ศักราชและการใช้ศักราช
ศักราช
คือ
อายุของเวลา ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถือเป็นหลักของการตั้งศักราชนั้น
แล้วนับเรียงลาดับต่อกันมาเป็นปี ๆ ศักราชเกิดขึ้นจากศรัทธาของศาสนิกชน มีลักษณะเป็นสากลและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ศักราชสากลของโลก ได้แก่ พุทธศักราช (พ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) การนับศักราชส่วนใหญ่มักเริ่มต้นจากเหตุการณ์สำคัญทางศาสนา
เช่น
-
พุทธศักราช (พ.ศ.)
เริ่มนับศักราชเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
-
คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เริ่มนับศักราชเมื่อพระเยซูประสูติ
-
ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
เริ่มนับศักราชในปีที่นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพออกจากเมืองเมกกะไปตั้งมั่นประกาศคาสอนที่เมืองเมดินะ
การใช้ศักราช
ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ประเทศต่าง ๆ ใช้คริสต์ศักราชเป็นศักราชกลางในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากเป็นศักราชของชาวตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมโลก
ทั้งด้านวิทยาการ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่า คริสต์ศักราชเป็นศักราชสากลของโลกปัจจุบัน
ขณะเดียวกันยังมีเขตวัฒนธรรมที่ใช้ศักราชเฉพาะและดารงความสำคัญในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปด้วย
เช่น ศักราชของอินเดีย ศักราชของจีน ศักราชของมุสลิม เป็นต้น
1.
ศักราชของอินเดีย อิงอยู่กับคติความเชื่อเรื่องความเจริญและความเสื่อมทางจริยธรรมและศีลธรรมของมนุษย์
โดยกำหนดเป็นมหายุคและยุค ขณะที่ในรัฐต่าง ๆ ของอินเดียสมัยโบราณ
ใช้ศักราชต่างกันออกไป
เช่น ดินแดนทางภาคเหนือของอินเดียใช้กนิษกศักราช เป็นต้น ในอินเดียทั่วไปมีการใช้รัชศักราชและพุทธศักราช
2.
ศักราชของจีน จีนมีระบบศักราชที่คิดขึ้นมาเองและเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2953 ปีก่อนคริสตกาล ปฏิทินของจีนเป็นผลจากการสังเกตทางดาราศาสตร์และการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ปฏิทินจีนถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของวันทางจันทรคติ ระบบศักราชและปฏิทินจีนแพร่หลายเข้าไปในเกาหลี
ญี่ปุ่น มองโกเลีย และเวียดนามอีกด้วย ปฏิทินจีนถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ซึ่งราชสานักมีหน้าที่ดูแลให้เกิดความสอดคล้องถูกต้อง
ผู้ทาปฏิทินปลอมจะได้รับโทษอย่างหนัก ระบบปฏิทินแบบจารีตของจีนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
พิธีกรรม และวิถีชีวิตของคนในสังคมจีน ทาให้การนับเวลาแบบจีนยังคงดารงอยู่จนถึงปัจจุบัน
3.
ศักราชของมุสลิม จัดอยู่ในกลุ่มศาสนศักราช ปฏิทินของมุสลิมมีลักษณะพิเศษ
คือ ยึดถือวันเดือนปีทางจันทรคติอย่างเคร่งครัด ฮิจเราะห์ศักราชเป็นศักราชอย่างเป็นทางการของประเทศซาอุดีอาระเบีย
เยเมนและรัฐในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย รวมไปถึงอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และโมร็อกโก ซึ่งใช้ทั้งฮิจเราะห์ศักราชและคริสต์ศักราชโดยผสมผสานกัน
การนับและเทียบศักราชในระบบต่าง
ๆ
การนับศักราช
ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่สาขาวิชาอื่น ๆ เราจะพบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้น
โดยระบุเป็นปีศักราช ซึ่งศักราชที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงควรทาความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการนับศักราชแบบต่าง
ๆ ดังนี้
1.
การนับศักราชแบบไทย
2.
การนับศักราชแบบสากล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น