กาลเวลา
ถ้ามีใครสักคนถามว่าการเวลาคืออะไร และสำคัญอย่างไร
คำถามที่ดูเหมือนง่ายนี้ กลับกลายเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ง่ายนัก ทั้งๆ
ที่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แตะละคนจะหลีกเลี่ยงการใช้คำบอกเวลาต่างๆ เช่น วัน
สัปดาห์ เดือน ปี ศักราช ศตวรรษ หรือแม้กระทั่งทุม โมง ยาม นาที่และวินาที่ไม่ได้ นอกจากนี้มนุษย์เราในแต่ละวัฒนธรรม
ยังให้ความหมายสำคัญแก่จุดเปลี่ยนของกาลเวลาที่มนุษย์เองได้กำหนดขึ้นอย่างน่าพิศวงที่เดียว
ตัวอย่างเช่น ความตื่นเต้นที่ปีคริสต์ศักราช 2000 ได้มาถึงสำหรับชาวตะวันตก
หรือในอดีตปีพุทธศักราช 2000 ก็มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงสำหรับคนที่อยู่ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท
ซึ่งเชื่อในคำสอนเรื่องปัญจอันตรธาน หรือการเข้าสู่ช่วง 1000 ปีใหม่
แห่งการเสื่อมลงของสภาพสังคมในกาลของพุทธโคดม หรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
ความเข้าใจเรื่องกาลเวลาจะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น
ถ้าเพียงแต่คำนึงว่า เมื่อมนุษย์ได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้แล้ว
ชีวิตและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ย่อมอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “กาลเทศะ” (Time&Space) กาล คือ เวลา เทศะ
ก็คือ พื้นที่ หรือ ดินแดนที่มนุษย์อยู่อาศัย เรื่องของเทศะ
เรื่องที่เข้าใจได้ง่ายกว่าเพราะเป็นรูปธรรม เช่น ดินแดน บ้านเมือง
สิ่งแวดล้อมหรือภูมิลำเนา แต่กาลหรือกาลเวลานั้นเป็นเรื่องของนามธรรม
หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้และมองไม่เห็น และก็ไม่มีใครทราบว่ากาลเวลาเริ่มต้นขึ้นเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อไร
กะนั้นก็ตาม เราทุกคนต่างก็รู้สึกว่าอยู่ในสายธารเวลาที่ไหลไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ซึ่งมีความต่อเนื่องและไม่ขาดตอน มนุษย์ให้ความสำคัญแก่กาลเวลาเพราะมีอิทธิพลต่อทั้งชีวิตมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลและสังคมที่เป็นส่วนรวม
มนุษย์ที่อยู่ในอารยธรรมต่างๆ
ได้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับกาลเวลา
และมีคติความเชื่อที่เกี่ยวกับอิทธิพลของกาลเวลาแตกต่างกันออกไป แต่ทุกอารยธรรมต่างเชื่อเหมือนๆ
กันในพลังอันลึกลับของกาลเวลาที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งอื่นใดและได้สร้างบุคลาธิษฐาน¹
สำหรับกาลเวลาไว้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น สังคมอินเดียถือว่า พระกาล
หรือเทพแห่งกาลเวลา คือปางหนึ่งของพระศิวะ ผู้ทรงเป็นเทพแห่งการทำลาย
ในความหมายที่ว่าไม่มีผู้ใดฝืนอำนาจแห้งการทำลายล้างของกาลเวลาได้²
ส่วนในอารยธรรมตะวันตกก็ถือกันว่า
ชายแก่ผู้ถือนาฬิกาทรายและเคียวเป็นบุคลาธิษฐานของกาลเวลา
นาฬิกาทรายเป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่ผ่านเลยไป ส่วนเคียวเป็นสัญลักษณ์ของความตายหรือการพังทลายลง
ทั้งสองอย่างรวมกันเป็นเป็นอำนาจสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดในพิภพนี้ รวมทั้งเหนือกว่า
ซุส (Zeus)
หรือเทพเจ้าอียิปต์ผู้ทรงอยู่เหนือเทพทั้งปวง
คำอธิบาย
1. การสมมติให้มีพลังลึกลับเหนือธรรมชาติมีตัวตนขึ้นมา
เช่น อัคนี เป็นเทพแห่งไฟ หรือ วรุณ เป็นเทพแห่งฝน เป็นต้น
2. ในคัมภีร์ปุราณะของอินเดีย
พระกาลอาจหมายถึงบุคลาธิษฐานของพระยม เทพเจ้าแห่งความตาย
สำหรับผู้นับถือลัทธิพราหมณ์และลัทธิไวษณพนิกายบางกลุ่ม อาจถือว่า พระพรหม หรือ
วิษณุ เป็นพระกาล หรือเทพเจ้าแห่งเวลาเหมือนกัน
เคยมีคำถามนี้และคำตอบนีแล่นเข้ามาให้หัว อย่างสั้นๆ ว่า
ตอบลบกาลเวลาคือ อำนาจของความไม่มีอยู่จริง ...