หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (1)

ประเภทของหลักฐาน

      ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ หลักฐาน ชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง

      หลักฐานชั้นต้น หมายถึง หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีด้วย หลักฐานชั้นต้น ถือว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

      หลักฐานชั้นรอง หมายถึงหลักฐานที่ผู้บันทึกได้รับทราบจากคำบอกเล่าหรือจาก ข้อเขียนของผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง ได้แก่ หนังสือที่เขียนขึ้นภายหลังจากที่เหตุการณ์ได้ผ่านมา นานแล้ว ดังเช่น รายงานการค้นคว้าต่าง ๆ เอกสารวิจัย หนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ตลอดจนตำรา หรือผลงานที่นักประวัติศาสตร์เขียนขึ้นในภายหลัง ก็ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นรอง
                
      ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามลักษณะของหลักฐานที่ค้นพบ และตามการบันทึก ได้แก่ หลักฐานทางด้านโบราณคดีและหลักฐานที่บันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษร
                หลักฐานที่ไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางด้านโบราณคดี ได้มาจากการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งจะทำให้ เราได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์มาก เช่น โบสถ์ วิหาร ซากเมืองโบราณ ร่องรอยชุมชนโบราณ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เหรียญต่าง ๆ อาวุธโบราณต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ เราอาจได้หลักฐานจากทางด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น หลักฐานจากทางด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏกรรม เป็นต้น หลักฐานประเภทนี้ ผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยความรู้จากนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ศิลป์ จึงจะเข้าใจ ข้อมูลจากหลักฐานประเภทนี้ได้ดีขึ้น
                หลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ที่สำคัญ ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุหรือบันทึกของชาวต่างชาติ จดหมายเหตุของไทย เอกสารราชการ หนังสือ เทศน์ วรรณคดี บันทึกความทรงจำ หนังสือพิมพ์ งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
                 
             จารึก เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดเพราะหลักฐาน ประเภทจารึก เป็นวัสดุที่มีความคงทนถาวรกว่าหลักฐานประเภทอื่น จึงไม่สูญสลาย ไปตามกาลเวลาโดยง่าย ดังเช่น การจารึกบนแผ่นศิลา การจารึกบนแผ่นเงินแผ่นทอง สำหรับประเทศไทย เราพบจารึกสมัยต่าง ๆ ได้แก่ จารึกสุโขทัย จารึกลานนาไทย จารึก กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ นอกจากมีการบันทึกลงบนศิลา ที่เรียกว่าศิลาจารึกแล้ว มีการจารโดยใช้เหล็กแหลมเขียนบนแผ่นโลหะ หรือบนวัสดุอื่น ๆ ที่หาง่าย เช่น เปลือกไม้ เแผ่นไม้ หนังสัตว์ ดินเผา ใบลาน เป็นต้น การจารอักษรลงบนใบลานนั้น มักจะเขียนบทเทศนา ลงบนใบลาน ที่เรียกว่าคัมภีร์ใบลาน สำหรับสมุดไทยโบราณที่ทำจากเปลือกต้นข่อย มีชื่อ เรียกว่า สมุดข่อยมี 2 สี คือ สีดำ เรียกกันว่า สมุดไทยดำ ส่วนสีขาวเรียกว่า สมุดไทยขาว ตัวหนังสือมีทั้งเส้นดินสอขาว เส้นทอง เส้นรง ส่วนในภาคเหนือ นิยมใช้เปลือกต้นสามาทำ เป็นสมุด จึงมีชื่อเรียกว่า สมุดกระดาษสา
                ตำนาน เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีที่มาจากการบอกเล่าสืบต่อกันมา นานแล้วและต่อมามีผู้รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของวีรบุรุษหรือบรรพบุรุษซึ่งเป็นผู้นำในอดีต ราชวงศ์ ประวัติเมืองต่าง ๆ พุทธศาสนา ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ เช่น ตำนานท้าวอู่ทอง ตำนานพระร่วง ตำนาน ขุนบรม ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์ จามเทวีวงศ์ ตำนาน พระธาตุพนม ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานพระพุทธสิหิงค์ เป็นต้น  ตำนานเหล่านี้ล้วน มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์แฝงอยู่ เพราะมีเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงเป็น พื้นฐาน แต่ก็มีการเพิ่มเติมกับความเชื่อคติชาวบ้านต่าง ๆ ด้วย จึงต้องสอบทานกับหลักฐาน ลายลักษณ์อักษรอื่น ๆ
                พระราชพงศาวดาร เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรอีกประเภทหนึ่ง เรื่องราวในพระราชพงศาวดาร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ องค์พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระราชพิธี ระเบียบแบบแผนในราชสำนัก การปกครอง เรื่องราวการทำสงคราม รวมทั้งศาสนาความเชื่อต่าง ๆ

                1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (กรุงเก่า) มีหลายฉบับด้วยกัน เรื่องราว ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ แต่เหตุการณ์สำคัญมีไม่ครบทุกรัชกาล ขาดหายไป หลายรัชกาล บางเล่มมีหลายตอนที่รายละเอียดในช่วงเวลาเดียวกันไม่ตรงกัน อธิบาย เรื่องราวต่างกัน เพราะฉะนั้นเวลาจะศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาจากพงศาวดาร จะ ต้องสอบสวนข้อเท็จจริงจากหลักฐานอื่นประกอบด้วย เช่น จดหมายเหตุของชาวต่าง ชาติ บันทึกรายวันของมิชชั่นนารี เป็นต้น ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ที่อาศัยหลักฐาน จากพงศาวดาร ได้แก่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (เป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือมากกว่าฉบับอื่น ๆ) ๔, ฉบับไมเคิล วิคเคอรี, ฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒, ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ (พ.ศ. ๒๓๑๗), ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับพระราชหัตถเลขา, ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสหรือเรียก ฉบับหมอบรัดเลย์, ฉบับจักรพรรดิพงศ์ (จาด), ฉบับบริติชมิวเซียม และฉบับ อุบลศรี อรรถพันธุ์ สำหรับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเขียนขึ้นใน รัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เขียนขึ้นหลังสมัยรัชกาลที่ ๔ โดย อาศัยข้อมูลและเอกสารส่วนใหญ่สมัยรัตนโกสินทร์

1 ความคิดเห็น: