หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เวลากับประวัติศาสตร์

เวลากับประวัติศาสตร์

              ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆโดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราวการนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราชในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ
              
             คนในทุกสังคมมีความเชื่อเหมือนกันว่า กระแสกาลเวลาไหลผ่านไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่รั้งรอสิ่งใด นอกจากนี้กาลเวลาก็ไม่ได้แบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยตัวของมันเอง นอกจากทำให้ “วันวารหมุนเวียนไปเปลี่ยนไป” แต่กาลแบ่งการเวลาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมทำกิจกรรมเป็นกลุ่มก้อน และมนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่มีภูมิปัญญาระดับสูง และสามารถที่จะเรียนรู้จากประสบการที่เกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระ ความรู้ที่เกี่ยวกับตัวเองของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้และวิเคราะห์เหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ผ่านมาในเชิงเปรียบเทียบอยู่เสมอ
                
             แน่นอนว่า การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบจะเกิดขึ้นมิได้ ถ้ามนุษย์ไม่ตะหนักสำนึกว่า ในขณะที่กาลเวลาผ่านไป สังคมมนุษย์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ กาลเวลาเปลี่ยนไป สังคมมนุษย์ก็เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือ กาลเวลาเปลี่ยนไปพร้อมกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์ในสังคมมนุษย์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การยอมรับกันทั่วไปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง เพราะฉะนั้น การกำหนดช่วงเวลาจึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้มนุษย์สามารถลำดับเหตุการณ์ได้ ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นมาทีหลังและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

                เนื่องจากมนุษย์ในทุกสังคมต่างผูกพันอยู่กับอดีต ความทรงจำ ความสุข ความทุกข์ เหตุการณ์สำคัญในชีวิต เหตุการณ์ปัจจุบันจึงมีความสัมพันธ์กันยากที่จะแบ่งแยกได้ อีกทั้งกาลเวลาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาให้ การอ้างอิงถึงการเวลาด้วยคำศัพท์ เช่น ยุค(Epoch) สมัย(Period) ศักราช(Era) พร้อมทั้งบ่งบอกถึงคติความเชื่อ เช่น ยุค “มืด” ยุค “ประทีปแห่งปัญญา” หรือ สมัย “ทรราชย์” คำศัพท์ที่บ่งบอกถึงยุคสมัยเหล่านนี้ จึงเป็นเครื่องมือที่จะทำความเข้าใจในการเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกัน ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นอดีตครั้งหนึ่งก็เคยเป็นอนาคตและปัจจุบันมาก่อน

                นักประวัติศาสตร์ศึกษาอดีตด้วยความเชื่อที่ว่า เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิด ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ติดตามมา นักประวัติศาสตร์มองความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความเข้าใจร่วมกันของช่วงเวลา จะเห็นได้ว่าถ้าหากตัดคำที่บอกช่วงเวลาออกไป เช่น ศักราช วัน เดือน ปี ยุค สมัย ออกไปแล้วนั้น นักประวัติศาสตร์ก็คงไม่สามารถจะเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตได้เลย หรือกล่าวอีกอย่าหนึ่ง ก็คือ ถ้ามนุษย์ไม้สร้างระบบปฏิทินเพื่อกำหนดช่วงเวลา ประวัติศาสตร์ก็คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะงานเขียนทางประวัติศาสตร์จำเป็นต้องอ้างอิงระบบปฏิทินและช่วงเวลาซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในแต่ละสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น