี

         สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ทรงสถาปนาพระอารามแห่งแรกขึ้น ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร คือวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานหลักของวัด ตามความในพระราชพงศาวดารว่า ศักราชได้ ๗๑๕ ปีมะเส็งเบญศก วันพฤหัสบดี เดือน ขึ้น ค่ำ เพลาเช้า นาฬิกา บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหาร พระมหาธาตุเป็นพระอาราม แล้วให้นามชื่อ “วัดพุทไธศวรรย์

          ต่อมาพระราชพงศาวดารว่าโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย ขึ้นมาถวายพระเพลิง  จากนั้นให้สถาปนาพระอารามขึ้นบริเวณนั้นเรียกว่าวัดป่าแก้ว ซึ่งเชื่อกันว่าคือบริเวณวัดใหญ่ชัยมงคล  นอกจากนั้นยังสันนิษฐานได้ว่าทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ดังที่พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตว่าทรงสร้างวัดหน้าพระธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดเดิมขึ้น

          สมเด็จพระรามาธิบดีที่ พระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคตเมื่อจุลศักราช ๗๓๑ ปีระกาเอกศก ตรงกับ .. ๑๙๑๒ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าอยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี














12 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. ขึ้นครองราชเมื่อครั้งที่เท่าไหร่หรอค่ะ
      อยากรู้ พอดีกำลังเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี

      ลบ
    2. โอ้มันบักแตงโม

      ลบ
  2. รอเขียว หรือ รูป อยู่นะเพื่อน

    ตอบลบ
  3. ไอ้สาสสสสสสสสสสสสส

    ตอบลบ
  4. นุไม่ถูกใจสินี้อยากจะร้อง

    ตอบลบ
  5. ทำงานเพื่อนไม่เขียว

    ตอบลบ