หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของกาลเวลา

ความสำคัญของกาลเวลา




         มนุษย์ในแต่ละอารยธรรมพยายามอธิบายจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการเวลาแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำเนิดของพิภพและมนุษย์ที่มีความเชื่อกับศาสนาของตนเอง แต่มนุษย์ทุกสมัยเรียนรู้จากประสบการณ์ว่า กาลเวลาที่ผ่านไปนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมมนุษย์และความเปลี่ยนแปลงนั้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการธรรมชาติและสรรพสิ่ง มนุษย์ในอดีตซึ่งพึ่งพิงเกษตรกรรมในการดำรงชีวิตมีประสบการณ์ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติกับความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา เช่น ความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ตำแหน่งของดวงดาวในการหาทิศทาง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องหาจุดอ้างอิงเพื่อที่จะทำนายปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อย่างน้อยก็เพื่อที่จะทราบฤดูน้ำหลากครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ความพยายามที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติกับความเปลี่ยนแปลของกาลเวลา จึงทำให้มนุษย์จำเป็นต้องสร้างแบบแผนหรือระบบการนับเวลาขึ้นมาและกำหนดช่วงเวลาแบบต่างๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคมขึ้นมา เพื่อประกอบพิธีกรรม อันเกี่ยวเนื่องกับลัทธิความเชื่อกับเรื่องความอุดมสมบูรณ์
          
         การสร้างระบบการนับเวลาหมายถึง การกำหนดหน่อยของเวลาต่างๆ  ขึ้นเพื่อการอ้างอิงหน่วยของเวลามีทั้งสั้นและยาวขึ้นอยู่กับความซับซ้อนหรือประสบการณ์ของแต่ละสังคมและจุดประสงค์ของการนำประโยชน์ไปใช้ เพราะฉะนั้น นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีหน่วยเวลาย่อยที่สุดคือ วินาทีจนไปถึงปีแสง การสร้างระบบการนับเวลาทำให้เกิดปฏิทินขึ้นมา คำว่า “ปฏิทิน” ที่เราใช้อยู่ในภาษาไทยันสกฤตว่า “ปรติทิน” แปละว่า “เฉพาะวัน หรือ สำหรับวัน” คำว่า “ปฏิทิน” นี้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Calendar ซึ่งแปลมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “Calendarium” และแปลว่า “Account Book” หรือ บัญชีวัน เดือน ปี

          การใช้ปฏิทิน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเวลาและระบบการนับ กาลเวลา (หรือระบบปฏิทิน) ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการกำหนดพิธีกรรมด้านศาสนาเพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรกรรมและเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ การรู้จักสร้างระบบปฏิทิน (Calendric system) ขึ้นมาของสังคมต่างๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้และเป็นพื้นฐานสำหรับการที่มนุษย์จะพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์และฟิสิกส์ ถ้ามนุษย์แต่ละสังคมมิได้พัฒนาระบบปฏิทินและการนับช่วงเวลาแล้ว ความสัมพันธ์ทางสังคมก็คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะมนุษย์ต้องอ้างอิงเวลาในการนัดหมาย และต้องอ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและคาดหมายถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในวันข้างหน้า รวมทั้งต้องแสดงความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้น จะเป็นเหตุการณ์ส่วนบุคคลหรือเหตุการณ์ของสังคมโดยส่วนรวมก็ตาม

          การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับช่วงของกาลเวลาต่างๆ เพราะถ้าคนสมัยปัจจุบันสนใจที่จะศึกษาเพื่อที่จะรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ต้องศึกษาช่วงเวลาของบริเวณของสังคมนั้นๆ และต้องเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับช่วงเวลาของสังคมอื่น เพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์มาขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น