หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (1)

ประเภทของหลักฐาน

      ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ หลักฐาน ชั้นต้น และหลักฐานชั้นรอง

      หลักฐานชั้นต้น หมายถึง หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีด้วย หลักฐานชั้นต้น ถือว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

      หลักฐานชั้นรอง หมายถึงหลักฐานที่ผู้บันทึกได้รับทราบจากคำบอกเล่าหรือจาก ข้อเขียนของผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง ได้แก่ หนังสือที่เขียนขึ้นภายหลังจากที่เหตุการณ์ได้ผ่านมา นานแล้ว ดังเช่น รายงานการค้นคว้าต่าง ๆ เอกสารวิจัย หนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ตลอดจนตำรา หรือผลงานที่นักประวัติศาสตร์เขียนขึ้นในภายหลัง ก็ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นรอง
                
      ประเภทหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามลักษณะของหลักฐานที่ค้นพบ และตามการบันทึก ได้แก่ หลักฐานทางด้านโบราณคดีและหลักฐานที่บันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษร
                หลักฐานที่ไม่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางด้านโบราณคดี ได้มาจากการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งจะทำให้ เราได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์มาก เช่น โบสถ์ วิหาร ซากเมืองโบราณ ร่องรอยชุมชนโบราณ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เหรียญต่าง ๆ อาวุธโบราณต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ เราอาจได้หลักฐานจากทางด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น หลักฐานจากทางด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏกรรม เป็นต้น หลักฐานประเภทนี้ ผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยความรู้จากนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ศิลป์ จึงจะเข้าใจ ข้อมูลจากหลักฐานประเภทนี้ได้ดีขึ้น
                หลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ที่สำคัญ ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุหรือบันทึกของชาวต่างชาติ จดหมายเหตุของไทย เอกสารราชการ หนังสือ เทศน์ วรรณคดี บันทึกความทรงจำ หนังสือพิมพ์ งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
                 
             จารึก เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดเพราะหลักฐาน ประเภทจารึก เป็นวัสดุที่มีความคงทนถาวรกว่าหลักฐานประเภทอื่น จึงไม่สูญสลาย ไปตามกาลเวลาโดยง่าย ดังเช่น การจารึกบนแผ่นศิลา การจารึกบนแผ่นเงินแผ่นทอง สำหรับประเทศไทย เราพบจารึกสมัยต่าง ๆ ได้แก่ จารึกสุโขทัย จารึกลานนาไทย จารึก กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ นอกจากมีการบันทึกลงบนศิลา ที่เรียกว่าศิลาจารึกแล้ว มีการจารโดยใช้เหล็กแหลมเขียนบนแผ่นโลหะ หรือบนวัสดุอื่น ๆ ที่หาง่าย เช่น เปลือกไม้ เแผ่นไม้ หนังสัตว์ ดินเผา ใบลาน เป็นต้น การจารอักษรลงบนใบลานนั้น มักจะเขียนบทเทศนา ลงบนใบลาน ที่เรียกว่าคัมภีร์ใบลาน สำหรับสมุดไทยโบราณที่ทำจากเปลือกต้นข่อย มีชื่อ เรียกว่า สมุดข่อยมี 2 สี คือ สีดำ เรียกกันว่า สมุดไทยดำ ส่วนสีขาวเรียกว่า สมุดไทยขาว ตัวหนังสือมีทั้งเส้นดินสอขาว เส้นทอง เส้นรง ส่วนในภาคเหนือ นิยมใช้เปลือกต้นสามาทำ เป็นสมุด จึงมีชื่อเรียกว่า สมุดกระดาษสา
                ตำนาน เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีที่มาจากการบอกเล่าสืบต่อกันมา นานแล้วและต่อมามีผู้รวบรวมเรียบเรียงขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของวีรบุรุษหรือบรรพบุรุษซึ่งเป็นผู้นำในอดีต ราชวงศ์ ประวัติเมืองต่าง ๆ พุทธศาสนา ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ เช่น ตำนานท้าวอู่ทอง ตำนานพระร่วง ตำนาน ขุนบรม ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์ จามเทวีวงศ์ ตำนาน พระธาตุพนม ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานพระพุทธสิหิงค์ เป็นต้น  ตำนานเหล่านี้ล้วน มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์แฝงอยู่ เพราะมีเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงเป็น พื้นฐาน แต่ก็มีการเพิ่มเติมกับความเชื่อคติชาวบ้านต่าง ๆ ด้วย จึงต้องสอบทานกับหลักฐาน ลายลักษณ์อักษรอื่น ๆ
                พระราชพงศาวดาร เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรอีกประเภทหนึ่ง เรื่องราวในพระราชพงศาวดาร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ องค์พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระราชพิธี ระเบียบแบบแผนในราชสำนัก การปกครอง เรื่องราวการทำสงคราม รวมทั้งศาสนาความเชื่อต่าง ๆ

                1. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (กรุงเก่า) มีหลายฉบับด้วยกัน เรื่องราว ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ แต่เหตุการณ์สำคัญมีไม่ครบทุกรัชกาล ขาดหายไป หลายรัชกาล บางเล่มมีหลายตอนที่รายละเอียดในช่วงเวลาเดียวกันไม่ตรงกัน อธิบาย เรื่องราวต่างกัน เพราะฉะนั้นเวลาจะศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาจากพงศาวดาร จะ ต้องสอบสวนข้อเท็จจริงจากหลักฐานอื่นประกอบด้วย เช่น จดหมายเหตุของชาวต่าง ชาติ บันทึกรายวันของมิชชั่นนารี เป็นต้น ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ที่อาศัยหลักฐาน จากพงศาวดาร ได้แก่ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (เป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือมากกว่าฉบับอื่น ๆ) ๔, ฉบับไมเคิล วิคเคอรี, ฉบับวันวลิต พ.ศ. ๒๑๘๒, ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ (พ.ศ. ๒๓๑๗), ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับพระราชหัตถเลขา, ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสหรือเรียก ฉบับหมอบรัดเลย์, ฉบับจักรพรรดิพงศ์ (จาด), ฉบับบริติชมิวเซียม และฉบับ อุบลศรี อรรถพันธุ์ สำหรับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเขียนขึ้นใน รัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เขียนขึ้นหลังสมัยรัชกาลที่ ๔ โดย อาศัยข้อมูลและเอกสารส่วนใหญ่สมัยรัตนโกสินทร์

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศักราชและการใช้ศักราช

ศักราชและการใช้ศักราช

             ศักราช คือ อายุของเวลา ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถือเป็นหลักของการตั้งศักราชนั้น แล้วนับเรียงลาดับต่อกันมาเป็นปี ๆ ศักราชเกิดขึ้นจากศรัทธาของศาสนิกชน มีลักษณะเป็นสากลและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ศักราชสากลของโลก ได้แก่ พุทธศักราช (..) คริสต์ศักราช (..) และฮิจเราะห์ศักราช (..) การนับศักราชส่วนใหญ่มักเริ่มต้นจากเหตุการณ์สำคัญทางศาสนา เช่น
          - พุทธศักราช (..) เริ่มนับศักราชเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
          - คริสต์ศักราช (..) เริ่มนับศักราชเมื่อพระเยซูประสูติ

          - ฮิจเราะห์ศักราช (..) เริ่มนับศักราชในปีที่นบีมุฮัมหมัด (..) อพยพออกจากเมืองเมกกะไปตั้งมั่นประกาศคาสอนที่เมืองเมดินะ

          การใช้ศักราช    
          ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ประเทศต่าง ๆ ใช้คริสต์ศักราชเป็นศักราชกลางในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากเป็นศักราชของชาวตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมโลก ทั้งด้านวิทยาการ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่า คริสต์ศักราชเป็นศักราชสากลของโลกปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังมีเขตวัฒนธรรมที่ใช้ศักราชเฉพาะและดารงความสำคัญในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปด้วย เช่น ศักราชของอินเดีย ศักราชของจีน ศักราชของมุสลิม เป็นต้น
          1. ศักราชของอินเดีย อิงอยู่กับคติความเชื่อเรื่องความเจริญและความเสื่อมทางจริยธรรมและศีลธรรมของมนุษย์ โดยกำหนดเป็นมหายุคและยุค ขณะที่ในรัฐต่าง ๆ ของอินเดียสมัยโบราณ
ใช้ศักราชต่างกันออกไป เช่น ดินแดนทางภาคเหนือของอินเดียใช้กนิษกศักราช เป็นต้น ในอินเดียทั่วไปมีการใช้รัชศักราชและพุทธศักราช
           2. ศักราชของจีน จีนมีระบบศักราชที่คิดขึ้นมาเองและเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2953 ปีก่อนคริสตกาล ปฏิทินของจีนเป็นผลจากการสังเกตทางดาราศาสตร์และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ปฏิทินจีนถูกกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของวันทางจันทรคติ ระบบศักราชและปฏิทินจีนแพร่หลายเข้าไปในเกาหลี ญี่ปุ่น มองโกเลีย และเวียดนามอีกด้วย ปฏิทินจีนถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ซึ่งราชสานักมีหน้าที่ดูแลให้เกิดความสอดคล้องถูกต้อง ผู้ทาปฏิทินปลอมจะได้รับโทษอย่างหนัก ระบบปฏิทินแบบจารีตของจีนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม พิธีกรรม และวิถีชีวิตของคนในสังคมจีน ทาให้การนับเวลาแบบจีนยังคงดารงอยู่จนถึงปัจจุบัน
            3. ศักราชของมุสลิม จัดอยู่ในกลุ่มศาสนศักราช ปฏิทินของมุสลิมมีลักษณะพิเศษ คือ ยึดถือวันเดือนปีทางจันทรคติอย่างเคร่งครัด ฮิจเราะห์ศักราชเป็นศักราชอย่างเป็นทางการของประเทศซาอุดีอาระเบีย เยเมนและรัฐในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย รวมไปถึงอียิปต์ ซีเรีย จอร์แดน และโมร็อกโก ซึ่งใช้ทั้งฮิจเราะห์ศักราชและคริสต์ศักราชโดยผสมผสานกัน

การนับและเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ
การนับศักราช ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่สาขาวิชาอื่น ๆ เราจะพบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้น โดยระบุเป็นปีศักราช ซึ่งศักราชที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงควรทาความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการนับศักราชแบบต่าง ๆ ดังนี้
        1. การนับศักราชแบบไทย
        2. การนับศักราชแบบสากล

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

          
         หลักฐาน คือ ที่มาของข้อมูล ข้อมูลเหล่านั้นได้มาอย่างไร ก็ได้มาจากการศึกษา ร่องรอยของอดีตที่เหลือทิ้งไว้ให้เราไต่สวนเข้าไปถึงอดีตได้ เราถือว่าหลักฐานเป็นหัวใจของ วิชาประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานจะช่วยยืนยันความเป็นจริงที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ภายใต้เงื่อนไขของสภาวะแวดล้อมของกาลเวลา นั้นๆ วิชาประวัติ ศาสตร์จึงมี จุดเด่นอยู่ที่ การใช้หลักฐานเป็นพื้นฐานในการตี ความร่องรอย ของอดีต สิ่งที่สคัญประการหนึ่ง คือ เป็นหน้าที่ของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือ นักประวัติศาสตร์ ที่จะต้องตรวจสอบค้นคว้าหาข้อเท็จจริง โดยวัดน้ำหนักความน่าเชื่อถือ ของหลักฐานด้วยใจที่เป็นกลาง พร้อมกันนั้นก็ควรตรวจสอบกับหลักฐานร่วมสมัยประเภท อื่น ๆ ด้วย เพื่อพิจารณาความน่าเชื่อถือของหลักฐานนั้น ๆ

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์


หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์

                 
                เรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้น ไม่อาจสร้างขึ้นหรือเขียนขึ้นเองอย่างเลื่อนลอย ตามความพอใจ แต่ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นได้โดยอาศัยนักประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่ศึกษา ค้นคว้างานด้านประวัติศาสตร์ เป็นผู้ทำหน้าที่สืบสวน ค้นหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในอดีต ด้วยการใช้หลักฐานประเภทต่าง ๆ มายืนยันข้อเท็จจริง ทั้งนี้ การศึกษาข้อเท็จ จริงนั้นจะต้องสัมพันธ์กับเวลา สถานที่ บุคคล เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนอาศัยหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์หลาย ๆ ด้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงกับ ความจริงในอดีตให้มากที่สุด ดังนั้น การศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเข้าใจ ระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยศึกษาวิธีการหรือขั้นตอนต่าง ๆ ในการสืบสวน ค้นคว้าหาข้อเท็จจริง จะช่วยให้เราได้เข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อย่าง เป็นเหตุเป็นผลในทุก ๆ สาขาได้กระจ่างชัดมากขึ้น




เวลากับประวัติศาสตร์

เวลากับประวัติศาสตร์

              ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆโดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราวการนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราชในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ
              
             คนในทุกสังคมมีความเชื่อเหมือนกันว่า กระแสกาลเวลาไหลผ่านไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่รั้งรอสิ่งใด นอกจากนี้กาลเวลาก็ไม่ได้แบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยตัวของมันเอง นอกจากทำให้ “วันวารหมุนเวียนไปเปลี่ยนไป” แต่กาลแบ่งการเวลาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมทำกิจกรรมเป็นกลุ่มก้อน และมนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่มีภูมิปัญญาระดับสูง และสามารถที่จะเรียนรู้จากประสบการที่เกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระ ความรู้ที่เกี่ยวกับตัวเองของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้และวิเคราะห์เหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ผ่านมาในเชิงเปรียบเทียบอยู่เสมอ
                
             แน่นอนว่า การวิเคราะห์และการเปรียบเทียบจะเกิดขึ้นมิได้ ถ้ามนุษย์ไม่ตะหนักสำนึกว่า ในขณะที่กาลเวลาผ่านไป สังคมมนุษย์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ กาลเวลาเปลี่ยนไป สังคมมนุษย์ก็เปลี่ยนไปด้วย กล่าวคือ กาลเวลาเปลี่ยนไปพร้อมกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์ในสังคมมนุษย์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การยอมรับกันทั่วไปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง เพราะฉะนั้น การกำหนดช่วงเวลาจึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้มนุษย์สามารถลำดับเหตุการณ์ได้ ว่าเหตุการณ์ใดเกิดก่อนเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นมาทีหลังและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

                เนื่องจากมนุษย์ในทุกสังคมต่างผูกพันอยู่กับอดีต ความทรงจำ ความสุข ความทุกข์ เหตุการณ์สำคัญในชีวิต เหตุการณ์ปัจจุบันจึงมีความสัมพันธ์กันยากที่จะแบ่งแยกได้ อีกทั้งกาลเวลาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาให้ การอ้างอิงถึงการเวลาด้วยคำศัพท์ เช่น ยุค(Epoch) สมัย(Period) ศักราช(Era) พร้อมทั้งบ่งบอกถึงคติความเชื่อ เช่น ยุค “มืด” ยุค “ประทีปแห่งปัญญา” หรือ สมัย “ทรราชย์” คำศัพท์ที่บ่งบอกถึงยุคสมัยเหล่านนี้ จึงเป็นเครื่องมือที่จะทำความเข้าใจในการเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกัน ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นอดีตครั้งหนึ่งก็เคยเป็นอนาคตและปัจจุบันมาก่อน

                นักประวัติศาสตร์ศึกษาอดีตด้วยความเชื่อที่ว่า เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิด ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ติดตามมา นักประวัติศาสตร์มองความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความเข้าใจร่วมกันของช่วงเวลา จะเห็นได้ว่าถ้าหากตัดคำที่บอกช่วงเวลาออกไป เช่น ศักราช วัน เดือน ปี ยุค สมัย ออกไปแล้วนั้น นักประวัติศาสตร์ก็คงไม่สามารถจะเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตได้เลย หรือกล่าวอีกอย่าหนึ่ง ก็คือ ถ้ามนุษย์ไม้สร้างระบบปฏิทินเพื่อกำหนดช่วงเวลา ประวัติศาสตร์ก็คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะงานเขียนทางประวัติศาสตร์จำเป็นต้องอ้างอิงระบบปฏิทินและช่วงเวลาซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในแต่ละสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเทียบศักราช

การเทียบศักราช  

  

 การเปรียบเทียบการนับศักราชแบบต่างๆกับพุทธศักราช มีหลักการเทียบดังนี้

                        
1.  การเทียบ มหาศักราช กับ  พุทธศักราช 
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน ม.ศ. + 621        หรือ   พ.ศ. – 621   =  ม.ศ.

                        2.  การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช     
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน จ.ศ. + 1181      หรือ พ.ศ. – 1181  =  จ.ศ.

                        3.  การเทียบรัตนโกสินทร์ศกกับพุทธศักราช
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน ร.ศ.  +  2324    หรือ  พ.ศ. – 2324 = ร.ศ.

                        4.  การเทียบคริสต์ศักราชกับพุทธศักราช    
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน ค.ศ. + 543        หรือ  พ.ศ. – 543  =  ค.ศ.

                        5.  การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราช   
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน ฮ.ศ. + 1122      หรือ พ.ศ. – 1122  =  ฮ.ศ.




แบบตาราง

ม.ศ. + 621  = พ.ศ. 
พ.ศ. - 621   = ม.ศ. 
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. 
พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. 
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. 
พ.ศ. - 2324 = ร.ศ. 
ค.ศ. + 543  = พ.ศ.
พ.ศ. - 543  = ค.ศ. 
ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ. 
พ.ศ. - 1122 = ฮ.ศ. 

ความสำคัญของกาลเวลา

ความสำคัญของกาลเวลา




         มนุษย์ในแต่ละอารยธรรมพยายามอธิบายจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการเวลาแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำเนิดของพิภพและมนุษย์ที่มีความเชื่อกับศาสนาของตนเอง แต่มนุษย์ทุกสมัยเรียนรู้จากประสบการณ์ว่า กาลเวลาที่ผ่านไปนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมมนุษย์และความเปลี่ยนแปลงนั้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการธรรมชาติและสรรพสิ่ง มนุษย์ในอดีตซึ่งพึ่งพิงเกษตรกรรมในการดำรงชีวิตมีประสบการณ์ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติกับความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา เช่น ความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ตำแหน่งของดวงดาวในการหาทิศทาง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องหาจุดอ้างอิงเพื่อที่จะทำนายปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อย่างน้อยก็เพื่อที่จะทราบฤดูน้ำหลากครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ความพยายามที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติกับความเปลี่ยนแปลของกาลเวลา จึงทำให้มนุษย์จำเป็นต้องสร้างแบบแผนหรือระบบการนับเวลาขึ้นมาและกำหนดช่วงเวลาแบบต่างๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคมขึ้นมา เพื่อประกอบพิธีกรรม อันเกี่ยวเนื่องกับลัทธิความเชื่อกับเรื่องความอุดมสมบูรณ์
          
         การสร้างระบบการนับเวลาหมายถึง การกำหนดหน่อยของเวลาต่างๆ  ขึ้นเพื่อการอ้างอิงหน่วยของเวลามีทั้งสั้นและยาวขึ้นอยู่กับความซับซ้อนหรือประสบการณ์ของแต่ละสังคมและจุดประสงค์ของการนำประโยชน์ไปใช้ เพราะฉะนั้น นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีหน่วยเวลาย่อยที่สุดคือ วินาทีจนไปถึงปีแสง การสร้างระบบการนับเวลาทำให้เกิดปฏิทินขึ้นมา คำว่า “ปฏิทิน” ที่เราใช้อยู่ในภาษาไทยันสกฤตว่า “ปรติทิน” แปละว่า “เฉพาะวัน หรือ สำหรับวัน” คำว่า “ปฏิทิน” นี้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Calendar ซึ่งแปลมาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า “Calendarium” และแปลว่า “Account Book” หรือ บัญชีวัน เดือน ปี

          การใช้ปฏิทิน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเวลาและระบบการนับ กาลเวลา (หรือระบบปฏิทิน) ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการกำหนดพิธีกรรมด้านศาสนาเพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรกรรมและเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ การรู้จักสร้างระบบปฏิทิน (Calendric system) ขึ้นมาของสังคมต่างๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้และเป็นพื้นฐานสำหรับการที่มนุษย์จะพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์และฟิสิกส์ ถ้ามนุษย์แต่ละสังคมมิได้พัฒนาระบบปฏิทินและการนับช่วงเวลาแล้ว ความสัมพันธ์ทางสังคมก็คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะมนุษย์ต้องอ้างอิงเวลาในการนัดหมาย และต้องอ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและคาดหมายถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในวันข้างหน้า รวมทั้งต้องแสดงความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กัน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้น จะเป็นเหตุการณ์ส่วนบุคคลหรือเหตุการณ์ของสังคมโดยส่วนรวมก็ตาม

          การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับช่วงของกาลเวลาต่างๆ เพราะถ้าคนสมัยปัจจุบันสนใจที่จะศึกษาเพื่อที่จะรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ต้องศึกษาช่วงเวลาของบริเวณของสังคมนั้นๆ และต้องเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับช่วงเวลาของสังคมอื่น เพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์มาขึ้น

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กาลเวลาคืออะไร

กาลเวลา

          ถ้ามีใครสักคนถามว่าการเวลาคืออะไร และสำคัญอย่างไร คำถามที่ดูเหมือนง่ายนี้ กลับกลายเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ง่ายนัก ทั้งๆ ที่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แตะละคนจะหลีกเลี่ยงการใช้คำบอกเวลาต่างๆ เช่น วัน สัปดาห์ เดือน ปี ศักราช ศตวรรษ หรือแม้กระทั่งทุม โมง ยาม นาที่และวินาที่ไม่ได้ นอกจากนี้มนุษย์เราในแต่ละวัฒนธรรม ยังให้ความหมายสำคัญแก่จุดเปลี่ยนของกาลเวลาที่มนุษย์เองได้กำหนดขึ้นอย่างน่าพิศวงที่เดียว ตัวอย่างเช่น ความตื่นเต้นที่ปีคริสต์ศักราช 2000 ได้มาถึงสำหรับชาวตะวันตก หรือในอดีตปีพุทธศักราช 2000 ก็มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงสำหรับคนที่อยู่ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งเชื่อในคำสอนเรื่องปัญจอันตรธาน หรือการเข้าสู่ช่วง 1000 ปีใหม่ แห่งการเสื่อมลงของสภาพสังคมในกาลของพุทธโคดม หรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
          
         ความเข้าใจเรื่องกาลเวลาจะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ถ้าเพียงแต่คำนึงว่า เมื่อมนุษย์ได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้แล้ว ชีวิตและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ย่อมอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “กาลเทศะ” (Time&Space) กาล คือ เวลา เทศะ ก็คือ พื้นที่ หรือ ดินแดนที่มนุษย์อยู่อาศัย เรื่องของเทศะ เรื่องที่เข้าใจได้ง่ายกว่าเพราะเป็นรูปธรรม เช่น ดินแดน บ้านเมือง สิ่งแวดล้อมหรือภูมิลำเนา แต่กาลหรือกาลเวลานั้นเป็นเรื่องของนามธรรม หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้และมองไม่เห็น และก็ไม่มีใครทราบว่ากาลเวลาเริ่มต้นขึ้นเมื่อใดและจะสิ้นสุดลงเมื่อไร กะนั้นก็ตาม เราทุกคนต่างก็รู้สึกว่าอยู่ในสายธารเวลาที่ไหลไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีความต่อเนื่องและไม่ขาดตอน มนุษย์ให้ความสำคัญแก่กาลเวลาเพราะมีอิทธิพลต่อทั้งชีวิตมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคลและสังคมที่เป็นส่วนรวม
          
            มนุษย์ที่อยู่ในอารยธรรมต่างๆ ได้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับกาลเวลา และมีคติความเชื่อที่เกี่ยวกับอิทธิพลของกาลเวลาแตกต่างกันออกไป แต่ทุกอารยธรรมต่างเชื่อเหมือนๆ กันในพลังอันลึกลับของกาลเวลาที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งอื่นใดและได้สร้างบุคลาธิษฐาน¹ สำหรับกาลเวลาไว้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น สังคมอินเดียถือว่า พระกาล หรือเทพแห่งกาลเวลา คือปางหนึ่งของพระศิวะ ผู้ทรงเป็นเทพแห่งการทำลาย ในความหมายที่ว่าไม่มีผู้ใดฝืนอำนาจแห้งการทำลายล้างของกาลเวลาได้² ส่วนในอารยธรรมตะวันตกก็ถือกันว่า ชายแก่ผู้ถือนาฬิกาทรายและเคียวเป็นบุคลาธิษฐานของกาลเวลา นาฬิกาทรายเป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่ผ่านเลยไป ส่วนเคียวเป็นสัญลักษณ์ของความตายหรือการพังทลายลง ทั้งสองอย่างรวมกันเป็นเป็นอำนาจสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดในพิภพนี้ รวมทั้งเหนือกว่า ซุส (Zeus) หรือเทพเจ้าอียิปต์ผู้ทรงอยู่เหนือเทพทั้งปวง

คำอธิบาย
1. การสมมติให้มีพลังลึกลับเหนือธรรมชาติมีตัวตนขึ้นมา เช่น อัคนี เป็นเทพแห่งไฟ หรือ วรุณ เป็นเทพแห่งฝน เป็นต้น
2. ในคัมภีร์ปุราณะของอินเดีย พระกาลอาจหมายถึงบุคลาธิษฐานของพระยม เทพเจ้าแห่งความตาย สำหรับผู้นับถือลัทธิพราหมณ์และลัทธิไวษณพนิกายบางกลุ่ม อาจถือว่า พระพรหม หรือ วิษณุ เป็นพระกาล หรือเทพเจ้าแห่งเวลาเหมือนกัน